ห้องเรียนทางวัฒนธรรม ณ เวทีประกวดนางงามชนเผ่า


เวทีประกวดนางงามชนเผ่าที่จัดขึ้นในบริบทที่นี่ (แต่ที่อื่น ผมไม่รู้นะครับ) จึงเป็นเสมือนพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมแบบใหม่ของผู้หญิงกลุ่มเล็กๆ ที่กล้าหาญในการแสดงอัตลักษณ์ตนต่อที่สาธารณะ ทั้งยังเป็นเวทีที่ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของบุตรหลาน , นักวิจัยและพัฒนาชุมชน สามารถเข้าใจ และเข้าถึงกลุ่มผู้หญิงได้มากขึ้น ถ้ารู้จักใช้นะครับ

ปลายเดือนที่แล้ว ผมได้ไปถ่ายวิดีโองานประกวดธิดาชนเผ่า ที่หมู่บ้านน้ำริน อำเภอปางมะผ้า งานนี้ไม่มีใครจ้าง แต่ไปด้วยความสนใจส่วนตัว ไปตามจริตของนักมานุษยวิทยาที่สนใจพิธีกรรม ความเชื่อ การเปิดพื้นที่ทางสังคมของคนชายขอบทั้งหลาย

 แต่ก่อน ผมก็ค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับการประกวดนางงามนะครับ แต่ตอนนี้ ชอบดู  แต่ดูด้วย

แว่นทางวัฒนธรรมมากขึ้น 

 

 
การประกวดธิดาชนเผ่า เมื่อปี 2548

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">                             </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นักอนุรักษ์นิยมแบบขวาจัดมักจะมองว่า เป็นการไม่เหมาะสมที่เด็กนักเรียนจะมาประกวดนางงาม หรือเอาสาวชนเผ่ามาประกวดประชันขันแข่งกัน บ้างก็ว่าเป็นการทำให้เด็กติดยึดไปกับความสวยความงามจนเตลิดไม่สนใจเรียน จะทำให้เด็กเสียคนบ้าง ส่งเสริมค่านิยมที่ทำให้ ดัดจริตบ้าง ผมก็ไม่เถียงอะไร แต่ผมสนใจมองในมุมมานุษยวิทยาวัฒนธรรมนะครับ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">                         นักมานุษยวิทยาเราจะสนใจศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของคนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบ หรือคนที่ถูกทำให้ไร้อำนาจ ว่ามีเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมอะไรบ้างอยู่เบื้องหลัง มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้องอย่างไร ปรากฏการณ์ดังกล่าวอยู่ในบริบททางสังคมเศรษฐกิจการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับสากลอย่างไร  เพื่อทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับพฤติกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้น โดยไม่ด่วนสรุปว่าถูกหรือผิด หรือมีความจริง/ไม่จริงอย่างไร  ทั้งนี้ บนความเชื่อลึกๆที่ว่า ถ้าเราสามารถเข้าใจเงื่อนไขที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของ คนอื่นแล้ว ก็น่าจะช่วยให้เรายอมรับในความแตกต่างทางความคิด แตกต่างทางวัฒนธรรม แตกต่างทางเพศ อายุ ศาสนา ฯลฯ อีกทั้ง เราก็สามารถนำวิธีมองเช่นเดียวกันนี้ มาใช้เข้าใจตนเอง  นำไปสู่การเรียนรู้พัฒนาตัวเอง และสังคมที่ตนเองเกี่ยวข้องในอีกทางหนึ่งได้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">                                  กรณีที่เด็กสาว สลัดชุดนักเรียนชั่วคราว แต่งหน้าทาปากใส่ชุดกลุ่มชาติพันธุ์ขึ้นประกวดนี่ก็เหมือนกันครับ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการแสดงอัตลักษณ์ซ้อน เป็นการใช้อัตลักษณ์ในแง่การต่อรองตอบโต้บางสิ่งบางอย่าง จริงๆผมสนใจเรื่องนี้มานานแล้ว และเฝ้าติดตามมาหลายเวทีประกวดที่จัดขึ้นในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า นับตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน ทั้งงานที่จัดระดับอำเภอ และงานที่จัดในระดับตำบล แต่ยังไม่สบโอกาสที่จะเขียนวิเคราะห์อะไรออกมาเป็นเรื่องเป็นราวมากนัก</p>  <div style="text-align: center"></div>  <address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify">                             บรรยากาศผู้เข้าชม เมื่อปี 2550</address><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify"></address><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify"></address><p> การประกวดนางงามชนเผ่าที่นี่ ไม่มีชุดวาบหวิวเลยครับ แต่เน้นไปที่ชุดประจำกลุ่มชาติพันธุ์ และใช้คำถามที่สร้างสรรค์ เช่นถามถึงการพัฒนาชุมชน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งดีงามต่างๆ</p><p></p><p>ผมคิดว่า เวทีการประกวดเล็กๆในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อย่างนี้ ไม่น่าจะเป็นการนำให้เนื้อตัวร่างกายผู้หญิงกลายเป็นสินค้า หรือทำให้ชุมชนมองลูกหลานของเขาเป็นวัตถุทางเพศง่ายๆหรอกครับ </p><p>แต่ถ้าเป็นเวทีที่อื่นก็เป็นการประกวดใหญ่ มีใส่ชุดว่ายน้ำ เน้นการโพสต์ท่า สรีระที่ยั่วยวนให้ผู้ชายกลัดมัน อันนั้นก็ว่าไปอย่าง    </p><p><div style="text-align: center"></div></p>  <div align="center"><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">ผู้เข้าประกวด ปี 2550 รับพวงมาลัยจากกองเชียร์ </address></div>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ตรงข้าม ผมมอง (แบบนักมานุษยวิทยา) นะครับ ว่าการที่พวกเธอขึ้นมาประกวดนางงามชนเผ่านี่ มีมิติทางสังคมวัฒนธรรมและจิตวิทยา ที่น่าสนใจบางอย่าง ก็เลยคิดเล่นๆแล้วนำมาลงบันทึกไว้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            อย่างแรก การที่ผู้หญิงชนเผ่าก้าวขึ้นบันไดนางงาม เป็นภาพสะท้อนการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้หญิงชาติพันธุ์ได้แสดงตัวตนต่อสาธารณะ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ตรงนี้มีข้อสังเกตว่า แต่ไหนแต่ไร พื้นที่สาธารณะมักเป็นพื้นที่ที่ชายควบคุม เป็นพื้นที่ชายหวงแหนเพราะเป็นแหล่งที่มาของอำนาจ เช่น พื้นที่นอกบ้าน พื้นที่การประกอบพิธีทางศาสนา พื้นที่ที่ ศักดิ์สิทธิ์เป็นต้น การที่ผู้หญิงเยาว์วัยออกมาแสดงอำนาจในพื้นที่สาธารณะย่อมต้องถูกผู้ชาย หรือบรรดาผู้ที่ความคิดขวาจัดกระแนะกระแหนไว้ก่อน เนื่องจากไปกระทบอัตตาในพื้นที่ที่ผู้ชายครอบครองอยู่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การประกวดความงาม เป็นการสร้างพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมแก่พวกเธอ แต่ละคนต่างแสดงความหมายแฝงหรือรหัสทางวัฒนธรรม (cultural code) ที่เหมือนและต่างกันออกไป บางคนต้องการให้ผู้ใหญ่/ครู/ เพื่อนฝูง เห็นว่าตนไม่ใช่เด็กๆแล้ว ตนโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นแล้ว มีความคิด มีความสามารถ ที่ผู้ใหญ่/ครู/ เพื่อนฝูง อาจจะไม่เคยมองเห็นมาก่อน ก็จะได้เห็นในเวทีนี้ , บางคนอาศัยกิจกรรมในเวทีนี้ เป็นเครื่องช่วยให้พ่อแม่แสดงความรักที่มีต่อตนมากขึ้น </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> แน่นอนว่า ความสวยเป็นสิ่งที่วัดกันยาก โดยเฉพาะความสวยที่มาจาก “ข้างใน”  ในความคิดส่วนตัวของผม ผู้หญิงแต่ละคนก็มีความสวยในแบบของตัวเองอยู่แล้วนะครับ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>แต่เมื่อขึ้นเวที ภายใต้เงื่อนไขของการประกวด สาวน้อยแต่ละคนล้วนพยายามเต็มที่ที่จะทำตนให้เป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการและผู้ชม  ผมเห็นว่าพวกเธอล้วนพยายามทำอย่างดีที่สุด ( แต่ก็ไม่วายถูกคนติติง  อันนี้ผมว่ามันไม่แฟร์ )  พวกเราจึงควรให้กำลังใจครับ อีกด้านหนึ่ง ผมคิดว่า การที่นักอนุรักษ์นิยมขวาจัด ก่นด่านักเรียนที่ไปประกวดนางงามต่างๆนานา มาจากวิธีคิดที่พวกเขาถูกครอบงำที่มองว่า ภาพตัวแทนนักเรียนและความเป็นหญิงสาวชนเผ่าเป็น ความบริสุทธิ์ในขณะที่ ภาพตัวแทนของนางงาม คือ ยั่วให้เกิดราคะ ทั้งนี้ รัฐและนโยบายการศึกษาที่ล้าหลังของบ้านเราเป็นตัวเอกในการสร้างภาพตัวแทนทั้งสอง ให้ตัดกันอย่างขาวกับดำอย่างนี้ (ส่วนว่ามันมีกระบวนการสร้างอย่างไรนั้น ไม่ขอพูดถึงในที่นี้ เพราะต้องว่ากันอีกยาว) </p><p></p><p>แน่นอน คนที่ยึดเหนี่ยวกับวิธีคิดแบบสุดโต่งเช่นนี้มากๆ ก็มีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆต่อผู้ที่ไม่เห็นด้วย  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">บางคนค้านว่า ก็เห็นมีนักเรียนที่ไปประกวด เสียคนและก็ยังเสียตัวไปด้วย แต่ก็บางคนเท่านั้น </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ถึงเด็กสาวไม่ประกวดนางงาม พวกเธอก็อาจจะไปเสียคนและก็ยังเสียตัวที่อื่น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และที่เด็กเสีย น่าจะมาจากแรงจูงใจ แรงกระตุ้น ปัจจัยดึงดูด และปัจจัยผลักดันที่ผู้ใหญ่สร้างเอาไว้ล่อเสียมากกว่า</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>รวมถึงปัจจัยเสี่ยง เช่น ขาดทักษะชีวิต , ขาดความรู้เท่าทันสังคม, อยู่ในสถานที่และช่วงเวลาที่เอื้อต่อการเสียคน, ชุมชนและหน่วยงานรัฐในพื้นที่ที่รับผิดชอบไม่สามารถดูแลสอดส่องได้ทั่วถึงและเพียงพอ  </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เวทีประกวดนางงามชนเผ่าที่จัดขึ้นในบริบทที่นี่ (แต่ที่อื่น ผมไม่รู้นะครับ) จึงเป็นเสมือนพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมแบบใหม่ของผู้หญิงกลุ่มเล็กๆ ที่กล้าหาญในการแสดงอัตลักษณ์ตนต่อที่สาธารณะ ทั้งยังเป็นเวทีที่ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของบุตรหลาน , นักวิจัยและพัฒนาชุมชน สามารถเข้าใจ และเข้าถึงกลุ่มผู้หญิงได้มากขึ้น ถ้ารู้จักใช้นะครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">                                 ผู้เข้าประกวด ปี2550 กำลังตอบคำถามคณะกรรมการ </address><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> การดูกิจกรรมประกวดนางงามด้วย แว่น ที่แตกต่างไปจากการเอาอารมณ์ ความเชื่อ อคติส่วนตัว จึงเป็นกิจกรรมที่สามารถเป็นการเรียนรู้ เป็นวิชาการได้</p><p> และยังเป็นความสุขได้  ห้องเรียนแบบนี้สนุก มีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อ </p><p> </p><p>ความจริงเรื่องการประกวดนางงามนี่มีมุม มีมิติต่างๆให้มองอีกเยอะครับ ไม่ว่าจะเป็นเสมือนเวทีสะท้อนการต่อรองอำนาจของชุมชนต่อหน่วยงานรัฐส่วนกลาง แต่ผมเขียนไว้ ให้คิดต่อแค่นี้พอนะครับ</p>

หมายเลขบันทึก: 76212เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2007 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • มาทักทายครับ
  • ชอบอ่านเรื่งชนเผ่าครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นะครับ อ่านไป ดูรูปไปก็อยากไปร่วมงานบ้างจัง

ผมชอบประเด็นที่คุณยอดดอยเสนอว่าการประกวดนี้เป็นเวทีสาธารณะให้ผู้หญิง (ถ้าพูดแค่นี้ ผมคงจะคิดไปว่าที่มาประกวดเพราะผู้ชายจัด หรือเพราะประกวดเพราะเป็นเรื่องที่ผู้ชายชอบ) แต่ก็น่าจะเป็นอย่างที่คุณยอดดอยว่านะครับ มองจากมุมของผู้หญิงเองแล้ว ผมเห็นด้วยว่าเป็นการยึดพื้นที่สาธารณะ แต่จะเป็นการซื้อที่ทางวัฒธรรมคืนด้วยหรือไม่นั้น ไม่แน่ใจว่าน้องๆ ผู้หญิงเขาคิดกันอย่างไร? 

ผมว่าเผ่าใครก็เผ่าใครครับเรื่องแบบนี้ เอาความคิดเผ่าเราไปวัดการกระทำของเผ่าเขา มันก็ไม่ได้ ไม่เหมาะ ความจริงแต่ละที่ก็ต่างกันไป ว่าไหมครับ?

รูปแรก สาวคนกลาง ดูคุ้นๆนะครับ

...

ยังไม่ได้อ่านบันทึกครับ อ่านแล้วขอย่อยก่อน แล้วจะกลับมาร่วมแลกเปลี่ยนด้วยครับ

 

ดีค่ะ หาดูได้ยาก งานประกวดชนเผ่า ที่เคยเห็นมาก็จัดงานไม่ใหญ่เท่านี้ ชอบที่จะศึกษาค่ะ ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่เล่าให้ฟ้งค่ะ

ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะครับ

 

ในกลุ่มเยาวชนที่มาทำงานเป็นอาสาสมัครกับผม ส่วนหนึ่งก็ขึ้นเวทีประกวดอย่างนี้มาแล้ว ผมเขียนนี่ก็เป็นมุมมองจากผู้ใหญ่ที่คลุกคลีกับพวกเธอน่ะครับ แต่ถ้าจะให้ดี พวกเธอน่าจะมีโอกาสมาเล่าประสบการณ์จากปากของพวกเธอโดยตรง

คิดว่า ผมจะลองเสนอให้พวกเธอเขียนมาเล่าสู่กันฟัง น่าจะดีนะครับ แต่ไม่รู้ว่าเด็กๆจะเอาด้วยหรือเปล่า ยังไง ผมจะลองคุยกับเค้าดู

โอกาสจะมีได้ ผู้ใหญ่ต้องช่วยเปิดทางให้มากๆนะครับ

 

you are peace warrior

"Real Battles Are Wihtin"

สวัสดีครับอาจารย์  เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะครับ

Thanks to DAYVIL. Your words make me feel so good. But I can not accept it. Because I'm only a simply mankind who want to do the best thing before I die.... "perhaps tomorrow is too late to do....."
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท