การควบคุมแมลงโดยวิธีการทางธรรมชาติ


เกษตรกรคนนั้นจะเป็นผู้รู้จริงในการทำสวนที่ช่วยรักษาระบบนิเวศน์และเข้าใจในการใช้ธรรมชาติจัดการกันเองในแปลงเกษตรนั่นเอง

          บันทึกนี้ได้รับแนวคิดจากการอ่านบันทึกของ ดร.แสวง รวยสูงเนิน ชือบันทึก ระบบนิเวศน์ต้องกลับคืนมา : เป็นคำตอบสุดท้าย(http://gotoknow.org/blog/sawaengkku/72171

         ซึ่งทำให้ผมคิดว่าหากเราค้นหาและนำเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับการรักษาระบบนิเวศน์มาบอกต่อ  ย่อมส่งผลต่อการขยายผลหรือส่งเสริมให้เกษตรกรทั่วไปได้ทำการเกษตรที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์  ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในแปลงเกษตรมากยิ่งขึ้น  สิ่งดีๆ อื่นๆ ย่อมจะตามมาอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติเพิ่มขึ้น สภาพของดินที่ดีขึ้น การใช้สารเคมีในการเกษตรลดลงจนเลิกใช้ ผลผลิตปลอดภัย คนปลูก-คนกินก็สุขภาพดีตามมาอย่างแน่นอน

          วันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา ผมและพี่วิโรจน์ พ่วงกลัด และคุณดรรชนี เมธเศรษฐ ได้ไปนิเทศงานที่สำนักงานเกษตรอำเภอคลองลาน ขากลับเราแวะเยี่ยมเกษตรกรผู้นำที่ตำบลคลองแม่ลาย อำเภอเมืองกำแพงเพชร เกษตรกรท่านนี้คือพี่อุดม  ทองช้าง อดีตหัวหน้าฝ่ายบริหาร สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ที่เกษียณตัวเองก่อนกำหนดตามโครงการเมื่อ 3 ปีที่แล้ว และปัจจุบันทำการเกษตรตามที่ตั้งใจไว้

          เมื่อพบปะพูดคุยกันเกี่ยวกับการเกษตรโดยทั่วๆ ไป มีอยู่ตอนหนึ่งพี่อุดมได้บอกกับพวกเราทีเล่นทีจริงว่า การตัดสินการประกวดเกษตรกรดีเด่นสาขาการทำสวนของพวกเราน่าจะตัดสินไม่ถูกต้อง เพราะเรามักจะให้คะแนนแปลงปลูกที่สวนเตียน และสวยงามมากกว่าแปลงที่ดูรกๆ   แต่ที่ถูกต้องในการตัดสินว่าเกษตรกรสาขาทำสวนที่เก่งและควรจะได้คะแนนมากๆ น่าจะเป็นสวนที่รกๆ เพราะจากการสังเกตจากการปฏิบัติจริงในสวนลำไยของพี่อุดมบอกว่าหากปีไหนเราตัดหญ้าให้เตียนตลอดเวลา ปีนั้นใบลำไยอ่อนจะถูกรบกวนจากแมลงมาก  แต่หากปล่อยให้รกๆ กลับพบว่า การทำลายของแมลงลดลง เพราะมีพืชอาศัยและพืชอาหารเพียงพอนั่นเอง

  • แปลงปลูกลำไยจะปล่อยให้หญ้ารก ๆ เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยและเป็นพืชอาหารของแมลง 
  • ต้นน้อยหน่าก็ปล่อยให้รกเช่นเดียวกัน

          เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ง่ายๆ และไม่ยากในการปฏิบัติ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเกต และปฏิบัติจริงที่อยากนำมา ลปรร. ที่ทำให้พวกเราถึงบางอ้อว่า ทำไมเกษตรกรดีเด่นสาขาไม้ผลที่ปล่อยให้สวนรกน่าจะได้คะแนนมากกว่าสวนที่เตียนโล่ง เพราะเกษตรกรคนนั้นจะเป็นผู้รู้จริงในการทำสวนที่ช่วยรักษาระบบนิเวศน์และเข้าใจในการใช้ธรรมชาติจัดการกันเองในแปลงเกษตรนั่นเอง

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก


         ผมเห็นบ้านพี่อุดมโดดเด่นและเหมาะมากสำหรับการพักผ่อนเลยขอนำภาพมาฝากทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียนบล็อกนี้เพื่อพักสายตาครับ

หมายเลขบันทึก: 73149เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ท่านสิงห์ป่าสัก

การกลับมายังต้องมีขั้นตอน เหมือนกับบันไดไต่ขึ้นลงเขา

ไต่ขึ้น-ลง โดยไม่มีบันไดจะลำบาก โดดลงขาก็อาจหักได้

นี่คือแนวคิดสำคัญครับ

ตอนนี้ผมกำลังหาทางสร้างบันไดการพัฒนาในชุมชน

ผมคิดว่า KMธรรมชาติ ในชุมชน คือเครื่องมือที่ดีที่สุดครับ

น้องสิงห์ป่าสัก ครับ 

เป็นข้อมูลความรู้ภูมิปัญญาที่ดีมาก

ผมจึงให้ครูอาสาฯได้อ่านบล็อกของน้องสิงห์ป่าสักเป็นประจำ เปรียบเหมือใบความรู้หรือใบงานก่อนที่ครู ครู กศน.จะออกไปพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนในเวทีเรียนรู้กับชาวบ้าน...นั่นในส่วนของเนื้อหา ไมว่าจะบทความอะไร

ที่สำคัญคืออยากให้เขาได้ซาบซึ้งในคุณค่าของการบันทึกและเผยแพร่ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของบุคลากร กศน.เหล่านั้น ซึ่งปีนี้เราเน้นหนักเรื่องการเอาความรู้ที่สั่งสมออกสู่ภายนอก มีแผนการพบกลุ่มทีมคุณลิขิต 8 ครั้งต่อปี กว่าจะถึงกำหนดนัดหมายพบกลุ่มแต่ละครั้ง แต่ละคนก็ได้ทำการบ้านทำงานมีประสบการณ์ คงจะได้มีเรื่องเล่า

การเรียนรู้เทคนิคการเขียนของบล็อกเกอร์แต่ละคนเป็นการเรียนรู้เทคนิคอย่างหนึ่งที่ทางโครงการเราได้มอบหมายให้ไปทำการบ้าน

ขอบคุณที่ได้เป็นตัวอย่างดีๆให้น้องๆชาว กศน....เท่าที่ผมสังเกตดูเนื้อหาที่ครู กศน.ไปทำหน้าที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ชาวบ้าน ส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้องกับการเกษตรนี่แหละครับ

ตามครูนงมาค่ะ...เลยมาเจอเรื่องดีๆ...เห็นมั๊ย...คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล....เลยมาเจอจุดพักสายตาที่สวยมาก...และเจอเรื่องราว"สวนรก" กับ"สวนเตีนยโล่ง" ฮึมม์...

เรียน ดร.แสวง

  • เห็นด้วยครับ การกลับมาต้องมีบันไดให้ลง และลงอย่างมีขั้นตอน
  • ผมเคยสัมผัสกับเกษตรกรที่ได้ปรับแนวคิดมาบ้างแต่ไม่มากนัก  มักจะถูกคนส่วนใหญ่มองว่าสวนกระแส
  • การกลับมาน่าจะมีการปรับแนวคิดกันในหลายๆ ส่วนจึงจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ เริ่มตั้งแต่ในครัวเรือน-จนถึงระดับประเทศ และทุกๆ ส่วนของสังคม ไม่เฉพาะส่วนของภาคการผลิตเท่านั้น
  • ขอบพระคุณมากครับ

เรียน  ครูนงเมืองคอน

  • ยินดีที่ได้ ลปรร.กับเพื่อนครู กศน.ทุกๆ ท่านนะครับ
  • ใช่แล้วครับส่วนของเนื้อหาที่จัดกระบวนการกันก็คงเป็นทางด้านการเกษตรเสียเป็นส่วนใหญ่  เพราะเป็นเรื่องของการประกอบอาชีพ และใกล้ตัว
  • ดีใจมากครับที่เพื่อนครู กศน.มองเห็นความสำคัญและเข้ามา ลปรร. และเข้าไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง และพัฒนากระบวนการอยู่ตลอดเวลา
  • ขอบพระคุณมากครับ

เรียน  ท่านพี่เมตตา

  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ
  • มีอีกมุมหนึ่งครับ ภาพพักสายตา

         

ความรก ก็ปิดทางแมลงได้ดีทีเดียว

ภูมิปัญญาไทย สมควรแบ่งปันเลยครับ 

 เรียน  คุณ ตาหยู

  • เป็นการรักษาระบบนิเวศน์ครับ แมลงมีพืชอาศัย/พืชอาหารเพียงพอ ก็จะรบกวนพืชที่เราปลูกน้อยลงครับ 
  • ขอบพระคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยมเยียน

 

  • เมื่อก่อน บ้านผม เรียก ป่ายาง (ยางพารา) ไม่ต้อง ใส่ปุ๋ย
  • เดี๋ยวนี้เรียก สวนยาง ต้องเพิ่มทั้ง ปุ๋ย ยาปราบศรัตรูพืช + ต้นทุน
  • เพราะเป็นข้อกำหนดของบุคคลภายนอก

      ขอบพระคุณมากครับ ที่แวะเข้ามา ลปรร.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท