ขอให้เข้าใจว่า นั่งสมาธิ ไม่ใช่ แนวเดียว (Not the only way) ในการปฏิบัติธรรม
คนไทย คนเทศ มากมาย หลงไปในรูปแบบว่า นั่งสมาธิเท่านั้น คือ ตัวแทนของการปฏิบัติธรรม
ผมขออัญเชิญ จาก พระไตรปิฎก Cdrom พระวินัยปิฎก เล่ม 1 ตอนที่ 178 ดังนี้
ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาส น์ ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน สงบไปโดยฉับพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน
ภิกษุนั้นย่อมมี สติหายใจ เข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก ว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่า หายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อม สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจ เข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก รู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยัง จิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก พิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง
หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก พิจารณาเห็นวิราคะหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น ปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน.
คำสำคัญ (Tags)#อานาปานสติ#สำเหนียก
หมายเลขบันทึก: 74733, เขียน: 27 Jan 2007 @ 08:52 (), แก้ไข: 08 Jun 2012 @ 09:34 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 13, อ่าน: คลิก
จาก พุทธพจน์ ที่ว่า "ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก"
ขอกราบ อนุญาต ขยายความ
นั่นคือ ขณะเจริญ อานา ฯ ก็ต้องมีสติกำกับ ไม่เพียงแค่ ที่ลมหายใจเข้าออก (ดูลม = ดูกาย เพราะ ลมกระทบกาย ที่ ปลายรูจมูก) แต่ ยังต้องมีสติ รู้4 อย่าง คือ "รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม" อย่างไหนชัดกว่า เราก็ไปรู้ตัวนั้น (เราชอบเรียกว่า รู้ แทนคำว่า ดู หรือ มีสติ)
การเดินจงกรม ก็เช่นกัน ต้อง สำเหนียกด้วยว่า จิตเป็นอย่างไร ไม่ใช่ สักแต่เดินเป็น ทหารเกณฑ์
เราจะเห็นได้ว่า ในการกำหนดลมหายใจนั้น มีการกระทำสองอย่างเกิดขึ้น พร้อมกัน หรือ สลบไปมาอย่างรวดเร็ว คือ
(ก) ดูลมหายใจ และ (ข) สำเหนียก หรือ ดู "กาย เวทนา จิต ธรรม"
คนเรามัก หลงไปทำ อย่างเดียว คือ เอาแต่ดูลมกระทบผิวที่รูจมูก ----> หลงออกไปทาง "สมถะ"แบบหัวตอ