คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตจุฬา ฯ


ด้วยข้อจำกัดของการเขียนเป็นตัวหนังสือ ทำให้ได้คุณลักษณะที่แยกส่วน ในชีวิตจริง คุณลักษณะเหล่านี้มันซ้อนทับกัน เป็นส่วนย่อยซึ่งกันและกันอย่างซับซ้อน และบางครั้งก็ซ่อนเงื่อน

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตจุฬา ฯ

1. ด้านสติปัญญาและวิชาการ ประกอบด้วย
      1.1 ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เรียน
      1.2 ความคิดสร้างสรรค์
      1.3 ความใฝ่รู้
      1.4 การมีวิสัยทัศน์
      1.5 ความสามารถในการสังเคราะห์และวิเคราะห์


2. ด้านทักษะและวิชาชีพ ประกอบด้วย
       2.1 การใช้ภาษาไทย
       2.2 การใช้ภาษาอังกฤษ
       2.3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
       2.4 การมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม
       2.5 การบริหารจัดการ
       2.6 การทำงานในสังคมต่างวัฒนธรรม


3 ด้านคุณธรรม ประกอบด้วย

       3.1 ซื่อสัตย์สุจริต
       3.2 มีวินัย เคารพกฎ ระเบียบและกติกาสังคม
       3.3 มีจรรยาบรรณวิชาชีพ
       3.4 มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต


4. ด้านสังคม ประกอบด้วย
       4.1 รับผิดชอบตนเองและตระหนักในบทบาทของตนเองต่อสังคม
       4.2 เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

       ผมมองว่าที่เขียนมานี้ดีมาก     แต่ด้วยข้อจำกัดของการเขียนเป็นตัวหนังสือ     ทำให้ได้คุณลักษณะที่แยกส่วน     ในชีวิตจริง คุณลักษณะเหล่านี้มันซ้อนทับกัน เป็นส่วนย่อยซึ่งกันและกันอย่างซับซ้อน และบางครั้งก็ซ่อนเงื่อน     คืออ้างว่าเป็นคุณลักษณะ แต่จริงๆ แล้วเป็นการกระทำด้วยโทษลักษณะ

วิจารณ์ พานิช

๒ มค. ๕๐

 

หมายเลขบันทึก: 70535เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2007 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์  ผมเคยมีประสบการณ์ไปรู้จักบัณฑิตที่เขาจบ และมาร่วมงานในนามชมรมบัณฑิต เป็นความร่วมมือระดับจังหวัด  ร่วมงานกันไปได้ระยะหนึ่ง  เขากลับเปลี่ยนชื่อชมรมฯ ไปน่าเสียดาย  ความตั้งใจของจุฬาฯ หรือมหาวิทยาลัยฯ อื่น เชื่อว่าตั้งใจดี  เขียนให้จับต้องได้  หากแต่ชีวิตจริงมักมีตัวแปรอยู่ไม่น้อย KM แห่งชาติที่อาจารย์ดูแลส่งเสริมและสนับสนุนอยู่   ทำให้สิ่งที่พึงประสงค์ของจุฬาฯ หรือองค์การทางการศึกษาอื่น   ไม่เป็นนามธรรม  ทำให้เห็นชีวิตจริง  ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักกว่าที่ผ่านมาครับ

สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

  ไม่ทราบว่าเป็นความบังเอิญ หรือเปล่านะครับ

 นิสิตที่มาทำวิทยานิพนธ์ จากจุฬาทุกคนทุ่มเท ทั้งๆที่เป็นคนภาคอื่น ไม่คุ้นเคยสภาพแวดล้อม ประเพณี ภาษา อาหารการกิน แม้แต่การเดินทาง ขับรถไม่เป็น ไม่เคยขี่มอร์เตอร์ไซด์ เขาก็ทุ่มเทเรียนเพราะอยากรู้จริงๆ

 ทำการบ้าน.. ซักถามทบทวน พร้อมแก้ไข้ ตั้งใจทำให้ดี บางคนจะสรุปรายงานขั้นสุดท้ายอยู่แล้ว สามารถที่จะจบได้อย่างแน่นอน แต่ มีประเด็นใหม่ๆเข้ามา เขาก็พร้อมที่ขยายการเวลาสรุปงานออกไป แถมยังบอกให้เราชื่นใจอีกว่า..ไม่ยอมผ่านหรอก ไหนๆได้ทำแล้วก็จะเรียนอย่างถึงที่สุด เรื่องเร็วช้าไม่สำคัญ

  ต่างกับนักศึกษามหาวิทยาลัยในภูมิภาค มีความพร้อมทุกอย่าง ได้เปรียบทุกอย่าง วิธีการศึกษา/ทำการบ้านแบบเปาะแปะ ต่างกันมาก อาจารย์ก็มีบทบาทต่างกัน

  ของจุฬาอาจารย์จะพานิสิตลงพื้นที่เองเป็นระยะๆ

แต่ของม.ภูมิภาค มีจดหมายฝากมาฉบับเดียว ตั้งแต่ต้นจนจบ ให้ใส่เกรดคะแนนให้เด็กด้วย อ.ไปเอ้อระเหยอยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ สงสารเด็กต่างจังหวัด

มันต่างกันจริงๆครับ ผมไม่รู้ว่ากลุ่มที่อยู่ต่างจังหวัดเอาเวลาไปทำอะไร

ทำไมถึงคิดและทำกับการศึกษาแบบดูแคลนการเรียนความรู้  

เป็นตัวชี้วัดที่ดีครับอาจารย์ ผมจะนำไปพิจารณากับตนเอง
น่าสนใจมากครับ ขอนำไปปรับใช้กับองค์กรที่ทำอยู่นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท