บางเสี้ยว...แห่งลุ่มน้ำสาละวิน...มุมมองที่ถูกมองข้าม (ตอนที่ ๑)


บ้านท่าตาฝั่งสนใจเปิดหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวก็เพียงเพื่ออยากจะสื่อสารกับคนในเมือง ชนชั้นกลางทั้งหลายที่มักกล่าวหาว่าชาวเขาเป็นคนทำลายป่า

บางเสี้ยว..แห่งลุ่มน้ำสาละวิน..มุมมองที่ถูกมองข้าม

กาสะลอง...เล่าเรื่อง 

 

อ่อ ที กะต่อ ที อ่อ ก่อ กะต่อก่อ

กินน้ำรักษาน้ำ อยู่ป่ารักษาป่า
เกอะตอ เส่ เลอะ ทีโพคี เกอะตอ หว่า เลอะ ทีโพคี

เรารักษาไม้ที่ขุนน้ำ เรารักษาไผ่ที่ขุนน้ำ
เกอะตอ ฉ่าโพ อะหล่อมี เกอะตอ ก่อโพ อะหล่อมี

ให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า ให้เป็นที่นอนของสัตว์ป่า
เส่กลอ เหน่ กลอ เหลอะ เตอะเก ปะ เหน่ บิเบโหม่ จ่อ เก

ตัดไม้อย่าตัดหมด เหลือไว้ให้นกพญาไฟมาเกาะ
อ่อ ที กะต่อ ที เหม่ เก อ่อ ก่อ กะต่อ ก่อ เหม่ เก

ใช้ผืนน้ำให้รักษาไว้ ใช้ผืนดินให้รักษาไว้
แพะ คึ ขุ ซี เส่ เตอะ เก แพะ คึ ขุ ซี หว่า เตอะ เก

ถางไร่อย่าฟันไม้ให้ตาย ฟันไร่อย่าถางไผ่ให้ตาย
เส่ หว่า เมะ ลอตุ ลอเช เปอะ บะ กอวี บะ กอเจ

หากไม้และไผ่หมดไป เราจะอดน้ำอดข้าวตาย
เปอะ โอะ ฮี่ เลอ โหม่ แดลอ เปอะ โอะ ฮี่ เลอ ป่า แดลอ

หมู่บ้านที่แม่เราเคยอาศัย หมู่บ้านที่พ่อเราเคยอาศัย
สะสวีส่า เลอ โหม่ สู่ ลอ มะแงส่า เลอ ป่า สู่ ลอ

ส้มโอที่แม่ปลูกไว้ มะนาวที่พ่อปลูกไว้
เปอะอ่อกะต่อ อ่อกะต่อ กุ อ่อ ปกา เล ตื่อ เล ตอ

