การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ


การใช้กระบวนการปรึกษาหารือ หรือวิถีประชาพิจารณ์ (consultation public hearing) เพื่อประโยชน์ที่กว้างขวาง ทั้งเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาคมของประเทศ และ การฟังเสียงคนส่วนใหญ่ ยากที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะชักจูงไปสู่ผลประโยชน์เฉพาะตนหรือองค์กร

การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ
โดย รศ.ดร.ประกอบ คุปรัตน์ และ รศ.บุญศิริ อนันตเศรษฐ 

          ภาพรวมของประเทศอังกฤษในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมานั้น มีสภาพเศรษฐกิจที่เสื่อมถอยไม่สามารถอยู่ในแนวหน้าแข่งขันกับประเทศอิ่นๆ ในยุโรประดับนําได้ ในทางสังคม  ความเปลี่ยนแปลงทําให้สังคมระบบชนชั้นกําลังหมดไป แต่ปัญหาใหม่ทางสังคมได้เกิดขึ้น ได้แก่ การมีผู้อพยพใหม่เข้าสู่ประเทศ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่นํามาทั้งโอกาสใหม่ และปัญหาทางสังคม ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติและวัฒนธรรม

 

          ปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อระบบการอุดมศึกษาของอังกฤษ ทําให้มี สภาพเสื่อมถอยลง  เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศยุโรปในระดับเดียวกัน ประกอบกับในยุคสมัย ของมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ได้ใช้นโยบายตัดงบประมาณด้านอุดมศึกษา ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบให้สถาบันอุดมศึกษาต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดําเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ แต่ขณะเดียวกันได้ส่งผลให้ระบบอุดมศึกษา  การจัดการเรียนการสอนของประเทศต้องอ่อนล้าลงไปอีก

           อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการกำลังคนที่มีคุณภาพสูงขึ้น ต้องการการอุดมศึกษาที่สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอันที่จะดึงดูด บริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ให้เข้ามาดําเนินกิจการในประเทศได้มากขึ้น รวมถึงความสามารถทางการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา ทักษะและความรู้ที่สถาบันอุดมศึกษาจะสามารถพัฒนาให้กับกําลังคนในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จึงมีความจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับทั้งบุคคลและองค์กร การให้บริการระดับนานาชาติ เพื่อดึงดูดคนจากทั่วโลก การให้ความสําคัญกับการวิจัยขั้นพื้นฐานและสร้างกําลังคนที่มีทักษะทางเทคนิคชั้นสูง ตลอดจนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง  สาระของการปฏิรูปอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ

          การปฏิรูปอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ มีแนวทางและเป้าหมายการ ดําเนินงานสรุปได้ดังนี้

  1. การขยายโอกาสทางการศึกษา โดยมีเป้าหมายรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นถึง 500,000 คนภายในปี พ.ศ. 2545 และเน้นค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ลดลงถึงร้อยละ 20 จากที่ผ่านมา
  2. การควบคุมดูแล มาตรฐาน และคุณภาพการศึกษา ระบบการอุดมศึกษา แต่เดิมนั้นจะมีมาตรฐานและคุณภาพแตกต่างกันตามลักษณะของแต่ละสถาบัน
  3. การจัดการเรียนการสอน นวัตกรรม/รูปแบบใหม่ของการจัดอุดมศึกษา  โดยใช้วิธีการจัดระบบการเรียนใหม่ที่เน้นการประสานระบบกับส่วนของการทํางาน (เหมือน Work Study Programme ในสหรัฐอเมริกา) การจัดตั้ง University for Industry หรือ UFI ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเอื้อต่อการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การใช้ franchising หรือการหาตัวแทนหรือสถาบันตัวแทนเพื่อดําเนินการ แต่เน้นการควบคุมมาตรฐานการดําเนินการของระบบตัวแทนเพิ่มขึ้นด้วย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและคุณภาพในการเรียนการสอน และเน้นการใช้ระบบเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งสูงถึงร้อยละ 10 ของงบประมาณการอุดมศึกษา
  4. ระบบการรับเข้า/การถ่ายโอน การสร้างความเสมอภาคทางการอุดมศึกษา ตามนโยบายการเปิดรับนักศึกษาใหม่ หรือที่เรียกว่า emergent students โดยรับ นักศึกษาที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียน  ด้วยเหตุจากการที่มีที่เรียนจํากัดในอดีต ให้ความสําคัญกับนักศึกษา part-time ให้สามารถทำงานควบคู่กับการเรียนได้ การเปิดโอกาศในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนให้ความสำคัญกับระบบการเรียนในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีสอดคล้องกับระบบการทำงานและการเสริมสร้างความสามารถทางเศรษฐกิจ
  5. ความเป็นนานาชาติ (Internationalization) ของอุดมศึกษา ในช่วง  4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศอังกฤษกลับมีสภาพการที่ลดความเป็นนานาชาติลงด้วยเหตุผลบางประการ เช่น การต้องเคร่งครัดมากขึ้นต่อการส่งออกทางการศึกษา จากการที่ไปเปิดการเรียนการสอนในลักษณะ international programme ในหลายประเทศ โดยเฉพาะ ประเทศที่เคยอยู่ในเครือจักรภาพเดิม และถูกวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่เป็น โรงงาน ผลิตปริญญาโดยไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้แหล่งการเงินอันเป็นผลจากการที่ชาวต่าง ชาติเข้ามาเรียนในประเทศอังกฤษได้ลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากโครงสร้างระบบการศึกษาของอังกฤษที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะรัฐบาลในสมัยที่ผ่านมาตัดงบประมาณใน ส่วนของการอุดมศึกษา อันทําให้เกิดปัญหาวิกฤตด้านคุณภาพการศึกษาตามมา ไม่เป็นที่ดึงดูดนักศึกษาจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในยุโรปโดยรวม เมื่อความเป็นสมาพันธ์ยุโรป (EU) ได้เพิ่มความสําคัญมากขึ้น ระบบความร่วมมือทางการศึกษาและการแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่อกัน จะมีมากขึ้นและภาษาอังกฤษน่าจะเป็นภาษาที่มีการใช้มากที่สุด และกลายเป็นภาษาที่สองของทุกชาติในภูมิภาคและทั่วโลก ประเทศอังกฤษจึงน่าจะมี ความได้เปรียบในหลายด้านที่ เกี่ยวกับการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาความเป็นนานาชาติ
  6. ประสิทธิภาพด้านการบริหารการเงิน การระดมทรัพยากร การบริหาร บุคลากร การบริหารวิชาการ ในด้านประสิทธิภาพในการบริหารการเงิน การระดม ทรัพยากร การบริหารบุคลากร และการบริหารวิชาการนั้นมีแนวทางที่น่าสนใจคือ มีข้อ มูลที่บ่งบอกว่า การบริหารการเงินแบบ Block Grant มีแนวโน้มที่ให้เป็นเงินก่อน โดย ไม่มีการกํากับหรือมีการติดตามน้อยลง การจ่ายเงินสนับสนุนจะเน้นประสิทธิผล และ คุณภาพของการดําเนินการ (performance based funding) เป็นสําคัญ นอกจากนี้การ เน้นแหล่งรายได้ที่หลากหลายจากภาคเอกชน และจากการที่ดึงภาคเอกชนให้เข้ามามี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การฝึกงาน การใช้สถานที่ฝึกงาน เป็นต้น การเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เรียนจะมีมากขึ้น จนถึงร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายจริงทางการศึกษาจริงทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะไม่กระทบต่อผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนสามารถขอรับ การสนับสนุนในรูปของเงินกู้เงินยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งระบบการเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ ทํางานแล้วได้เรียนเป็นแบบบางเวลา (part-time) และมีสิทธิขอเงินยืมเพื่อการศึกษาได้และเมื่อยืมแล้วจบการศึกษาไป ผู้เรียนสามารถจ่ายเงินคืนได้ในอัตราตามความ สามารถของการหารายได้ นอกจากนี้ ยังเน้นให้มีการประเมินและติดตามผลการดําเดิน งานอย่างเป็นระบบ
  7. การส่งเสริมการวิจัยและการบริการวิชาการ รัฐบาลกลางของอังกฤษ ให้ความสนใจต่อการส่งเสริมงานวิจัย โดยมีเป้าหมายที่จะจัดสรรเงินส่งเสริมการวิจัย เพื่อเป็นพื้นฐานสาหรับการพัฒนาระบบเอกชน การดึงดูดการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติและต่างประเทศ สําหรับการบริการวิชาการและความร่วมมือกับภาคเอกชนด้านอื่น ๆ นั้น แม่ว่าแต่เดิมมหาวิทยาลัยในแบบเดิมของประเทศอังกฤษจะไม่ได้ให้ความสําคัญ ด้านการสร้างความสัมพันธกับธุรกิจเอกชนมากนัก แต่ด้วยความสําคัญของโลกธุรกิจที่ มีมากและกว้างขวางขึ้น มหาวิทยาลัยอังกฤษจึงได้หันมาให้ความสําคัญต่อการบริการ ทางวิชาการแก่สังคมเพิ่ม มากขึ้น
  8. การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ในช่วงระยะหลัง ภาคธุรกิจของอังกฤษ ไม่ได้ให้ความสําคัญต่อระบบการอุดมศึกษามากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะองค์กรธุรกิจ หรือกลุ่มนายจ้างที่เป็นชาวอังกฤษเองเองประสบภาวะชะงันทางเศรษฐกิทรัพยากรพอที่จะสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย นโยบายของอังกฤษจึงมุ่งเน้นการ สร้างความพร้อมในขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการวิจัย เพื่อดึงดูดบริษัทข้ามชาติชั้นนําให้หันมา ลงทุนดําเนินการในประเทศ โดยมีนโยบายสนับสนุนทางการเงินเพื่อให้เอกชนพัฒนา บุคลากรภายในองค์กรของตนให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงในลักษณะ matching fund โดยนายจ้างออกส่วนหนึ่ง และรัฐบาลจัดหาเงินสนับสนุนให้อีกส่วนหนึ่ง เพื่อสมทบกับ ค่าใช้จ่ายที่ลูกจ้างต้องจ่ายเอง
  9. ความสอดคล้อง (Relevance) ของการอุดมศึกษากับระบบการศึกษา โดยรวม การอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบของการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสําหรับคนจํานวนน้อยที่ได้รับสิทธิพิเศษ แต่กระนั้นระบบอุดมศึกษาที่เน้นคุณภาพ ก็เป็นระบบคุณภาพที่ยังไม่สอดคล้องกับระบบสังคมใหม่ที่ต้องมีความสามารถทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และพร้อมที่จะแข่งชันในสังคมโลก จึงได้มีการปรับปรุงเพื่อให้มีความสอดคล้องมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันและแนวโน้มใน อนาคต โดยคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นสําคัญ

ยุทธศาสตร์การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ

          ความสําเร็จการปฏิรูปอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
  • การมีเป้าหมายในการปฏิรูปที่ชัดเจน และมีเงื่อนไขเวลา เช่นกรณีของการกําหนด จํานวนผู้เรียนในระบบอุดมศึกษา ซึ่งต้องการให้มีผู้เรียนเพิ่มขึ้น 500,000 คนในเวลา 4 ปี ข้างหน้า หรือการต้องลดค่าใช้จ่ายรายหัวให้ได้ร้อยละ 6.5 ซึ่งทําให้มีความชัดเจน และ สามารถวัดได้ประเมินได้
  • การใช้นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบอุดมศึกษา ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการนําเสนอข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งมีระบบและกระบวน การรวบรวมอย่างเป็นแบบแผน
  • การใช้นักวิชาการจากหลากหลายด้าน เป็นการมองจากหลายมิติ ทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์  เทคโนโลยี ไม่ใช้เป็นการกําหนดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการ เปลี่ยนแปลงที่คํานึงถึงความต้องการของมหาชนและให้มหาชนเข้ามามีส่วนร่วม
  • การใช้กระบวนการปรึกษาหารือ หรือวิถีประชาพิจารณ์ (consultation public hearing) เพื่อประโยชน์ที่กว้างขวาง ทั้งเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาคมของประเทศ และ การฟังเสียงคนส่วนใหญ่ ยากที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะชักจูงไปสู่ผลประโยชน์เฉพาะตนหรือองค์กร
  • การใช้มาตรการทางการเงิน (public finance) เพื่อการส่งเสริม และการกําหนดทิศทางของการอุดมศึกษาอย่างเช่น การกําหนดกรอบงบประมาณการสนับสนุนอุดมศึกษา กรอบงบประมาณการสนับสนุนและลงทุนด้านระบบสารสนเทศเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
  • ปรับมาตรการจากการกดดันไปสูมาตรการหาวิถีทางออกที่จะใช้วิธีการตัดปรับลดเงินสนับสนุนการศึกษาโดยผู้ที่ได้รับผลกระทบอาจยังไม่มีความพร้อม และระบบการบริหารการจัดการยังเป็นในแบบเดิม หรือวัฒนธรรมการบริหารภายในยังไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง ได้ใช้วิธีการส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการร่วมกันศึกษา และให้เวลา เช่น กรณีรายงานของเดียริ่ง ได้ใช้เวลาไปถึง 18 เดือน
  • การรีบตอบสนองโดยทันทีในส่วนที่ภาครัฐจะสามารถทําได้ โดยรัฐประกาศแสดง ถึงความตั้งใจและวัตถุประสงค์ของการดําเนินงานที่ชัดเจน และดําเนินการในขณะที่ทุกคนยังให้ความสนใจในประเด็นนั้น ๆ อยู่

 

หมายเลขบันทึก: 69973เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ได้มาเรียนรู้ครับ ขอบคุณครับอาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท