การส่งเสริมสุขภาพและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ5


กฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อประเมินความเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจะเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแบบปลอมๆหรือเป็นแค่หน้าฉากในระยะสั้นแต่ในระยะยาวแล้วจะส่งผลลบต่อองค์กรเพราะผู้บริหารและบุคลากรจะมามัวใส่ใจและมัวเมาอยู่กับการทำแบบประเมินให้ผ่านมากกว่าสนใจในเนื้อหาและสาระที่แท้จริงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ความสำเร็จและบทบาทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

         ความสำเร็จของการดำเนินการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ขึ้นอยู่กับการดำเนินการในวิถีทางอันจะนำมาซึ่งการลดอัตราการเจ็บป่วยของประชากรในชุมชน

         ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อเข้าให้ถึงชุมชนให้ได้เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการลดพฤติกรรมเสี่ยง-สุขนิสัยและสุขภาวะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพทั้ง 10 ประการดังที่ได้กล่าวถึงในตอนที่แล้ว

         การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจึงต้องอาศัยยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ

         1.       ต้องมีผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ มีปรัชญาและมุ่งมั่นทำงาน ฉลาดมีไหวพริบ แก้ไขปัญหาและสถานการณ์ได้ดี

         2.       การจัดองค์กรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ อย่างเหมาะสม คล่องตัว ทันสมัย ให้ความสำคัญกับบุคลากรระดับกลางเนื่องจากเป็นกลุ่มที่จะช่วยนำนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงไปสู่การปฏิบัติได้จริง

         3.       จัดทำค่านิยมร่วมขององค์กรในบริบทแห่งการก้าวไปสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่แท้จริง

         4.       จัดการความรู้ในองค์กรในทุกแง่มุมของการส่งเสริมสุขภาพ บุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต้องมีความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพอย่างดีทั้งExplicit และ Tacit knowledgeรวมทั้งเตรียมเทคโนโลยี่การจัดเก็บข้อมูลและความรู้ และพร้อมที่จะนำความรู้เหล่านั้นไปจัดการความรู้ในชุมชนให้กว้างขวางและบรรลุวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมสุขภาพต่อไป

         5.       จัดทีมจัดการความรู้เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานของทีมต่างๆที่จะเข้าไปดูแลประชาชนในชุมชนตามภารกิจต่างๆตามที่กำหนดไว้ข้างต้น

         6.       จัดการด้านเทคโนโลยี่การสื่อสารที่ใช้ได้ผล(Efectived communication) ทันสมัย รวดเร็ว เพื่อเลือกใช้ในการติดต่อสื่อสารในองค์กร ระหว่างทีมงาน และทีมงานต่อประชาชนในชุมชนอย่างเหมาะสม

         7.       จัดทำการประเมินผลโดยใช้หลักการของ Balanced scorecard(ฺBSC) พร้อมทั้ง ดัชนีชี้วัด (KPI)

         การจะประสบผลสำเร็จของการดำเนินการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพอยู่ที่ความริเริ่มพร้อมความตั้งใจอย่างแท้จริงของผู้นำและความร่วมมืออย่างกระตือรือร้นของบุคลากรซึ่งเป็นทีมงาน โดยการสนับสนุนจากองค์กรหน่วยเหนือซึ่งจะก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานที่ดี 

         ความสำเร็จของการดำเนินการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพไม่ได้เกิดจากการสั่งการให้ทำหรือต้องทำเพราะเป็นนโยบายให้ทำ  กฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อประเมินความเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจะเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแบบปลอมๆหรือเป็นแค่หน้าฉากในระยะสั้นแต่ในระยะยาวแล้วจะส่งผลลบต่อองค์กรเพราะผู้บริหารและบุคลากรจะมามัวใส่ใจและมัวเมาอยู่กับการทำแบบประเมินให้ผ่านมากกว่าสนใจในเนื้อหาและสาระที่แท้จริงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 

หมายเลขบันทึก: 69970เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท