ระบบดูแลภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพอย่างครบวงจร


 

วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานระบบบริการสุขภาพ   ด้านบริการสุขภาพฉุกเฉินอย่างครบวงจร   ที่ผมเล่าไว้เป็นระยะๆ ที่ (๑)   

ขอย้ำว่า นี่คือ แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบ EMS (Emergency Medical Service) ครบวงจร    และผมกำลังจะจับประเด็น ตีความคำว่า “ครบวงจร”   โดยขอเน้น ๕ ยุทธศาสตร์ ของโครงการ ตามที่ระบุไว้ใน (๒)    และขอตีความขยายกว้างกว่าแผนผังความคิดตามใน (๓)    โดยขอเสนอให้ขยายจาก “บริการการแพทย์” เป็น “บริการสุขภาพ” ฉุกเฉิน     เพราะการมีมุมมองที่กว้างและเชื่อมโยง    จะช่วยให้ดำเนินการได้ครบถ้วน หรือ “ครบวงจร” ยิ่งขึ้น   เป็นการพัฒนา “ระบบ” ที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น

ผมขอมองคุณค่า ของการประชุมวันนี้    ว่าเน้นผลงานและแผนงาน ตามยุทธศาสตร์ที่ ๑ ตามใน (๒)  คือเรื่องการพัฒนาระบบ ไอซีที    เพื่อยกระดับระบบบริการสุขภาพฉุกเฉินอย่างครบวงจร ให้เป็นระบบไอซีที ที่เน้นให้ผู้ป่วยเป็นเจ้าของ (patient-centric) และเป็นผู้ใช้ประโยชน์    ไม่ใช่แค่หมอหรือผู้ให้บริการเป็นเจ้าของ (physician-centric)    และเป็นระบบ ไอซีที ที่จะเชื่อมโยงข้อมูลที่เกิดขึ้น ณ ทุกจุดที่ผู้ป่วยได้รับบริการ รวมทั้งที่บ้าน   ที่มีความซับซ้อนยิ่ง  ตามแผนผังใน (๓)   

ฟังแล้วเห็นพลังสร้างสรรค์ และพลังทำงานต่อเนื่องและร่วมมือรอบทิศ เพื่อพัฒนา “ระบบสุขภาพหนึ่งเดียว” ของ นพ. วรวุฒิ โฆวัชรกุล    ที่แม้จะทำหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสันทราย   แต่จินตนาการของท่านกว้างไกลและมองที่ตัวผู้ป่วยที่ต้องมารับบริการฉุกเฉินทางการแพทย์เป็นหลัก    และมองว่า ความต้องการของผู้เจ็บป่วยที่มารับบริการฉุกเฉินนั้น    ไม่ได้จบอยู่ที่ห้องฉุกเฉิน และโรงพยาบาลเท่านั้น   แต่ยังต้องมีการดูแลต่อที่สถานบริการใกล้บ้าน    รวมทั้งที่บ้านหรือในครอบครัวเอง    โดยที่ระบบบริการสุขภาพของไทย ต้องเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างครบวงจร   เน้นที่ตัวผู้ป่วยเป็นหลัก   ไม่ใช่เน้นที่ฝ่ายให้บริการเป็นหลัก    

และเห็นพลังของระบบข้อมูล และพลังของเทคโนโลยี ไอซีที   ที่ต้องใช้พลังนี้ผสานกับพลังสังคม พลังของมุมมองเชิงสังคม    มองที่ “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์” เป็นหลัก   ไม่ใช่มองที่หน้าที่ของตน หรือที่ระบบบริการส่วนที่ตนรับผิดชอบ เป็นหลัก   

ผมชื่นชมมาก ที่ประธานแผนงาน (PC – Program Chair) ของโครงการ คือ ศ. ดร. นพ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ยึดหลักการว่า แผนงานนี้ มุ่งทำงานพัฒนาและวิจัยแบบ ทำจากผู้ปฏิบัติงานส่วนล่าง หรือส่วนหน้างาน เพื่อให้ข้อมูลแก่ระบบใหญ่หรือภาพรวม   

กล่าวใหม่ว่า แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบ EMS (Emergency Medical Service) ครบวงจร   มีคุณค่าต่อบ้านเมืองของเรา     ในลักษณะที่เป็นตัวอย่าง หรือต้นแบบ ของงานพัฒนาและวิจัยระบบ ที่ดำเนินการที่ส่วนปลายหรือจุดปฏิบัติการของระบบ    ใช้การสร้างสรรค์ (creativity) ของผู้ปฏิบัติงาน   ให้ก่อผลต่อ transformation ของระบบ   ซึ่งในที่นี้หมายถึงระบบบริการสุขภาพฉุกเฉิน   

ที่ควรมีการถอดบทเรียน  เพื่อหนุนการบริหารบ้านเมืองแบบกระจายอำนาจ    ที่รวมทั้งกระจายโอกาส    โดยเฉพาะโอกาสในการทำงานสร้างสรรค์หรือเปลี่ยนแปลง (transform) ระบบงาน   ที่ผู้ทำงานในระดับปฏิบัติการก็มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ได้   

ผมเชื่อในพลังของการขับเคลื่อน transformation   โดยใช้การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (experiential learning)    ณ ทุกจุดของการปฏิบัติงาน   

ครบวงจร ในที่นี้ หมายถึง ครบวงจร ของประสบการณ์ของผู้ป่วย (patient experience)    ไม่ใช่แค่ครบวงจรของฝ่ายผู้ให้บริการ   

เอาใหม่   ขอเสนอว่า เป็นการพัฒนาระบบที่ ครบวงจรสองวง    คือวงของผู้รับบริการ  กับวงของผู้ให้บริการ          

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ธ.ค. ๖๕  ปรับปรุงเพิ่มเติม ๓๑ ม.ค. ๖๖ 

 

       

หมายเลขบันทึก: 711486เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2023 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2023 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Happy to see more effort in data sciences and applications –because data should be foundational for decisions and actions.

Data collection is always a sour point - costing in person-time and money - not showing greater benefits other than record and procedure. There are needs and benefits in automated data collection techniques - that capture audio, video, ‘presence’ data by sensors (not human recorders). It’s a big data realm and we’d better get familiar with it.

Imagine online medical consultation leading to a special appointment at a hospital in electronic form (eg, an encoded SMS text) that allows scheduling of the specialists(s), room(s), the equipment and other staff at hospital; reminders and pre-clinic instructions to the patient; tracking patient’s progress on schedule from entry at the hospital’s reception desk through medical procedures to exit. Automatically!

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท