ความสุข สิ่งที่มนุษย์ต้องการ


สังคมที่มั่งคั่งที่ให้สมาชิกในสังคมอยู่แพง กินแพง อาจจะไม่ใช่อยู่ดี กินดี เสมอไป และไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับการ อยู่ดี มีสุข

             พระพุทธเจ้าได้ทรงแจกแจงความสุขไว้  4 ประการ  ตามลำดับ  ได้แก่           

          1. สุขจากการมีทรัพย์           

         2. สุขจากการบริโภค           

         3. สุขจากความไม่มีหนี้           

         4. สุขจากการประพฤติสุจริต  ทั้งกาย  วาจา  ใจ  ความสุขที่เกิดจากได้ทำในสิ่งที่ตนคาดหวังที่สุจริต  ความสุขที่เกิดจากการได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์  เป็นความสุขที่สร้างให้สังคมเป็นสุข            สังคมที่มั่งคั่งที่ให้สมาชิกในสังคมอยู่แพง   กินแพง  อาจจะไม่ใช่อยู่ดี  กินดี  เสมอไป  และไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับการ  อยู่ดี  มีสุข

          ที่สุดของที่สุด   สุขของพวกเราชาวโลกไม่ใช่อะไรอื่น  สุขก็คือ  ทุกข์จำแลงมาหลอกเราเท่านั้นเอง  และเราก็ชอบให้ถูกหลอกด้วย  นะคะ
หมายเลขบันทึก: 69977เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
 อยู่กรุงเทพฯ สุขสบายดีหรือเปล่า อย่าลืมไปเยี่ยม อาจารย์ใหญ่(สคส.)ด้วยนะครับ

แล้วทำไมคนชอบลืมข้อ ๓ ละครับ?????

สนใจแต่ข้อ ๒ แบบแยกส่วน

ลองวิเคราะห์ดูหน่อย

 

การมองแยก

เลยทุกข์กันทั้งชาติ

การเสพสุข มีมีทุกข์มากครับ

การเสพทุกข์(หยั่งรู้) มีสุขมากกว่านะครับ

ขอบคุณครับ และขอให้โชคดีปีใหม่ครับ

อุทัย

สุขหรือทุกข์อยู่ที่ใจกำหนดให้หรือหมายรู้ตามกำลังสติปัญญา

สวัสดีปีใหม่ ขอให้สอบผ่านฉลุยค่ะพี่น้อย

สุขหรือทุกข์ล้วนมีเหตุผลในการเชื่อมโยงถึงสิ่งอื่น

ดังนั้นการสุขหรือทุกข์   ย่อมไม่โดดเดี่ยว

          ขอความสุข สดชื่น สมหวัง ให้เป็นของทุกทุกท่านที่เข้ามาเจอบล็อกนี้นะคะ และขออำนวยอวยชัยให้ทุกท่านที่มีหัวใจ KM มีความสุข ตลอดปี 2550 และตลอดไปนะคะ             อาจารย์ศิริพงษ์ลืมไปเลยนะว่าคืออะไร เพราะพูดถึงทีไรมันหนาวในหัวใจทุกที ขอบคุณอาจารย์พันดาที่เป็นห่วง แต่ก็คงให้ห่วงต่ออีกนิดเดียวนะ อดใจไว้อีกสักอึดใจก็แล้วกัน อาจารย์อุทัยอย่าลืมนะว่า สุข ก็คือทุกข์จำแลงแปลงกายมาเท่านั้นเองนะ แต่ขอสัญญากับครูบานะคะว่าจะไม่สุก ๆ ดิบ ๆ แน่นอนสำหรับบูรณาการศาสตร์ ถึงแม้ว่าบางอย่างจะสุก ๆ ดิบๆ แล้วอร่อย แต่ยังไงก็คิดว่า สุกที่ใช้เวลาบ่ม มันน่าจะอร่อยกว่าสุกที่ไม่ได้บ่มนะคะ ดังนั้นหากผ่านการบ่มมันต้องใช้เวลาแน่นอน อย่างที่ท่าน ผอ.ศักดิ์พงษ์บอกนะคะ สุขหรือทุกข์ล้วนมีเหตุในการเชื่อมโยงและแน่นอนมันไม่โดดเดี่ยวอาจจะสุขบ้างทุกข์บ้าง
               อาจารย์แสวงคะ การที่คนส่วนใหญ่สนใจความสุขจากการบริโภคมากกว่า
  จนทำให้ลืมความสุขจากความไม่มีหนี้ไป ก็เนื่องจากสังคมในปัจจุบันนี้สร้างความนิยมให้ผู้บริโภคชินกับพฤติกรรมการใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสดมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้บัตรเครดิต การใช้สินเชื่อ การกู้ยืมต่าง ๆ ล้วนเป็นการหากำไรจากธุรกิจในสมัยนี้ ถ้าธุรกิจเจริญงอกงามมากเท่าไร นั่นหมายถึงว่าคนยิ่งลืมข้อ3 คือความสุขจากความไม่มีหนี้ มากยิ่งขึ้น แต่ตรงกันข้ามยิ่งทำให้คนหันไปหาความสุขจากข้อ 2 คือความสุขจากการบริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งแปลว่าคนเป็นหนี้มากขึ้น จ่ายเงินเป็นค่าดอกเบี้ยมากขึ้น

              และอีกประเด็นคือคนส่วนใหญ่สนใจแต่เรื่อง วัตถุ เงินทอง และรายได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นแรงชักจูงความพอใจ(ซึ่งเข้าใจว่าเป็นความสุข)ในส่วนมากของคนเรา รวมไปถึงการทำมาหากิน หรือการทำมาค้าขาย ก็เป็นพฤติกรรมที่เห็นได้ว่าเป็นการลงทุนไต่ไปให้ถึงความสุขในข้อ 2 คือสุขจากการบริโภคมากกว่าสุขในข้อ 3 คือสุขจากความไม่มีหนี้นั่นเอง
 
               หวังว่าคงจะได้รับวิทยาทานดี ๆ จากหลาย ๆ ท่านที่ผ่านแวะมาด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท