BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

๖. ก่อนปฏิบัตินิยม : เริ่มต้นปรัชญาร่วมสมัย


ปฏิบัตินิยม

คำว่า ร่วมสมัย และ ปัจจุบัน เป็นคำที่ใช้แทนกันได้...โดย ร่วมสมัย บ่งบอกว่า ยังมีผู้เกิดทันหรือทันเห็นผู้นั้น ปรัชญาร่วมสมัย จึงอาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า แนวคิดของใครบางคนซึ่งขณะนี้ยังมีคนที่เกิดทันเค้าอยู่ เช่น ผู้เขียนเกิดไม่ทันดิวอี้  แต่ครูบางคนเล่าว่า ท่านเคยไปเยี่ยมดิวอี้ที่บ้านพักคนชราในอเมริกา เป็นต้น ดิวอี้จึงจัดเป็นนักปรัชญาร่วมสมัยกับผู้เขียนได้ ..ทำนองนี้

ส่วน ปรัชญาปัจจุบัน กำหนดเอาช่วงเวลาเป็นเกณฑ์ โดยนับถอยหลังไปไม่เกินหรือประมาณร้อยปี ...ซึ่งถ้าถือเอาตามนี้ ปี ๒๕๕๐ ถอยหลังไปร้อยปีก็จะเป็น ปี ๒๔๔๐ หรือก่อนกว่านี้อีกเล็กน้อย ...ประมาณนี้

การกำหนดเป็นอย่างหนึ่ง... แต่การศึกษาจริงๆ เป็นอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากเวลาผ่านไปเรื่อยๆ แต่ประวัติศาสตร์เหมือนเดิม ..นั่นคือ ปรัชญาปัจจุบันหรือปรัชญาร่วมสมัยมักจะถือว่า แนวคิดของคานต์เป็นจุดสิ้นสุดของปรัชญายุคใหม่ หลังจากนั้นก็เป็นปรัชญาร่วมสมัย (คานต์ถึงแก่กรรมปี๒๓๔๘ ถ้านับถึงปัจจุบันก็สองร้อยกว่าปีแล้ว) ..แต่ก็ยังมีนักปรัชญาร่วมสมัยกับคานต์อีกหลายคนซึ่งยังคงถือว่าเป็นยุคใหม่เหมือนกัน เช่น เฮเกล โชเป็นเฮาเออร์ เป็นต้น ...

สรุปได้ว่า แนวคิดที่เกิดหลังจากแนวคิดของคานต์ หรือเกิดขึ้นเพราะอิทธิพลของคานต์จัดเป็นปรัชญาร่วมสมัยหรือปรัชญาปัจจุบัน ซึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ปรัชญาปฎิฐานนิยม (Positivism) ซึ่งยอมรับความรู้ที่สามารถพิสูจน์ได้ ...นั่นคือ ปรัชญาปฎิฐานนิยมเป็นการยึดถือความรู้แบบวิทยาศาสตร์นั่นเอง

แต่ประเด็นเหล่านี้ ไม่เกี่ยวกับแนวทางที่จะโยงไปถึงปฏิบัตินิยม จึงยุติไว้เพียงแค่นี้ก่อน

คำสำคัญ (Tags): #ปฏิบัตินิยม
หมายเลขบันทึก: 70941เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 02:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท