จุมเรียบซัว(สวัสดี)กัมพูชา ตอน ๖


ถึงตรงนี้แล้ว... บรรยากาศมันให้เหลือเกิน ยุงก็เยอะ ทั้งมืด ทั้งเปลี่ยว... และแล้วคนขับรถและคณะเด็กรถก็ช่วยกันขนไม้เถื่อน ออกุน ออกุน เจริญ (ขอบคุณ ขอบคุณมาก)ที่ไม่ปล้น

                              

16.35 นาฬิกา... เราเช่ารถกระบะไปพนมเปญ ถนนในเมืองที่นั่นเป็นถนนลาดยางแบบเทยางมะตอยบางๆ

  • ถนน "อย่างบาง" แบบนี้เจอรถบรรทุกแล่นไปไม่นานก็เป็นหลุมเป็นบ่อ ขนาดถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือถนนคลุกยางกับก้อนกรวด (asphaltic concreter) แบบถนนไทยส่วนใหญ่ยังทนรถบรรทุกไม่ค่อยไหวเลย

ภาพที่ 1: รถขนส่ง ปอยเปต... คล้ายรถคันที่เราไปเลย โปรดสังเกตรถคันที่เราไป... กระจกรถแตกแล้ว ใช้สติกเกอร์ปะได้

 

พอออกนอกเมืองไปได้หน่อยเดียว... ถนนก็กลายเป็นถนนลูกรังชนิดเป็นคลื่นลอนบ้าง หลุมบ้าง ทำให้นึกถึงคำของท่านพระสุ เพียร... พระเขมรที่ไปเรียนที่วัดท่ามะโอ

  • "สบายแล้วโยม ถนนดี" ท่านว่าไว้อย่างนั้น บางทีท่านอาจจะมองโลกในแง่ดี หรือตั้งมาตรฐานถนนไว้ต่ำกว่าเราก็เป็นได้

ภาพที่ 2: ถนนออกจากเมืองปอยเปต

  • รถกระบะที่นั่นต้องแวะไปเสียภาษีใช้ถนนประมาณ 150 บาท แถวนั้นมีป้ายโฆษณาเบียร์ราชสีห์ด้วย อาจารย์สาเรนบอกว่า คำนี้อ่านออกเสียงเป็น "ราช-ชะ-ไส"

ภาพที่ 3: เบียร์ราชสีห์ (Tiger) หรือ "ราช-ชะ-ไส"

รถเหมา(จากปอยเปตไปถึงพนมเปญ)ที่นั่นไม่เหมือนเมืองไทย เขาจะแวะรับส่งคนอื่นไปตลอดทาง ทำให้การเดินทางช้ามาก ผู้โดยสารข้างทางท่านหนึ่งขนโต๊ะ เก้าอี้ไม้สักขึ้นรถไปด้วย

ภาพที่ 4: รถขนส่งออกจากปอยเปต

[คลิกที่นี่เพื่อชมภาพใหญ่... [          Click          ]]

ภาพที่ 5: มองรถขนส่งเข้าไปใกล้ๆ

(คลิกที่นี่เพื่อชมภาพใหญ่... [          Click          ]]

  • 17.35 นาฬิกา... รถไปถึงพระตระบอง (คนเขมรออกเสียงคล้าย "บัด-ดำ-บอง") คนขับรถคนคนเดิมขายทอดตลาดผู้โดยสารไปเรื่อยๆ แล้วแต่จะมีรถไหนรับขนต่อ

คนขับรถติดต่อรถกระบะเหมาอีกคันหนึ่ง เพื่อส่งคณะของเราต่อไปพนมเปญ รถคันนี้เป็นกระบะมีที่นั่งแบบแค็บคล้ายเมืองไทย

  • รถคันนี้ต่างจากคันแรกตรงที่คนขับเป็นวัยรุ่น ใจร้อน ขับรถเร็ว และรถไม่ติดแอร์...

ภาพที่ 6: ป้ายจอดรถข้างทาง

ภาพที่ 7: ย้ายรถกันหน่อย

ภาพที่ 8: คนขับ (ภาษาเขมร = เนี้ยก-บะเฮิ้ก-ลาน) กับอาจารย์สาเรน

ภาพที่ 9: เตรียมออกรถ

ภาพที่ 10: เข้าเมืองพระตระบอง โปรดสังเกตเทวรูปกลางวงเวียนแบบพราหมณ์(ฮินดู)

ภาพที่ 11: แม่ค้า พ่อค้าขายแว่นตาที่สถานีขนส่งพระตระบอง

ภาพที่ 12: รถขนส่งอีกคันที่พระตระบอง

ภาพที่ 13: มีขนมปังฝรั่งเศสมาขาย (ภาษาเขมร = "นม-ปัง") โปรดสังเกตเฟอร์นิเจอร์ไม้บนรถ

18.35 นาฬิกา... รถออกจากพระตระบอง คนขับรถแวะเติมน้ำมันที่ปั๊มพ์ข้างทาง น้ำมันดีเซลที่นั่นตกลิตรละ 30 บาท
  • ผู้เขียนนั่งที่กระบะท้ายรถ... อาจารย์สาเรนบอกว่า มีผู้โดยสารท่านหนึ่งพูดไทยได้ ท่านเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยบัดดำบอง(พระตระบอง)

ชะตาชีวิตของท่านผูกพันกับเมืองไทยมากเป็นพิเศษ... เริ่มจากเรียนต่อเศรษฐศาสตร์ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • ผู้เขียนเรียนท่านว่า คนที่เรียนเศรษฐศาสตร์ได้คงจะเก่งมาก เพราะผู้เขียนเรียนปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชไม่จบ (อีกแล้ว)

ท่านแต่งงานกับคนอรัญประเทศ ลูกสาวอยู่เมืองไทย เลยต้องเข้าๆ ออกๆ เมืองไทยบ่อยหน่อย

  • 21.00 นาฬิกา (3 ทุ่ม)... คนขับแวะบ้านหลังหนึ่งข้างทาง ขนไม้ขึ้นรถอีกจนรถขับไปไม่ค่อยไหว เลยสตาร์ทติดบ้างไม่ติดบ้าง มีลูกน้อง 2 คนคอยซ่อมรถให้ เห็นเปิดกระโปรงรถ ไขเครื่องอะไร 2-3 ทีก็วิ่งได้แล้ว ดูจะซ่อมได้เร็วมากทีเดียว

ภาพที่ 14: เด็กรถซ่อมรถได้เก่งมาก

  • 22.20 นาฬิกา (4 ทุ่ม 20 นาที)... คนขับรถจอดข้างทาง ตะโกนเรียกคนขายข้าวให้ตื่นมาขายข้าว คนขับและผู้โดยสารบางท่านลงไปกินข้าว กับข้าวเป็นผักกาดดองต้มกับหมู กินกับข้าวสวย

หลังกินข้าว... รถสตาร์ทไม่ติด ผู้โดยสารและเด็กรถเลยต้องช่วยกันเข็นรถ ออกแรงนิดหน่อย นัยว่า ผู้โดยสารจะได้สัมผัสบรรยากาศให้เต็มที่ (ใช้ให้คุ้ม)
  • คนขับรถวัยรุ่นเปิดเพลงแบบกันตรึมเสียงดังลั่น เสียงเพลงเป็นภาษาเขมรสลับกับภาษาไทยแบบอีสานใต้ เข้าใจว่า น่าจะเป็นเทปจากเมืองไทย

ท่านสามเณรบอกให้ปิด คนขับดูจะไม่ค่อยพอใจ เลยสูบบุหรี่มวนต่อมวน

  • เที่ยงคืนผ่านไป... ผู้เขียนลองแหงนดูฟ้า ยามนี้ฟ้าเขมรช่างใสเหลือเกิน มองจากรถขึ้นไปเห็นดาว และทางช้างเผือก มองไปที่ถนน... ยังคงเห็นรถบรรทุกแล่นไปแล่นมา เฉลี่ยประมาณ 8-10 นาทีต่อคัน

หลังเที่ยงคืน... คนขับรถแวะจอดข้างทาง ไปบ้านหลังหนึ่ง ตอนแรกบ้านหลังนั้นเปิดไฟดูโทรทัศน์คล้ายชาวเขมรทั่วไป

  • พอรถเข้าไปเทียบสักพัก... ไฟก็ดับพรึ่บ...

บรรยากาศมันให้เหลือเกิน ยุงก็เยอะ ทั้งมืด ทั้งเปลี่ยว... และแล้วคนขับรถและคณะเด็กรถก็ช่วยกันขนไม้เถื่อน... ออกุน ออกุน เจริญ (ขอบคุณ ขอบคุณมาก)ที่ไม่ปล้น

ภาพที่ 15: ช่วยกันขนไม้เถื่อน เปิดไฟสลัวๆ ไว้ดวงเดียว ได้บรรยากาศชวนปล้น

  • ช่วงที่คนขับรถขนไม้เถื่อนใส่รถจนเพียบนี้... ผู้โดยสารต้องรอ เพราะไม่มีรถอื่นให้เลือก

ภาพที่ 16: โชเฟอร์ (ภาษาเขมร = เนี้ยก-บะ-เฮิ้ก-ลาน) ตรวจสอบอย่างดี ให้ไม้ดี (โต๊ะ เก้าอี้) อยู่ข้างบน ไม้เถื่อนสอดไว้ข้างใต้ไม้ดีอีกที

ผู้โดยสารที่ขนเฟอร์นิเจอร์ไม้สักเป็นภรรยาตำรวจเสียด้วย อาจารย์สาเรนบอกว่า สามีท่านเป็นตำรวจเศรษฐกิจ(คงจะคล้ายกับศุลกากรอะไรทำนองนั้น) ท่านโทรศัพท์ไปบอกสามีเรียบร้อย

  • หลังขนไม้เถื่อนเสร็จ... โชเฟอร์วัยรุ่นก็บึ่งรถไปพนมเปญอย่างเร็ว ผู้เขียนคิดว่า คนเขมรคงจะอยู่แต่ในเมืองใหญ่

ทว่า... สังเกตดูกลับมีบ้านเรียงรายอยู่ 2 ฟากถนนแทบจะตลอดทาง ประมาณ 100-200 เมตรจะพบบ้านประมาณ 1 หลัง

  • อาจารย์สาเรนเห็นท่าไม่ดีเลยใช้โทรศัพท์ติดต่อท่านพระสา แอม ขอให้นำรถวัดมารับพวกเราก่อนถึงพนมเปญ...

    เชิญอ่านตอนต่อไป:

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่ออ่านตอนต่อไป... [          Click          ]
  • ถ้าต้องการอ่านตอนที่ (1) โปรดคลิกที่นี่ (บรรทัดถัดไป)
  • โปรดคลิก... [          Click          ]

        แหล่งที่มา:

    • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. จัดทำ > 12 มกราคม 2550 > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้โดยไม่เกี่ยวกับการค้าได้ครับ.

        เชิญอ่าน:

    • ขอแนะนำ "ศูนย์กัมพูชาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี" >>> [          Click          ] หรือที่นี่... http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_index.php
    • บันทึกย้อนหลังบน Gotoknow ย้อนหลังได้... โดยเลือกจากปฏิทินกิจกรรมด้านขวามือของบล็อก
    • บ้านสุขภาพ > http://gotoknow.org/blog/health2you
    • ดาวน์โหลดบทความ > www.lampangcancer.com > ขอขอบคุณ webmaster โรงพยาบาล > คุณณรงค์ ม่วงตานี.
หมายเลขบันทึก: 72335เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • สนุกมากครับ ได้เรียนรู้-ตื่นเต้นและได้ลุ้นไปด้วยว่าเมื่อไรคุณหมอวัลลภจะถึงจุดหมายเสียที
  • ขอบพระคุณมากครับ
อ่านเรื่องที่ คุณหมอ เขียนแล้ว  ได้รู้ว่า โชคดีที่เกดเป็นคนไทย   ครับ

ขอขอบคุณอาจารย์สิงห์ป่าสัก และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ชีวิตคนเราก็อย่างนี้... ขึ้นๆ ลงๆ คล้ายระดับน้ำทะเล
  • เรียนเชิญติดตามตอนต่อไปว่า จะไปถึงหรือไม่ อย่างไร

ขอขอบคุณครับ...

ขอขอบพระคุณอาจารย์เม็กดำ1 และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอแสดงความยินดีที่อาจารย์เกิดมาเป็นคนไทยครับ

คนไทยหลายๆ ท่านคงจะเป็นโรคคล้ายๆ กับผู้เขียน...

  • เวลาอยู่เมืองไทย... เรามักจะบ่น โน่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ดี
  • ทว่า... เวลาไปต่างบ้านต่างเมืองแล้ว... เรามักจะคิดถึงบ้านเรา เมืองไทยของเรา

ขอขอบพระคุณครับ...

  • ขอบคุณท่านอาจารย์หมอวัลลภที่กรุณานำเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาเล่าให้ได้รับรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านค่ะ
  • เห็นด้วยกับอาจารย์ที่ การนำเสนอเรื่องที่กดให้คนอื่น ชาติอื่นด้อยศักดิ์ศรีไม่ควรทำ เห็นละครในเมืองไทยทำแต่แบบนี้ทั้งนั้นเลยค่ะ
  • ดิฉันก็เคยลงเรียนเศรษฐศาสตร์ มสธ. และไม่จบเหมือนกันค่ะ
  • สักวันคงมีโอกาสไปเที่ยวกัมพูชาบ้างค่ะ
  • คนขับรถวัยรุ่นเปิดเพลงแบบกันตรึมเสียงดังลั่น เสียงเพลงเป็นภาษาเขมรสลับกับภาษาไทยแบบอีสานใต้ เข้าใจว่า น่าจะเป็นเทปจากเมืองไทย
  •       /// ถูกต้องครับ เพลงกันตรึมจากสุรินทร์เป็นที่นิยมมากในกัมพูชาและเวียดนามไต้ และก็ขแมร์ทั่วโลก ครับผม

  • 17.35 นาฬิกา... รถไปถึงพระตระบอง (คนเขมรออกเสียงคล้าย "บัด-ดำ-บอง") คนขับรถคนคนเดิมขายทอดตลาดผู้โดยสารไปเรื่อยๆ แล้วแต่จะมีรถไหนรับขนต่อ
  •    /// ขแมร ออกเสียง ว่า บัดด็อมบอง  แปลว่า ตะบองหาย ครับไม่ไช่แปลว่าพระตะบอง

     

    ขอขอบคุณอาจารย์ wanpen และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • การเรียนรู้ และให้ความเคารพเพื่อนบ้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว เขมร หรือมาเลเซีย... มีส่วนช่วยให้คนไทยใจกว้างขึ้น และค้าขายกับเพื่อนบ้านได้ดีขึ้น

    ละครไทย (TV)...

    • ส่วนใหญ่เป็นเรื่องอิจฉา ริษยา ว่าร้ายกัน
    • ที่แย่มากคือ มักจะดูถูกคนจน หรือเพื่อนบ้าน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสื่อมทรามลงไป
    • น่าจะเปลี่ยนเป็นเรื่องเชิงบวก เช่น แบบแดจังกึม หมอโฮกุน ฯลฯ แทนครับ

    มสธ. ...

    • ผมเรียนไม่จบมาหลายหลักสูตรครับ เช่น เศรษฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์(พืช) ฯลฯ
    • คนเราคงไม่เก่งไปทุกเรื่องกระมัง

    เชิญเที่ยวกัมพูชา...

    • ลองไปชมนครวัด นครธม... จะเห็นศิลปวัฒนธรรมที่อลังการมาก
    • ขณะเดียวกัน... ถ้าคิดถึงแรงงานทาส หรือเชลยที่แบกหินหนัก ถูกโบยตี ถูกฆ่าในระหว่างการใช้แรงงานอย่างนั้นคงจะได้สังเวชบ้างว่า ทุกข์หนอ ทุกข์หนอ
    • การไปเที่ยวเพื่อนบ้าน... ให้เงินไปถึงพี่ๆ น้องๆ ของเราดีกว่านำเงินไปทิ้งแถวๆ ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียครับ (ยกเว้นอย่าแวะบ่อนที่ปอยเปต)

    ขอขอบคุณครับ...

      ขอขอบคุณอาจารย์ / คุณ "ขแมร" และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

      • เพิ่งทราบเป็นครั้งแรกว่า กันตรึมดังไปถึงเวียดนามใต้... อาจเป็นเพราะมีชนกลุ่มน้อย "แขมร์" ในเวียดนามบริเวณปากแม่น้ำโขงก็เป็นได้

      เพลงอีสานมีลักษณะคล้ายเพลงโมซาร์ตที่กล่าวกันว่า เพิ่มสติปัญญา... เรื่องนี้ผม และพี่ชาย (รังสรรค์ พรเรืองวงศ์ - วิศวกร) คิดตรงกันเลย

      • ผมเชื่อว่า ต่อไปเพลงอีสาน (ซึ่งมีลีลาไพเราะ สุขุม และร่าเริง) จะได้รับความนิยมไปทั่วโลก
      • ดีใจมากที่ทราบว่า คนแขมร์ทั่วโลกก็ฟังกันตรึมจากอีสานใต้

      ขอขอบคุณที่กรุณาแนะนำ...

      • "พระตระบอง" เป็นคำภาคกลาง
      • "บัด-ด็อม (หรือ "ดำ")-บอง" แปลว่า ตะบองหาย... อย่างที่อาจารย์ว่า น่าจะถูกต้องกว่า
      • อ่านจากหนังสือนำเที่ยว (จำไม่ได้ว่าเล่มไหน) อาจารย์ท่านก็สรุปไว้แบบที่อาจารย์ว่าเลย

      ขอขอบพระคุณครับ...

      ที่รู้ว่า กันตรึมดังไปทั่วโลก เพราะคนขแมร ไปอยู่ต่างประเทศมาก และก็ชอบฟังกันตรึมด้วย  ทุกวันนี้ก็มีเพลงกันตรึมอยู่ในอินเตอร์เนตให้ได้โหลตกัน  และที่สำคัญ www.youtube.com   มีเพลงกันตรึมมากมาย ที่คนกัมพูชาอัพโหลดขึ้น 

       

      ที่เวียดนาม มีชาวขแมรอาศัยอยู่มากมาย (ขแมร์กรอม) ไม่น่าจะเรียกว่าชนกลุ่มน้อยเลยครับ   และก็กำลังขอสิทธิหลายอย่างอยู่

       

       อย่างนี้คนขแมรอีสานไต้ก็โดนเรียกว่าชนกลุ่มน้อยด้วยสิครับ มีจำนวนประชากร ไม่ถึง 2 ล้าน (แต่ก็เกือบๆ)

      ขอขอบคุณอาจารย์ "แขมร" และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

      • ขอขอบพระคุณที่กรุณาแนะนำ "Youtube" ให้ดาวน์โหลด "กันตรึม" ซึ่งเป็นกลุ่มเพลงที่ไพเราะมาก(ในทัศนะของผม)

      เพลง...

      • ฝรั่งเขาวิจัยพบว่า เพลงที่มีท่วงทำนองซ้ำๆ กัน เช่น เพลงของโมซาร์ต ฯลฯ มีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพ
      • เพลงไทยที่มีท่วงทำนองซ้ำๆ กันแบบ "ลำนำ" มีมากที่สุดทางอีสาน (รวมทั้งกันตรึม) ด้วย... นี่อาจทำให้คนอีสานจำนวนมาก (+ คนเขมร) มีสติปัญญาดี
      • เรื่องนี้น่าจะมีคนทำวิจัยมากครับ...

      คนกลุ่มน้อย...

      • ศัพท์บัญญัติ "คนกลุ่มน้อย (minority)" ให้ถือกลุ่มชน (race) ที่มีเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมต่างไปจากคนหมู่มาก
      • ตามนิยามสากล "แขมร์กรอม" เป็นคนกลุ่มน้อย... นิยามนี้ไม่ได้บอกว่า ดีหรือไม่ดี เป็นหลักสากลในการศึกษาทางสังคมศาสตร์เท่านั้นเอง
      • ตัวอย่าง... เวียดนามมี "คนไทยดำ" เป็นคนกลุ่มน้อยที่ได้รับสิทธิพิเศษให้ปกครองตนเอง เนื่องจากเป็น "ทัพหน้า" ในสงครามเดียนเบียนฟู

      คนไทย...

      • การนับว่า "เป็นคนไทย" หรือไม่... เราไม่ได้นับที่เชื้อชาติ หรือภาษาครับ...
      • พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงรวมชาติไทยโดยทรงประกาศรับพระพุทธศาสนา และปกครองแบบ "พ่อกับลูก"...

      หลอมรวม...

      • พ่อขุนรามฯ ทรงเพิ่มทศพิธราชธรรม ปกครองโดยธรรมเข้ามา ทำให้เกิด "ความร่มเย็น" หรือเมตตาคล้ายๆ "น้ำเย็น"... ทำให้คนชาติพันธุ์ต่างๆ กันมาหลอมรวมกัน (melting / assimilation) และเกิดความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (racial diversity)
      • คนไทยไม่ได้เป็นชาติที่มีความบริสุทธิ์ทางเผ่าพันธุ์สูง เช่น ญี่ปุ่น ยิว ฯลฯ ซึ่งเสี่ยงต่อการ "หลงชาติ" และก่อสงครามสูง

      หลากหลาย...

      • การที่คนไทยมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มีส่วนทำให้คนไทย "เก่ง" หลายด้าน
      • ผมขอยกตัวอย่าง เช่น เอเชี่ยนเกมส์ที่โดฮา ฯลฯ... คนไทยเราประสบความสำเร็จสูงมากทีเดียว

      แขมร์...

      • คนแขมร์อีสานใต้เป็น "คนไทย"... เพราะมีสิทธิเสรีภาพ และโอกาสในด้านต่างๆ เท่าๆ กับคนไทยทั่วไป
      • ความต่างอยู่ที่ว่า คนแขมร์อีสานใต้พูดได้หลายภาษา และอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมหลากหลายกว่าคนไทยส่วนกลาง

      หลากหลาย...

      • คนที่พูดได้หลายภาษา เช่น เขมร+ไทย, จีน+ไทย, ฯลฯ มีแนวโน้มจะ "ฉลาด" และ "ช่างคิด" มากกว่าคนที่พูดได้ภาษาเดียว... ถ้าโอกาสในด้านอื่นๆ ของชีวิตเท่ากัน
      • เปรียบเหมือน "ป่า (มีความหลากหลายของพืชพันธุ์ และสัตว์)" ย่อมมีความแข็งแกร่งมากกว่า "ไร่(ที่มีต้นไม้ชนิดเดียว)"
      • คนที่มีประสบการณ์ทางวัฒนธรรมหลากหลายมีแนวโน้มจะมี "ความคิดสร้างสรรค์" สูงกว่าคนที่อยู่ภายใต้วัฒนธรรมเดียว หรืออยู่ภายใต้ "กะลาใบเดียว" นานๆ

      ตอนไปพนมเปญ...

      • ตอนไปพนมเปญ... ผมได้มีโอกาสคุยกับอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยบัดดัมบอง (พระตระบอง)
      • ท่านแต่งงานกับคนอรัญประเทศ + บ้านอยู่อรัญประเทศ...
      • ผมเรียนท่านว่า ถ้าลูกสาวของท่านพูดได้ทั้งไทย และเขมรจะช่วยให้โอกาสในชีวิตเพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจในอนาคต

      ขอขอบคุณครับ...

       

      พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
      ClassStart
      ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
      ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
      ClassStart Books
      โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท