เปลี่ยนพ.ศ.ใหม่ เปลี่ยนใจ...


เข้าใจเขา (เครื่อง) ย่อมได้แก่เรา เปลี่ยนพ.ศ.ใหม่ เปลี่ยนใจ ไม่ปอดแหก เอ๊ย ! กลัว และไม่เกรงในจุดการตรวจวิเคราะห์ E-lytes ต่อไปแล้ว

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนทำงานในจุดตรวจวิเคราะห์ E-lytes ซึ่งมีงานมาโดยตลอด ยังดีที่มีแค่ปัญหาจุกจิก แต่ไม่กวนใจ รับมือได้สบาย (ส่วนใหญ่การตรวจอิเล็กโตรไลท์อย่าง Na, K, Cl, และ CO2 แพทย์ก็มักจะขอผลด่วนหรือขอผลก่อนโดยเฉพาะคนไข้หนักซะด้วย) และเย็นวันศุกร์ผู้เขียนก็ได้ Maintenance เครื่องเป็นครั้งแรก โชคดีที่มีกุนซือใกล้ตัวเรื่องที่คิดว่ายากสสส์ ก็ไม่ยากอย่างที่คิด  

จำได้ว่าตอนเข้ามาทำงานใหม่  ๆ จุดการตรวจวิเคราะห์ E-lytesจะมีแต่พี่ ๆ หรือพนักงานวิทยาศาตร์การแพทย์เท่านั้น และเครื่องก็มีปัญหาบ่อยมากถึงมากสุด มีเครื่อง Nova สำหรับตรวจ Electrolytes 2 เครื่อง ช่วงหลังเขาก็เลิกผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีการเกอะไหล่กัน สุดท้ายก็มีเหลือใช้อยู่เพียงเครื่องเดียว และเลิกใช้ไปในที่สุด ตอนนั้นเห็นพี่ ๆ เขาบางครั้งถึงกับต้องบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยคุ้มครองเครื่องให้อยู่รอดปลอดภัยตลอดสัปดาห์ บางครั้งถึงกับซื้อพวงมาลัยมาแขวนกันเลยทีเดียว ต่อมาก็มีเครื่อง Beckman CX-3 delta มาแทน

ช่วงหลังมีการจัดระบบงานกันใหม่โดยที่พวกเรานักเทคนิคการแพทย์ไป turn งานกับพนักงานวิทย์ฯ ครบทุกจุด แต่ก็มีแค่นักเทคนิคการแพทย์เป็นบางคนน๊ะที่จะได้เวียนมาตรงจุดนี้ ผู้เขียนนับว่าโชคดี แต่ก็อาจจะพลาดในจุดอื่นเหมือนกัน อย่างจุดการตรวจ Urine/CSF Protein ด้วย Hitachi 717 ซึ่งพี่โอ๋กล่าวถึง

เพราะฉะนั้นความชำนิชำนาญ ของผู้เขียนจึงไม่ได้เศษและเสี้ยวของพี่ ๆ เขาเลย คือใช้เป็นอย่างเดียว ถ้าเสียก็ถอยไปตั้งหลักไกล ๆ  อีกอย่างพอมีปัญหาทีก็ต้องแก้หรือรื้อเครื่องกันบางจุด ตามปรกติแค่รื้ออย่างเดียวผู้เขียนก็ถนัดน๊ะ แต่อย่าให้ประกอบกลับเชียว อาจจะไม่ได้เหมือนเดิม  

สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนจึงพยายามศึกษาและทำความเข้าใจในหลักการของเครื่องและคอยหมั่นสังเกตุความผิดปรกติโดยทันที ก็ช่วยให้ผ่อนหนักเป็นเบา คือสามารถแก้ไขได้โดยง่าย ซึ่งปัญหาก็มักเป็นปัญหาซ้ำ  ๆ ที่มักเกิดแล้วก็เกิดอีกได้ ถ้าเราไม่สังเกตุ อย่างปัญหาเลือด Clotted แม้จะแค่ partial ก็มีผลต่อเครื่องอย่างมาก เพราะอาจจะไปอุดตัน แต่ถ้าเราคอยระแวดระวังเป็นพิเศษ และรู้จังหวะของเครื่อง ปัญหานี้รับมือสบาย อันนี้นับว่าเป็น Tacit ของพวกพี่ ๆ เขารึเปล่าผู้เขียนไม่แน่ใจ แต่ได้รับการถ่ายทอดมาใช้ได้ผลดีทีเดียวคือ คน ๆ กวน ๆ จนวินาทีสุดท้ายก่อนที่ serum จะถูกดูดเข้าเครื่องไป (วัดใจ + ใช้ความเร็ว = ความถนัดนักแล) ช่วงไฟตก ก็มีผลกระทบได้เหมือนกัน อย่าให้มีฟองอากาศในสายต่าง ๆ นั่นแสดงว่าอาจมีสิ่งอุดตัน อาจจะเป็นเศษของสาย หรือน้ำยา หมั่นตรวจสอบน้ำยาให้พออยู่เสมอ เพราะส่วนใหญ่ตกม้าตายด้วยปัญหาแค่นี้เอง ผู้เขียนก็โดนมาแล้ว   

เข้าใจเขา (เครื่อง) ย่อมได้แก่เรา เปลี่ยนพ.ศ.ใหม่ เปลี่ยนใจ ไม่ปอดแหก เอ๊ย ! กลัว และไม่เกรงในจุดการตรวจวิเคราะห์ E-lytes ต่อไปแล้ว

หมายเลขบันทึก: 71163เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2007 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท