ทางสายกลาง ความเป็นกลาง กับค่าเฉลี่ย


การใช้สติปัญญาควบคู่ไปกับคุณธรรม ที่ไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่งในทุกเรื่อง

 จากการเสวนาเมื่อวานนี้ที่มหาชีวาลัย สวนป่าสตึก ผมสามารถเก็บตกความรู้ได้หลายประเด็น 

ประเด็นที่ผมคาดว่าเป็นความสำคัญและมีปัญหาในแนวคิดของระบบสังคมพุทธ หรือสังคมไทย ก็คือคำว่า ทางสายกลาง 

เท่าที่ผมสัมผัส และรู้สึกจากการพูดคุย มีคนจำนวนมากเข้าใจ และใช้คำนี้อย่างสับสน กับคำว่า ความเป็นกลาง อยู่แบบกลางๆ และค่าเฉลี่ย   

ผมเคยอ่านนิยายเรื่องหนึ่งที่เล่าเรื่อง มนุษย์ค่าเฉลี่ย (Average man) เป็นคนที่ต้องการทำตัวเองให้อยู่กับทางสายกลางในทุกเรื่อง เท่าที่จะทำได้ โดยการเอาจริงเอาจังกับการติดตามข้อมูลว่าค่าเฉลี่ยของคนในสังคมที่เขาอยู่นั้น มีค่าในแต่ละเรื่องเท่าใด ก็พยายามอย่างขะมักเขม้น ทำให้ได้ตามนั้น แม้แต่การกิน การนอน การตื่นนอน การไปเที่ยว การพักผ่อน จนกระทั่งการตาย และอายุขัยของคน ก็ทำทุกอย่าง ซึ่งเป็นชีวิตที่เครียดมาก ตัวอย่างการมีชีวิตกับค่าเฉลี่ยนี้เป็นอวิชชา ไม่ใช่และไม่เกี่ยวข้องกับ ทางสายกลาง อย่างแน่นอน 

สำหรับเรื่องเล่าแบบตลกๆในเมืองไทย ก็มีตัวอย่างเช่น รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา ก็มีคนไปแปลงว่า รักดีกินถั่ว รักชั่วกินเหล้า  และต่อด้วย รักทั้งดีและชั่ว กินถั่วแกล้มเหล้า  อันนี้ก็ไม่ใช่ทางสายกลางอีกนั่นแหละ 

สำหรับ ตลกร้ายอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การขับรถแบบทางสายกลาง โดยขับคร่อมทางวิ่งของรถ หรือ วิ่งคร่อมเส้นกลางถนนไปเรื่อยๆ อันนี้ก็ไม่เกี่ยวกับทางสายกลาง และเป็นอันตรายแน่นอน 

บางคนชอบบออกตัวว่าตัวเองถือทางสายกลาง มีความเป็นกลางไม่ถือว่าอยู่ฝ่ายใด อันนี้พอจะเข้าเค้า แต่ก็ไม่ใช่ทางสายกลางอีกนั่นแหละ 

แล้วทางสายกลางคืออย่างไร

ผมจะลองคิดดังๆ อย่างที่ผมเข้าใจนะครับว่า คือ

 การใช้สติปัญญาควบคู่ไปกับคุณธรรม ที่ไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่งในทุกเรื่อง

  • มีปัญญาเข้าใจทุกอย่างตามความเป็นจริง ไม่ใช้อวิชชา ไม่มีกิเลศ ไม่มีการปรุงแต่ง
  • มีสติ รอบคอบ ระมัดระวัง ควบคุมการใช้ปัญญาให้เป็นประโยชน์ต่อ คนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม
  • มีคุณธรรม เป็นหลักควบคุมการตัดสินใจ ทำให้มีเหตุผล พอประมาณ และภูมิคุ้มกันในทุกระดับ

 ความมีเหตุผล นั้นก็คือ การรู้จักเหตุ ปัจจัย และผลที่เกิดขึ้นตามเหตุและปัจจัย 

และ คุณธรรมก็คือ ความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน เสียสละ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ 

รวมทั้งหมดจึงจะเรียกว่า ทางสายกลางที่ถูกต้อง ตามที่ผมเข้าใจนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 76081เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เป็นบทความที่มีค่ามาก (สำหรับผู้สนใจ)
  • ขอบคุณอาจารย์ครับ จะนำไปปฏิบัติ
  • กำลังหาแนวคิดเช่นนี้อยู่พอดี

อาจารย์ ดร. แสวง

ทางสายกลาง ตามความหมายของชาวไทยพุทธทั่วไป และตามความหมายที่อาจารย์บอกเล่ามา เป็นความหมายที่งอกเงยขึ้นมาจากความหมายเดิมของหลักคำสอนเรื่อง มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งแปลว่า การดำเนินทางสายกลาง....ซึ่งประเด็นนี้ อาจารย์ก็คงจะเข้าใจดี...

อันที่จริง ความหมายของทางสายกลาง คือ อยู่ระหว่างการทำตัวเองให้ลำบาก ทรมานตัวเอง กับการสนุกสนาน ปรนเปรอร่างกายอย่างเต็มที่ ...ซึ่งพุทธมติบอกว่า มิใช่หนทางนำไปสู่การพ้นทุกข์ทั้งสองฝ่าย ....ประมาณนี้...

เมื่อมาพิจารณาย่อหน้าที่แล้ว การทำตนให้ลำบาก ก็คือ การให้ความสำคัญต่อจิตใจ มากเกินไป...ส่วนการสนุกสนาน ก็คือ การให้ความสำคัญต่อร่างกายหรือวัตถุ มากเกินไป...ดังนั้น การไม่ให้ความสำคัญต่อจิตใจและร่างกายมากเกินไป เพียงก่อให้เกิดความสมดุลทางกายและใจ นั่นแหละ น่าจะเป็นทางสายกลาง...

ความเห็นส่วนตัว ครับ..

เจริญพร 

เป็นเนื้อหาที่ดีค่ะ อาจารย์ หนูเห็นด้วยว่าทางสายกลางดีที่สุด

ผมมองว่าทางสายกลาง อีกมุมของคนไทยเราคือชอบประนีประนอมครับ คือเอาไงก็ได้ ให้พอใจกันทุกฝ่าย ดีไหมครับ?

ทำงานให้ได้หน้า ทำงานให้ได้งาน เพื่อนผมเคยบอกไว้ว่าต้องได้ทั้งสองอย่าง เป็นทางสายกลางเหมือนกันไหมครับ?

ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช่ไหมคะ
   พอดี พอเหมาะ  พอประมาณ ไม่ตึง  ไม่หย่อน ไม่เร็วเกินไป  ไม่ช้าเกินไป ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ฯลฯ นี่ก็น่าจะเป็นทางสายกลาง
   หรือเทียบเคียงกับเรื่องไฟฟ้า โดยเอาใจมาเป็นตัวเทียบ ใจที่มีอคติไปในทางที่ชื่นชอบ พอใจก็คล้ายประจุไฟฟ้าบวก ( Proton - Positive )  ใจที่มีอคติไปในทางชิงชัง ไม่พอใจ ก็คล้าย ประจุไฟฟ้าลบ ( Electron - Negative ) ส่วนใจที่ไม่เอียง มีความเห็นที่เป็นกลาง ไม่มีอคติทั้งฝ่าย บวก และ ลบ เปรียบได้กับประจุที่เป็นกลาง ( Neutron )  
    ที่น่าสนใจก็คือ ในนิวตรอนนั้น มีทั้ง Proton และ Electron จับคู่กันอยู่ ทำให้มีความเป็นกลางได้  ใจคนที่มองเห็นอะไรๆแต่เพียงด้านเดียวจึงยากที่จะอยู่กับทางสายกลางได้

โดยสรุป

ผมคิดว่าหลักๆแล้วก็เหมือนท่านพระมหาชัยวุธกล่าวมา

แต่ใครจะแผลงไปในลักษณะที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ทั้งร่างกายและจิตใจก็น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดครับ

อยากถามว่า ความเป็กลางที่เกี่ยวกับการกินและการเรียนหมายความว่าอะไรค่ะช่วยตอบเลยได้มั้ยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท