เวทีชาวบ้าน วงวิชาการที่มีชีวิต


คิดตามประสาครูบ้านนอก ณ วันนี้ เรื่องดีๆและเรื่องที่ไม่ดี อันเกิดมีและเป็นไปในแวดวงการศึกษา น่าจับมาเป็นประเด็นในเวทีชาวบ้านแท้ๆ ที่ช่วยคิดช่วยแก้ภาพใหญ่ในวงการศึกษาให้น่ามอง
                             เวทีชาวบ้านกับงานพัฒนาในยุคนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่คู่กัน   งานนี้ก็จัดเวทีชาวบ้าน   งานนั้นก็เวทีชาวบ้าน   งานอีกหลายงานก็จะต้องผ่านเวทีชาวบ้าน    ได้มีโอกาสอ่านเขียนเรียนรู้ทำให้พอที่จะรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเวทีชาวบ้าน ได้บ้างตามสมควร  สมควรตามฐานะของความเป็นครูบ้านนอก   ครับ                           

                           ข้อดีประการหนึ่งของการเป็นครูบ้านนอกอย่างผมคือเมื่อชาวบ้านมีการงานอะไรหรือมีใครไปมาเข้าออกในชุมชนด้วยสิ่งที่เรียกว่า งานพัฒนา    ผมกับเพื่อนครูในโรงเรียนมักจะได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ     ในที่นี้ขอเรียกเพื่อนพ้องน้องพี่ในชุมชนว่า   คนใน     และขอเรียกเพื่อนพ้องน้องพี่ที่มาร่วมคิดร่วมทำจากหลายภาคส่วนว่า   คนนอก  
                        

           เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม  เวทีชาวบ้าน จัดว่าเป็นวงวิชาการที่มีชีวิต  เพราะว่า
               
                     1.  เป็นเวทีที่มีชาวบ้านแท้ๆมากกว่านักวิชาการ   การขับขานในเวทีจึงมีแต่เรื่องจริงๆของชีวิต
              
                     
2.  ก่อนคนนอกจะเข้ามา    คนในได้เตรียมการทั้งคน   เอกสาร   อาหารการกิน และอื่นๆ   ความมีชีวิตชีวาน่าจะเริ่มต้นก่อนวันงานอย่างน้อย    2   -   3   วัน                 
                     3.  เมื่อคนนอกออกไป   คนในก็จะมีวงย่อยวิพากษ์กันต่อไปอีกอย่างน้อย    2   -   3   วัน 
           
                    
4.   หากสิ่งที่พูดคุยแลกเปลี่ยนตรงประเด็นในความเป็นไปของคนใน   ก็จะก่อเกิดการสานต่อ เพื่อความอยู่ดีมีสุขต่อไป   เปรียบได้ดังพืชได้น้ำได้ปุ๋ยนำพาให้งอกงาม    ดังนั้นเวทีชาวบ้านจึงเป็นวงวิชาการที่มีชีวิต                

                      5.  หากสิ่งที่พูดคุยแลกเปลี่ยนไม่ถูกต้องตรงประเด็นในความเป็นไปของคนใน    การสานต่อก็จะห่อเหี่ยวและเฉาตายในที่สุด    ดุจดังพืชขาดน้ำขาดปุ๋ย    ดังนั้นเวทีชาวบ้านจึงเป็นวงวิชาการที่มีชีวิต 
                     

                      เวทีชาวบ้าน วงวิชาการที่มีชีวิต  เป็นแนวคิดที่ได้พานพบในภาคสนาม บนความเป็นคนบ้านนอก  และครูบ้านนอก  จึงนำมาบอกเล่าสู่กันฟัง  อาจผิดบ้างถูกบ้างในวงสนทนาของการจัดการความรู้ถือว่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ใช่ไหมครับ 
               

                    หวนกลับมาที่แวดวงการศึกษา  ครูบาอาจารย์รวมทั้งท่านผู้มีเกียรติหลายท่าน  ร่วมสะท้อนผลการจัดการศึกษา ผ่านเวทีเสวนาเรื่อง 
ปัญหาการศึกษาของชาติ    เมื่อวันที่  25   มกราคม   2550      ที่ผ่านมา   สาระสำคัญมีว่า     การศึกษาถอยหลังเข้าคลองแล้วประมาณสิบวา เพราะไม่รู้ว่าจะไปทางไหน   ไม่คิดที่จะปฏิรูปอย่างจริงจัง เป็นไปแบบเรื่อยเปื่อย   อยากเห็นเด็กเป็นคนดี   ขยัน   ใฝ่รู้   รู้จักผิดถูก    อยากให้โรงเรียนสอนทักษะชีวิตมากกว่าสอนทฤษฏีตามหนังสือ   (    สรุปจาก   มติชน   รายวันฉบับวันที่    27   มกราคม   2550 )                

                    คิดตามประสาครูบ้านนอก     วันนี้   เรื่องดีๆและเรื่องที่ไม่ดี   อันเกิดมีและเป็นไปในแวดวงการศึกษา   น่าจับมาเป็นประเด็นในเวทีชาวบ้านแท้ๆ   ที่ช่วยคิดช่วยแก้ภาพใหญ่ในวงการศึกษาให้น่ามอง 
                     
                เราน่าจะลอง  จัดเวทีชาวบ้าน (ด้านการศึกษา)
   ให้เป็นวงวิชาการที่มีชีวิต  ดีไหมครับ 
   
หมายเลขบันทึก: 74730เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อาจารย์ครับ  ทุกวันนี้โครงสร้างการบริหารในโรงเรียนยังมีคณะกรรมการการศึกษาที่มาจากผู้แทนชาวบ้านอยู่หรือเปล่า
  • ผมเคยให้แทบที่บ้านเคยมี แต่ส่วนหนึ่งก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก
  • สิ่งหนึ่งที่ได้จากบันทึกนี้ก็คือ ข้อดีประการหนึ่งของการเป็นครูบ้านนอกอย่างผมคือเมื่อชาวบ้านมีการงานอะไรหรือมีใครไปมาเข้าออกในชุมชนด้วยสิ่งที่เรียกว่า งานพัฒนา    ผมกับเพื่อนครูในโรงเรียนมักจะได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ
  • เพราะนี่คือ  สิ่งสะท้อนบทบาทและสถานะของครูที่ได้รับการยอมรับและการมีความสำคัญต่อชุมชน อย่างแท้จริง
  • อาจารย์จัดมั้ยครับ
  • หากผมว่างเดี๋ยวจะไปเข้าร่วม (สาระเลยนะเนี่ยอาจารย์) รู้สึกชื่นชม
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท