อิงระบบตำหรับมหาชีวาลัยอีสาน


เป็นการลดขั้นตอนโต้ตอบทางเอกสาร จาก3-4เดือน ลงมาเหลือในเวลา 1 ชั่วโมง นี่คืออานุภาพของการทำงานเชิงรุกแบบอิงระบบ
  • อิงระบบตำหรับ
  • มหาชีวาลัยอีสาน 

ถาม: มหาชีวาลัยทำงานภายใต้รูปแบบหรือวิธีการอย่างไรคะ

ตอบ: เราดำเนินงานและประกอบการแบบอิงระบบ

ถาม: อ๋อ! เป็นแบบที่เขาจะให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบใช่ไหมคะ

ตอบ: ไม่ใช่ครับ ผมหมายถึงวิธีการทำงานนะครับ เพราะเราเป็นคนนอก       ระบบอยู่แล้ว

ถาม: งง!!คะ ขอคำอธิบายหน่อยได้ไหมคะ

ตอบ: เป็นอย่างนี้ครับ ถ้าเรามองดูโครงสร้างของระบบงาน เราก็จะเห็นว่ามี ระบบราชการ ระบบธุรกิจเอกชน ระบบชุมชน ระบบองค์กรอิสระฯลฯ บังเอิญว่า มหาชีวาลัยอีสานไม่ได้อยู่ในสังกัดของระบบไหนเลย เราเป็นพวกนอกระบบ ทำตัวเหมือนยิปซีเร่ร่อนไปเชื่อมความรู้ เข้ากลุ่มโน้นทีกลุ่มนี้ที เข้าไปแบบพันธมิตรอ่อนน้อมถ่อมตนทำนอง..”บ้านเรือนเคียงกัน แอบมองทุกวันเลยเชียว..เห็นหน้าหน่อยเดียวก็พลอยโน้มเหนี่ยวฝันถึง..” ประมาณนี้ 

   ใครทำดีมีความสามารถเราก็แอบปลื้มแอบชื่นชม ไปเก๊าะเก๊ะขอทำความรู้จัก ถ้าเพื่อนบ้านดีมีน้ำใจ เราไปขอผูกสัมพันธ์ในฐานะ พันธมิตรทางวิชาการ เพื่อประสานความแนวคิดแนวทางร่วมกัน โดยตั้งหลักชัยไว้ที่ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ หลังจากนั้นก็มาดูจุดดีจุดแข็งของแต่ละฝ่ายเอามากำจัดจุดอ่อน แล้วแปลงรหัสการทำงานให้เป็นตัวช่วยซึ่งกันและกันได้อย่างไร

ถาม: อ๋อ..ที่เล่ามานี้ทำเป็นเหมือนที่เขาพูดๆกันว่าอีแอบใช่ไหมคะ

ตอบ: ไม่ใช่ครับ เราเรียกว่าแบบอิงระบบ

ถาม: ไม่เข้าใจคะ อิงยังไงคะ?

ตอบ: กาลครั้งหนึ่ง เมื่อมานพน้อยจนมุมจนใจ จึงไปกราบเรียนถามพระอาจารย์ใหญ่ ... ประเวศ วะสี ท่านอาจารย์ครับ การทำงานที่ผ่านมา เวลาชาวบ้านไปเชื่อมโยงกับหน่วยราชการ หรือทำงานร่วมกันภายใต้ร่มของระบอบราชการ เราจะไปเจอวัฒนธรรมราชการที่เต็มไปด้วยระเบียนข้อกฎหมายรัดรึงเต็มไปหมด ไอ้โน่นก็ทำไม่ได้ ไอ้นี้ก็ติดระเบียบ..กฎกติกาเคร่งครัดบางข้อก็ดี แต่บ้างข้อก็เป็นตุ้มถ่วงที่อึดอัดใจ เป็นข้อจำกัดในการที่จะทำงานเชื่อมโยงกับภายนอกองค์กร เพราะไปไหนก็จะแบกเจ้าระเบียบใส่บ่าเดินเทิ่งๆไปด้วย  

ครูบา  ระบบราชการเขามีโครงสร้างขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบค่อนข้างรัดกุม ทำให้เวลาจะปรับจะแก้จะทำอะไรแต่ละทีต้องใช้เวลา ของใหญ่จะเคลื่อนไหวลำบาก ในการทำงานร่วมกัน เราอย่าไปแตะระบบ แต่ควรจะทำอิงไปกับระบบ จะมีความเป็นไปได้สูง  

       

    นี่คือที่มาของแนวทางประกอบการทางสังคมที่มหาชีวาลัยอีสานยึดปฏิบัติ ในภายหลังผมมาสรุปว่า สิ่งที่เราไปเผชิญนั้นคือวัฒนธรรมการขององค์กร ในทางปฏิบัติข้าราชการที่เก่งๆเขาจะไม่ยึดระเบียบจนตกม้าตาย หลายท่านพลิ้วได้เก่ง แต่ก็แหล่ตาดูว่าไม่ได้ทำให้ระบบเสียหาย ยังอธิบายได้ว่ายังอยู่ในกติกาไม่ได้ล้ำเส้นยาแดง ในระยะหลังรัฐบาลเปิดไฟเขียวให้ราชการอบรมวิธีบริหารงานภายใต้กระบวนการที่ว่าการทำงานเชิงรุก การกระจายอำนาจ วิธีทำงานแบบCEO.” แต่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสำนักจะมีภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร? ยกตัวอย่างเช่น ชาวสาธารณสุข เป็นตัวอย่างในการทำงานเชิงรุก มีการประชุมปรับระบบภายใต้ระเบียบเก่า เรียนรู้วิธีที่จะใช้KM.เป็นเครื่องมือในการบริหารองค์กรและตัวบุคคล ทำให้ระบบการทำงานคลายความตึงตัวได้อย่างมาก เรื่องนี้สำคัญแม้แต่สังคมนิยมจ๋าอย่างประเทศจีน ท่านเติ้ง เสี่ยวผิง ยังมีนโยบายว่า แมวไม่ว่าจะมีสีอะไร ขอให้จับหนูได้เป็นพอ

ถาม: น่าสนใจคะ มีหลักการทำงานเชิงรุกอย่างไรคะ

ตอบ: การทำงานเชิงรุก ลำดับแรกต้องลุกจากเก้าอี้เสียก่อน รุกด้วยรอยยิ้ม รุกด้วยการแช็คแฮนด์กัน สวัสดีกัน ทักทายจ๊ะจ๋าข้ามโต๊ะ ข้ามห้อง ข้ามหน่วยงาน ข้ามกระทรวง เรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงกับโลกภายนอกไม่มีเต่าตัวไหนเดินโดยไม่เอาหัวออกจากกระดองหรอกนะจ๊ะ

หมายเลขบันทึก: 73010เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 06:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมว่าระบบ KM ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีที่สุดครับ

เราน่าจะมาถูกทางแล้วครับ

อย่าเป็นแบบ มาแต่ของเขา ของเราไม่มาอีกนะครับ

สวัสดีครับพ่อครู

มาอ่านเพราะว่าพี่สุและท่านอาจารย์แสวงแนะนำครับ

มาทำความเข้าใจเพิ่มเติมครับ

ได้ความกระจ่างมากเลยทีเดียวครับ

มีคนท่านหนึ่งที่ทำงานอิงระบบมาตลอดที่อยากแนะนำครับ  ท่านจะมาเป็น Big boss คนใหม่ที่รพผมครับ

http://gotoknow.org/profile/somkob1

สวัสดีค่ะ มาศึกษาวิธีการ เอ แล้วทำไมกระทรวงศึกษาไม่คิดทำบ้าง หรือทำแล้ว คนมหาชัยไม่รู มัวขายปลาเค็มอยู่คะ พ่อครู

ตามมาศึกษาครับพ่อครูบา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท