พิจารณายาเข้า-ออก


พิจารณายาเข้าออก

เพิ่งมีโอกาสเข้าพิจารณายาเข้า-ออก แนวคิดที่จะลดจำนวนรายการยาที่ปัจจุบันประมาณ 935 รายการ กรรมการให้ทีมนำทางคลีนิกพิจารณาก่อนว่าจะนำยาอะไรเข้า อาจเป็นเพราะแพทย์ต่างคนต่างเกรงใจซึ่งกันและกัน อีกประการหนึ่งสถาบันมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละโรคเพียง 1-2ท่านดังนั้นพิจาณาลำบากมากที่จะไปตัด  ยาใหม่ที่บริษัทยาข้ามชาตินำเข้ามาจำหน่ายเกือบ80 % แพทย์จะขอเข้าอยู่ในบัญชีของสถาบัน ถามว่ายาเก่าที่มีอยู่แล้วไม่มีประสิทธิภาพก็ไม่ใช่  ยาใหม่ผลข้างเคียงทางยาน้อยกว่า  การใช้หรือพกพาง่าย ฯลฯ ยามีแต่เพิ่มๆขึ้นเรื่อยจนจำชื่อไม่ไว้ คลังยาอาจต้องขยายพื้นที่เพิ่มเติม การที่สถาบันต้องจัดซื้อเพื่อStockเป็นการสิ้นเปลืองมากๆ  การจัดประกวดราคาให้แข่งขันกันจะช่วยลดCostได้ระดับ  ต่อนี้ผู้บริหารคงต้องพิจารณาที่เซ็นใบสั่งซื้อทุกวันน่าจะเข้าใจ  หากจะลดปัญหาผู้บริหารต้องแจ้งนโยบายสื่อสารแพทย์ทราบ  แต่สถาบันมีกำไรอยู่แล้วเรื่องนี้ตกไป   ปลายปีนี้ยาอาจจะมีถึงกว่า 1000รายการเท่าโรงพยาบาลศูนย์ เพราะแน่นนอนยาใหม่ต้องมีการชักจูงให้แพทย์เชื่อแน่นนอน คงต้องดูกันต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ยาเข้า-ออก
หมายเลขบันทึก: 70147เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผลกระทบต่อผู้ป่วยก็ควรนำมาพิจารณาด้วย

เป็นไข้หวัดธรรมดา ค่ายา รวมค่ารักษา 999 บาท

สงสัยเป็นเพราะยามียี่ห้อหรือไม่

จาก ผู้เคยใช้บริการ

สือสารเพื่อให้ผู้บริหารเห็นปัญหา  ประชุมแต่ละครั้งยาเข้า รวมทุกแผนกประมาณ 20รายการ ยาออก2-3 รายการเท่านั้น  กลุ่มงานเภสัช   ประธานยาหรือกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดได้วางระเบียบไว้แล้ว ยอมรับว่าแพทย์ต้องเข้าใจว่าสถาบันจะมีปัญหาอะไร ที่ต้องจมเงินเพื่อจัดซื้อยามาสำรอง  เรากำลังเดินหลงทางหรือเปล่า แพทย์ต่อยอดเฉพาะทางหลากหลาย  ยากต่อการที่กรรมยาจะตัดสินใจตัดยาเมื่อเสนอ คงต้องศึกษาว่าโรงพยาบาลจังหวัดสังกัดสป ทำอย่างไรมียาอยู่ในกำหนด 550 รายการได้ โดยมีแพทย์เฉพาะทางเท่าหรือมากกว่าสถาบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท