บทความของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เรื่อง “คุณภาพแห่งชีวิต: ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” เป็นบทความที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน
บทความนี้ เป็นเรื่องของ “สวัสดิการ” ที่อาจารย์ป๋วยใช้คำว่า “คุณภาพชีวิต” อาจารย์ป๋วยใช้ภาษาง่าย ไม่เพียงเขียนถึงสิ่งที่ “ผม” ในฐานะประชาชนคนหนึ่งควรจะ “ได้รับ” ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่จนถึงเมื่อสิ้นชีวิต แต่ยังบอกถึง “หน้าที่” ที่พลเมืองพึงกระทำ และสิ่งที่รัฐพึงกระทำ
ในที่นี้ อยากพูดถึงช่วงสุดท้ายของบทความที่กล่าวถึงความตายและหลังความตาย ซึ่งพวกเราหลายคนมองไปไม่ถึง อาจารย์ป๋วยบอกว่า ....
หากจะตายก็อย่าตาย “อย่างโง่ๆ อย่างบ้าๆ” เพราะสงคราม อุบัติเหตุรถยนต์ น้ำอากาศเป็นพิษ หรือเพราะการเมืองเป็นพิษ (ซึ่งดูเหมือนในปัจจุบัน สิ่ง “โง่ๆ บ้าๆ” เหล่านั้นมีความถี่สูงขึ้น รุนแรงขึ้นทุกทีในสังคมไทย)
เมื่อตายแล้ว ทรัพย์สินเหลือไว้ให้เมียและลูกเล็กๆพอใช้ “ลูกโตแล้วไม่ให้” ที่เหลือ “รัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่นๆบ้าง”
“ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตองในงานศพให้วุ่นวายไป”
“นี่แหละคือ ความหมายแห่งชีวิต นี่แหละคือการพัฒนาที่จะควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน”
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ ใน เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต
คำสำคัญ (Tags)#สวัสดิการ#อาจารย์ป๋วย
หมายเลขบันทึก: 74726, เขียน: 27 Jan 2007 @ 07:16 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 17:10 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 3, อ่าน: คลิก
"ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัย
และทำกิน...."
ประทับใจ อ. ป๋วย มากคะ