เรากินไปเรารักษาไป เราจึงมีกินตลอดไป

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">คำกล่าวเพลงทาจากบทความ โรงเรียนแม่น้ำ กลางป่าสาละวิน
เพียรพร ดีเทศน์ เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (searin)
</p>  แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ยาว ที่สุดสายสุดท้ายในภูมิภาคอุษาคเนย์ ที่ยังคงไหลอย่างอิสระ สาละวินมีต้นกำเนิดจากการละลาย ของหิมะบริเวณที่ราบสูงธิเบต เหนือเทือกเขาหิมาลัย แม่น้ำสาละวินไหลลงสู่มลฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกสายน้ำนี้ว่า นู่เจียง จากนั้นก็ไหลต่อเข้าสู่แผ่นดินเขต ประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐคะยา ก่อนที่จะกลายเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างไทยกับพม่าที่จังหวัด แม่ฮ่องสอน ตรงข้ามกับรัฐกะเหรี่ยง <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังจากไหลกั้นพรมแดนไทยกับพม่า ๑๑๘ กิโลเมตร จึงไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย ที่บ้านสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ ที่รัฐมอญ รวมระยะทางทั้งหมด ๒,๘๐๐ กิโลเมตร นับเป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ลุ่มน้ำสาละวินเป็นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ กว่า ๑๔ กลุ่มทั้งในจีน พม่า และไทย ปัจจุบันลุ่มน้ำแห่งนี้เป็นเป้าหมายของโครงการเขื่อนมากมาย ได้แก่เขื่อนชุด ๑๓ แห่งในเขตจีน เขื่อนท่าซางในรัฐฉาน และเขื่อนสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> การเดินทางครั้งนี้แฝงไปด้วยความตื่นเต้น เพราะเป็นการมาเยือนและทำความรู้จักกับลุ่มน้ำสาละวินเป็น ครั้งแรกของชีวิตผู้เขียน หลังจากที่ได้ยินเพียงเสียงเล่าลือถึงลุ่มน้ำสาละวินนี้ผ่านสื่อสาธารณะต่างๆ มานาน หลายคนอาจรู้จักสาละวินเพียงเฉพาะเรื่องการสร้างเขื่อนบนผืนแผ่นดินที่มีผู้คน (ไทย) ไร้สัญชาติอยู่มากมาย แม่น้ำสาละวินในช่วงปลายฝน ดูเชี่ยวกราดแต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ระยะทางจากท่าเรือบ้านแม่สามแลบประมาณ 50 นาที เรือด่วนของชาวบ้านแถบนั้นก็พาเรามาถึงชุมชนเล็กๆ ที่แฝงตัวอยู่ริมน้ำสาละวิน เป็นอีกหนึ่งที่มีชุมชนปกาเกอะญออาศัยอยู่   บ้านท่าตาฝั่ง…ชุมชนท่องเที่ยวเล็กๆริมน้ำสาละวิน  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ชุมชนปกาเกอะญอขนาดย่อมประมาณ 80 หลังคาเรือนอาศัยอยู่ริมน้ำสาละวินมานานแล้วตามคำบอกเล่าของพะตี (ลุง) ปรีชา ปัญญาคม ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ ความสามารถในการทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากหวาย พะตี่ ปรีชา เล่าให้ฟังต่ออีกว่า บ้านท่าตาฝั่งสนใจเปิดหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวก็เพียงเพื่ออยากจะสื่อสารกับคนในเมือง ชนชั้นกลางทั้งหลายที่มักกล่าวหาว่าชาวเขาเป็นคนทำลายป่า แต่ในชีวิตพะตี่นั้นตลอดชีวิตเพียรสอนให้ลูกหลานรู้จักป่า ใช้ประโยชน์จากป่า ก็ต้องดูแลรักษาป่าด้วย ตามคำทาด้านบนที่ชาวปกาเกอะญอต่างพร่ำสอนลูกหลาน และบอกต่อกันมาเรื่อยๆ เพียงแต่ไม่ถูกสื่อหรือคนภายนอกไม่รู้เท่านั้น เมื่อถูกสังคมตีตราประทับว่าเป็นคนทำลายป่า ชาวบ้านจึงคิดว่าน่าจะมีทางใดที่จะสามารถสื่อสารความจริงที่อยู่ในซอกหลืบเล็กๆ นี้ ให้ส่งเสียงดังไปถึงคนปลายน้ำ คนในเมือง ที่แทบไม่เคยใช้ชีวิตอยู่กับป่าเลย เมื่อมีนักพัฒนาและองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ามาส่งเสริม ชาวบ้านจึงสนใจใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับคนภายนอกให้ทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับคนที่อยู่กับป่าให้มากขึ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จุดเริ่ม CBT (Community based Tourism)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในช่วงปี พ.ศ.2544 คุณภากร กังวานพงศ์ (นายกอบต.แม่ยวม) ได้เข้ามาส่งเสริมชาวบ้าน ชวนชาวบ้านคุยเรื่องการจัดการท่องเที่ยว ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ และพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะในเรื่องการจัดการท่องเที่ยว โดยเน้นการรักษาฐานทรัพยากร ฐานวัฒนธรรมที่มีอยู่ของชุมชนให้คงอยู่และเกิดการจัดการที่นำไปสู่ความยั่งยืน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การเข้ามาเรียนรู้กระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านท่าตาฝั่งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง การสังเคราะห์องค์ความรู้การท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค และมีคุณจตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร นักวิชาการอิสระ เป็นหัวหน้าโครงการ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของทีมวิจัยที่จะศึกษา เรียนรู้และถอดประสบการณ์การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในแบบฉบับที่เป็นของคนแม่ฮ่องสอน บ้านท่าตาฝั่งจึงเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายของชุมชน CBT ที่มีในจังหวัดแม่ฮ่องสอน หากแต่จะเป็นประสบการณ์ในด้านงานพัฒนาที่สนับสนุนโดยหน่วยงานภาครัฐ ทีมวิจัยเล็งเห็นความสำคัญของประสบการณ์ที่ชุมชนมีจึงได้เดินทางมาร่วมเรียนรู้ด้วย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ติดตาม “เรื่องของสาละวิน”  ต่อไป ในตอนที่สอง ครับ….</p>

หมายเลขบันทึก: 75297เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ผมเคยได้อ่านนิตยสาร "ค คน"  ... ปกเป็นภาพชายหนุ่มปกาเกอะญอ ซึ่งเดินเท้ามาจากทางเหนือเพื่อมาขอความร่วมมือจากชาวเมืองในการเป็นแรงหนุนส่งเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ป่าชุมชน
  • ผมประทับใจเรื่องนี้มาก... และอยากให้หลายท่านไปอ่านสกุ๊ปนี้ดู เผื่อบางทีจะเข้าใจวิถีชีวิตของพวกเขาที่ผูกพัดและร้อยรัดอย่างสนิทแน่นกับผืนป่า

สวัสดีค่ะคุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • ครูอ้อยชอบสภาพของธรรมชาติ 
  • ครูอ้อยอ่านบันทึกของคุณเอกที่เกี่ยวกับวิจัย  กับการท่องเที่ยว  ธรรมชาติ 
  • ชอบมากๆค่ะ...
  • เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะคุณเอก...
  • สวยมาก
  • สงสัยว่าถ้าเกิดหลงอยู่แถวนี้ จะมีใครหาเจอไม๊

คุณแผ่นดิน

ยิ่งได้ศึกษา และได้สัมผัสกับชีวิตของปราชญ์แห่งขุนเขา ปกาเกอญอแล้ว...เราจะพบกับความยิ่งใหญ่ หลายสิ่งในวิถีของคนภูเขาครับ

คุณครูอ้อย ครับ

ขอบคุณที่ครูอ้อยติดตามเรื่องราวคนเล็ก คนน้อย ที่ผมบันทึกผ่านบันทึกของผมมาโดยตลอด ผมพยายามเขียนเพื่อให้สนุกสนานและให้เพลิดเพลิน...ขอบคุณกำลังใจดีๆครับ

อาจารย์หมอ นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง

บรรยากาศดีครับ ธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ หากหลงทางแถวนี้ ยากที่จะหาเจอ เพราะผมเดินทางไปที่หมู่บ้านใช้เวลานานมาก...ผ่านเรือจากบ้านแม่สามแลบ ไล่ขึ้นมาตามลำน้ำสาละวินที่กว้างใหญ่อีก ราว ๒ ชม.

แต่คุ้มค่ามากครับผม

  • บทเพลงมีความหมายดีจังเลยค่ะคุณเอก    เป็นการปลูกฝังให้เด็กๆรู้รักษ์ธรรมชาติ
  • จะรออ่านงานชิ้นต่อๆไปค่ะ  เพราะคงยากที่จะมีโอกาสไปสัมผัสเอง

อ.ลูกหว้า

วิถีของปกาเกอญอนั้น เป็นวิถีของปราชญ์บนภูเขา ดังนั้นการแสดงออกทางสื่อ ไม่ว่าจะเป็นเพลง หรือลำนำ จะเห็นความยิ่งใหญ่อยู่ข้างในนั้นครับ

ติดตามได้เรื่อยๆครับ

ขอบคุณนะครับที่ติดตามเสมอมา

  • รออ่านต่อ
  • เพียรพร ดีเทศน์
  • ลูกสาวอาจารย์เตือนใจใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากครับที่มีเรื่องดีๆมาเล่า

อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง

น้องเพียรพร เป็นลูกสาวของ คุณเตือนใจ ดีเทศน์ สว.เชียงราย แม่ฌิงเก่งอีกท่านของ เชียงราย และเมืองไทยครับ

มีต่อเรื่อยๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท