R & D (4) : กับตนไทย


ถ้าจะถามว่าคนไทยจำนวนประมาณ ๖๓ ล้านคนนี้  จะมีคนที่มีทั้งปัญญาสูงและความคิดสร้างสรรค์สูงด้วย สักกี่คน ?  คำตอบ เราอาจจะพิจารณาได้จาก "โค้งปรกติ" หรือ "Normal Curve" ครับ

ในวิชาสถิติที่เด็กนักเรียนในปัจจุบันเรียนกันตั้งแต่ชั้น ม.๖ ขึ้นไป นั้น จะมีการพูดเกี่ยวกับโค้งปรกติกัน   โค้งปรกติมีลักษณะคล้ายภูเขา  คือตรงกลางโป่งออกมาและปลายโค้งทั้งสองข้างแฟบเข้าหาเส้นฐาน  พื้นที่ภายใต้โค้งทั้งหมดรวมกันประมาณ ๑๐๐ %  แบ่งพื้นที่ออกเป็นราว ๖ส่วน  คือ ส่วนจากจุดศูนย์กลางไปทางขวา ๑ ส่วนจะได้พื้นที่ราว ๓๔ % ส่วนถัดไปอีกประมาณ ๑๔ %  และถัดไปอีกประมาณ ๒ % รวมพื้นที่ซีกขวา ก็ ๕๐ %  ทางซีกซ้ายของโค้งก็เช่นกัน  โค้งนี้ได้มาโดย ทฤษฎี  หรือโดยปฏิบัติ

ความประหลาดของมันก็คือ  ถ้าเราเอาแบบทดสอบที่วัดความสามารถของมนุษย์ เช่น วัดปัญญา  วัดความคิดสร้างสรรค์ วัดความจำ วัดความคิดเหตุผล ฯลฯ  กับคนเป็นจำนวนมากๆ เช่นเป็นแสนๆคน แล้วนำคะแนนมาแจกแจง  จะพบว่า  การแจกแจงของคะแนนเหล่านั้นจะเป็นรูป "แบบโค้งปรกติ" เสมอ  คือตรงกลางโป่ง  ปลายทั้งสองแฟบ

และเราพบว่า  ตรงปลายขวามือ ๒ % นั้น จะเป็นคะแนนของพวกที่มีคะแนนสูงสุด  ถ้าเป็นปัญญาก็เป็นพวกปัญญาสูงสุด  ถัดมาอีกราว ๑๔ % นั้น ก็เป็นพวก ปัญญาสูงและค่อนข้างสูง  ถัดมาอีก ๓๔ % ก็เป็นพวกปานกลาง  ถัดมาอีก ๓๔ % ทางซ้ายมืออีก ๓๔ % ก็เป็นพวกปานกลาง  ถัดไปอีก ๑๔ % เป็นพวกปัญญาต่ำลงไป และอีก ๒ % จะเป็นพวกปัญญาต่ำสุด  เรียกกันว่าพวกเรียนช้า

ผมนำความรู้นี้มาตอบคำถามข้างบน จะได้ว่า พวกปัญญาสูงสุด  หรือความคิดสร้างสรรค์สูงสุดจะมีราว ๖๓ ล้าน x ๒ %  =  ประมาณ ๑ ล้านคนเศษ !  และ ๖๓ ล้าน X (๑๔ + ๒ %) = ประมาณ ๑๐ ล้านคน !!

คนเหล่านี้กระจายกันอยู่ตามระดับอายุต่างๆ ทั้งชายและหญิง  ครับ

มากมายเอาการนะครับ

คนเหล่านี้แหละที่มหาวิทยาลัยทั้งหลายสามารถที่จะพัฒนาพวกเขาได้ครับ

แต่เท่าที่ปรากฏ พวกเหล่านี้หายไปไหนหมดละครับ  ช่วยค้นหาที !! 

หมายเลขบันทึก: 76078เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตอนค้นหานี่ละสำคัญครับอาจารย์
  • ว่าเขาหายไปไหน
  • บางทีระบบการวัดในโรงเรียนหรือการวัดแบบนักวิจัยอาจวัดไม่ได้ครับ
  • คงต้องวัดตามสภาพจริงครับผม
  • ขอบคุณมากครับ

ผมขอลองนำแนวคิดของ Emerson Harrington วิศวกรเมื่อศตวรรษก่อน ที่เขาใช้อธิบายปรากฎการณ์ต่าง ๆ

จำนวนคนที่สร้างสรรค์ด้วยสติปัญญา

= จำนวนคนทั้งหมด

x โอกาสที่จะเป็นคนฉลาด (ดูบันทึกข้างต้น)

x โอกาสที่จะได้เข้าสู่ระบบที่ได้แสดงความฉลาดนั้น (เช่น ผู้ชายหายไปจากระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัย)

x โอกาสที่เขาจะสนใจอยู่ในระบบ (ความน่าสนใจในด้านนี้ เทียบกับการประกอบอาชีพอย่างอื่น)

x โอกาสที่เขาจะได้แสดงฝีมือ (เลือกหัวข้อได้ดีแค่ไหน)

x โอกาสที่เขาจะไม่ถูก "ดึงเข้าหาค่าเฉลี่ย" โดยระบบ (ค่านิยม)

x โอกาสที่เขาจะใช้ในด้านบวก (สังคมหมดพลังไปกับการป้องกันคนขี้โกงมากเกินไป)

 

.....

 

ผมอาจจะยังลืมคูณไปอีกหลายตัว..

แต่มองออกแค่นี้ครับ...

 

(๑) คงจะเป็นตามที่ อาจารย์ขจิต ฝอยทองว่าแหละครับ

(๒) คงจะหล่นหายไปตามระยะทางตามที่ wwibul ว่าเช่นกัน ครับ  ความคิดนี้น่าจะเป็นหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจมาก  ไม่รู้ว่ามีใครเคยทำไว้บ้างหรือยังครับ

ถ้าเราค้นให้พบ  แล้วนำมาพัฒนาให้เป็นนัก R&D ตามที่เขาถนัด  อย่างน้อยปีละ ๕๐๐๐ คน  แล้วเทคโนโลยีของเราจะไปโลดทีเดียว และแน่นอน เราจะกอบโกยเงินเข้าประเทศ  มั่งคั่งกันเต็มที่ ดีกว่าที่จะไปขุดของเก่ามาทำการท่องเที่ยวเหมือนที่เป็นอยู่กันเป็นไหนๆ จริงไหมครับ

ขอบคุณทั้งสองท่านครับ ที่เข้ามาเยี่ยมชมและแสดงความคิเห็นที่มีค่าอย่างยิ่ง

อาจารย์ ดร. ไสว

เข้ามาอ่าน และให้กำลังใจให้อาจารย์เขียนต่อไปเรื่อยๆ ครับ

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท