การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์


สภามหาวิทยาลัยจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการให้สถาบันมีการบริหารจัดการที่ดีและต้องมีการออกแถลงการณ์แสดงเจตน์จํานงประจำปี (Annual Statements of Intent)

 

การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์โดย รศ.ดร.ชูเวช  ชาญสง่าเวช 

          ในประเทศนิวซีแลนด์ มีความพยายามที่จะปฏิรูประบบการศึกษาทั้งระบบเมื่อปี ค.ศ.1987 จากการที่นายกรัฐมนตรี David Lange ได้ประกาศแต่งตั้งคณะทํางานทบทวน การบริหารจัดการศึกษาขั้น โดยให้นักบริหารธุรกิจชื่อ Brion Picot เป็นประธาน

          อย่างไรก็ดีการปฏิรูปในครั้งนั้นได้ผลกับระดับโรงเรียนเป็นหลัก มิได้ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษามากนัก จนถึงช่วงปี ค.ศ.1991 – 1994 จึงได้เกิดคลื่นลูกสองของการปฏิรูปการศึกษาในนิวซีแลนด์ขึ้นภายใต้การนํารัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิ การคนใหม่ในช่วงนั้น คือ Dr. Lockwood Smith ซึ่งในช่วงนี้เองที่การเปลี่ยนแปลงใน ระดับอุดมศึกษาเริ่มเกิดขึ้นในระดับหนึ่ง

           ในปัจจุบันประเทศนิวซีแลนด์มีมหาวิทยาลัย เพียง 7 แห่ง ได้แก่ Canterbury Univerisity, Lincoln University, Massey University, University of Auckland, University of Otago, University of Waikato และ Victoria University of Wellington นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัยเทคนิคจํานวน 25 แห่ง และวิทยาลัยครู จํานวน 4 แห่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า นิวซีแลนด์ยังมีวิทยาลัยชนกลุ่มน้อยเผ่าเมารีซึ่งเรียกว่า Wananga  จํานวน 3 แห่ง สถาบันฝึกอบรมของรัฐ 11 แห่ง และสถาบันฝึกอบรมของเอกชนอีกกว่า 700 แห่งด้วย (Ministry of Education, 1997a)  

เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาในปลายทศวรรษ 1990 ของประเทศนิวซีแลนด์

 

          การปฏิรูปอุดมศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 มีผลกระทบต่อระบบอุดมศึกษาของนิวซีแลนด์อย่างกว้างไกลกว่าการปฏิรูปในช่วงเดียวกัน ในประเทศออสเตรเลีย โดยรัฐบาลนิวซีแลนด์ได้นําเสนอแนวคิดที่จะปฏิรูปอุดมศึกษา อย่างจริงจังในรูปของเอกสารที่เรียกว่า “Green Paper” ซึ่งหลังจากที่ได้รับฟังความคิด เห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว รัฐบาลนิวซีแลนด์ก็ได้ประกาศนโยบายในการปฏิรูปออก มาเป็นเอกสารที่เรียกว่า “White Paper” เมื่อปี ค.ศ. 1998 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีการ ศึกษา 1999 นี้เป็นต้นไป

 

          แนวโน้มสําคัญสามประการที่รัฐบาลนิวซีแลนด์ประสงค์จะให้ระบบอุดมศึกษา ของนิวซีแลนด์เตรียมรองรับไว้ด้วยการปฏิรูปครั้งนี้ ได้แก่

  • ความหลากหลายของผู้ที่ต้องการเข้ามาเป็นนักศึกษาในระบบอุดมศึกษามีแต่จะมากขึ้น  โดยที่ทั้งนักศึกษาและกลุ่มนายจ้างต่างเรียกร้องต้องการให้มีหลักสูตรและโอกาสในการศึกษามากประเภทขึ้น
  • ความเป็นนานาชาติมากขึ้นของระบบอุดมศึกษา ซึ่งหมายความว่า มาตรฐาน คุณภาพ และคุณวุฒิการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษานิวซีแลนด์ต้องปรับให้ได้มาตรฐานโลก
  • พัฒนาการอันรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งทำให้เป็นไปได้ที่จะเรียนข้ามประเทศหรือข้ามทวีปได้

          ตามนโยบายล่าสุดนี้ จะมีการจัดตั้งองค์กรใหม่เรียกว่า Quality Assurance Authority of New Zealand เพื่อพิจารณาระบบประกันคุณภาพที่เหมาะสมสําหรับ สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในประเทศนิวซีแลนด์ อันนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมที่ปล่อยให้การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

          ยิ่งกว่านั้น ตามนโยบายใหม่นี้การจัดสรรงบประมาณทั้งในด้านการบริหาร การเรียนการสอนและการวิจัยก็จะพิจารณาจากจํานวนนักศึกษาเต็มเวลา โดยรัฐจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย  รวมถึงค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัว (living allowance) ให้กับนักศึกษาทุกคน โดยมีข้อแม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจะต้องปรับปรุงการบริหารจัดการให้เป็นแบบเอกชน ปรับปรุงคุณภาพวิชาชีพให้ได้มาตรฐานและให้ข้อมูลโดยเปิดเผยต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

          กล่าวโดยสรุปการปฏิรูปอุดมศึกษาของนิวซีแลนด์ในยุคปัจจุบันมุ่งที่จะตอบ สนองข้อเรียกร้องต้องการ 6 ประการต่อไปนี้

  1. กลวิธีที่ดีในการให้ทุนสนับสนุนแก่นักศึกษา
  2. ความจําเป็นในการมีสิ่งจูงใจที่จะรักษาระดับค่าเล่าเรียนให้ตํ่า
  3. การส่งเสริมจูงใจให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการให้บริการและการตอบสนองที่รวดเร็วต่อความต้องการที่เปลี่ยนไปในทางด้านการศึกษา
  4. การมีคุณภาพที่ดีสมํ่าเสมอ
  5. การมีข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องสมบูรณ์และรวดเร็วสำหรับประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษา
  6. การมีการบริหารการจัดการที่ดีและติดตามตรวจสอบความรับผิดชอบได้

          ทั้งนี้การบรรลุถึงจุดประสงค์ดังกล่าวจะกระทําโดยใช้กลวิธีซึ่งแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มต่อไปนี้ คือ

           1.  การขยายโอกาสทางการศึกษา และก่อให้เกิดความยุติธรรม
  • นําระบบเงินอุดหนุนค่าเล่าเรียนอุดมศึกษาทั่วทั้งระบบที่เรียกว่า Universal Tertiary Tuition Allowance มาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ซึ่งจะส่งผลให้นักศึกษา นิวซีแลนด์ทุกคนที่เข้าศึกษาในหลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติสามารถได้รับทุนอุดหนุน จากรัฐบาลนิวซีแลนด์โดยทั่วกัน
  • ในช่วง 3 ปีข้างหน้า คาดได้ว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในระดับงบประมาณของรัฐที่จัดสรรให้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่อหัวนักศึกษา
  • หลักสูตรที่มีค่าใช้จ่ายในการดําเนินการสูงยังคงได้รับการจัดสรรงบให้ ในอัตราที่สูงกว่าหลักสูตรปกติ
  • จะใช้จํานวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนจริง (แทนที่จะใช้จํานวนคาดการณ์) เป็นตัวกำหนดเงินอุดหนุนที่ให้แก่สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะเป็นการปูนบำเหน็จแก่สถาบันที่ประสบความสําเร็จในการดึงดูดนักศึกษา
  • นักศึกษาที่เรียนรายวิชา ณ สถาบันการศึกษาเอกชนจะสามารถได้รับ เงินอุดหนุนตามระเบียบและเงื่อนไขเดียวกับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
  • นักศึกษาทุกคนจะได้รับเงินสนับสนุนอย่างเดียวกันโดยไม่คํานึงถึงอายุ
  • สถาบันที่มีทุนทรัพย์ตํ่าจะได้รับเงินอุดหนุนมากกว่าสถาบันที่มีทุนทรัพย์มากอยู่แล้ว 
           2.   การปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน
  • หลักสูตรอุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาจะต้องผ่านเกณฑ์คุณภาพ มาตรฐาน และเกณฑ์เสถียรภาพทางการเงินก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ
  • จะดำเนินการจัดตั้งหน่วยงาน การประกันคุณภาพแห่งประเทศ นิวซีแลนด์  (Quality Assurance Authority of New Zealand)” ขึ้น เพื่อดูแลงานประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้การประกันคุณภาพเป็นไปอย่างจริงจัง 
           3.   การปรับปรุงคุณภาพการวิจัย
  • การวิจัยจะยังคงเป็นภาระหน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษาควบคู่ไปกับ งานการเรียนการสอน
  • การพิจารณาจัดสรรกองทุนวิจัยจะคํานึงถึง
    • คุณภาพและกําลังของผู้วิจัย
    • คุณภาพของโครงการวิจัยที่นําเสนอ
    • เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของงานวิจัยนั้น
    • ความมีประสิทธิภาพในการใช้เงินของโครงการวิจัย
    • จะจัดสรรเงินอุดหนุนเพิ่มเติมเพื่อการวิจัยให้กับหลักสูตรปริญญา บัณฑิตและบัณฑิตศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประกันคุณภาพ 
           4.   การปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสาร
  • จัดระบบบริหารข้อมูลนักศึกษาเป็นระบบเดียวกันทั่วทั้งประเทศ
  • ปรับปรุงระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและสถาบันอุดมศึกษา ที่ผ่านเกณฑ์การประกันคุณภาพ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของนักศึกษาและสถาบัน อุดมศึกษา 
           5.   การปรังปรุงการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษา
  • สถาบันอุดมศึกษาจะยังคงสถานภาพเป็นสถาบันของรัฐ
  • เสรีภาพทางการศึกษาจะยังคงได้รับการรับรอง
  • สภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะมีความเป็นอิสระมากขึ้นในการกําหนด ขนาด องค์ประกอบ กระบวนการได้มาของกรรมการ ฯลฯ แทนที่จะใช้ระบบเดียวกันหมด เช่นในอดีต
  • สภามหาวิทยาลัยจะมีขนาดเล็กลงโดยจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จากสาขาต่าง ๆ และมีตัวแทนนักศึกษาและคณาจารย์
  • สภามหาวิทยาลัยจะต้องมุ่งให้ความสนใจมากขึ้นต่อความสําเร็จทาง วิชาการและความมีเสถียรภาพในระยะยาวของสถาบัน
  • สภามหาวิทยาลัยจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการให้สถาบันมีการบริหารจัดการที่ดีและต้องมีการออกแถลงการณ์แสดงเจตน์จํานงประจำปี (Annual Statements of Intent)
  • สถาบันอุดมศึกษาที่มีการบริหารจัดการที่ดีจะได้รับอิสระเสรีมาก ขึ้นในการบริการจัดการสถาบัน สถาบันนอกเหนือจากนั้นจะมีการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดขึ้นโดยภาครัฐ
  • รัฐจะทําการโอนที่ดินทรัพย์สินของรัฐให้กับสถาบันอุดมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 69964เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท