วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ตอนที่ 4 งานส่งเสริมการเกษตร คือนักส่งเสริมการเกษตร


ทุกคนต่างมีหน้าที่ที่จะต้องทำ...ฉะนั้น อยู่ที่ตัวเราเองว่า...เราจะทำหน้าที่ของเราได้อย่างไร? ให้สมกับความไว้วางใจที่ได้รับภารกิจนั้นมาให้ทำ

               ในการทำงานส่งเสริมการเกษตร นั้นเราควรจะมีความรักและความเชื่อในหน้าที่ที่ต้องทำ  เราควรสร้างความเชื่อให้กับตนเองว่า คนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับงานก็คือ เกษตรกร  โดยมีเป้าประสงค์สูงสุด คือ  ความรักในงานที่จะเกิดขึ้น  ซึ่งหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบกับเกษตรกร  

                ฉะนั้น  ทำอย่างไรให้...เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร...มีความชื่อเช่นเดียวกันได้การทำงานส่งเสริมการเกษตรที่ทำจึงอยู่ภายใต้ การสร้างกรอบความคิด ที่ใช้หลัก อิทธิบาท 4  ได้แก่  1)  ฉันทะ คือ  ความรักในงานและจะต้องไตร่ตรองงานอยู่ตลอดเวลา  2) วิริยะ คือ ต้องพยายามทำในสิ่งที่เราคิดและตั้งมั่นในงานไว้ให้ได้  3) จิตตะ คือ  ต้องไตร่ตรองและคิดทบทวนงานอยู่เสมอ  และ     4) วิมังสา คือ  ทุกสิ่งทุกอย่างต้องรอคอยได้ เช่น  การพัฒนาทั้งองค์กร  การพัฒนาในตัวเจ้าหน้าที่  และการพัฒนาในส่วนลูกค้าการสร้างเครื่องมือและวิธีการพัฒนาเจ้าหน้าที่และทีมงาน ได้ใช้หลักคิดของฉันทะ วิระยะ  จิตตะ  และวิมังสา  ในลักษณะค่อย ๆ พัฒนาทีมงาน หรือ Staff  ไปเรื่อย ๆ ซึ่งถ้านักบริหารสามารถทำอย่างนี้ได้ทั้งตัวเอง ทั้งเพื่อนร่วมงาน ก็จะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น ถ้าตัวเองและสำนักงานมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น องค์กรก็จะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นด้วย จากหลักคิดในการทำงานดังกล่าวทำให้เกิดความรักและความเชื่อในหน้าที่ที่ต้องทำ  มีการสร้างกรอบความคิดในการทำงาน  และมีการวางวิธีการปฏิบัติงานผ่านเครื่องมือและการพัฒนาทีมงาน เพื่อนำไปสู่กลุ่มและการเชื่อมโยงเครือข่ายในการทำงานส่งเสริมการเกษตรที่เป็นผลประโยชน์กับตัวเกษตรกรให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง 

ตัวอย่างเช่น

                  การทำงานที่ผ่านมาของจังหวัดกำแพงเพชร ได้ยึดหลักของพระพุทธเจ้าคือ อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิระยะ  จิตตะ  และวิมังสา) โดยการสร้างระบบการคิดของตนเองเพื่อยอมรับเงื่อนไขว่า  1) เจ้านายเราคือเกษตรกร  2) คนทำงานคือตัวองค์กรไม่ใช่เราคนเดียว 3) ยอมรับในเงื่อนไขที่เกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมและตัวขององค์กร แล้วนำมาวางงาน ถ้าจะทำให้องค์กรมีพลัง  เราจะต้องทำให้องค์กรเดินได้  ทำได้ตามความคิดของผู้บริหาร 

                 ฉะนั้น  การทำงานจึงเริ่มจาก ขั้นที่ 1  สร้างการยอมรับ  ได้แก่  1) สร้างความศรัทธาในตัวผู้นำ  2)  ทำให้เห็นว่า...ผู้นำมีความจริงใจพอที่จะเดินทางร่วมกัน  ซึ่งถ้าผู้นำมีความรู้และความจริงใจก็จะทำให้ทีมงานเกิดการคล้อยตาม เกิดความศรัทธา และยอมรับได้  ขั้นที่ 2  เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของนักส่งเสริมการเกษตร โดยนำเครื่องมือเข้ามาใช้ในการทำงาน เป็นการสอนให้เจ้าหน้าที่รู้จักการใช้เครื่องมือในการทำงานกับเกษตรกร  อาทิเช่น  เครื่องมือที่จะไปชวนชาวบ้านคุย  และ การใช้แปลงสาธิตเพื่อให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพันธุ์  ขั้นที่ 3  เรียนรู้เทคนิคในการเป็นผู้อำนวยความสะดวก  หรือผู้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ได้ใช้เทคนิค Facilitator 

                   โดยงานทั้ง 3 เรื่อง  เป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับ วิธีการและเครื่องมือ เพื่อสอนให้เจ้าหน้าที่และทีมงานได้รู้จักว่า... ถ้าจะทำงานกับเกษตรกรให้บรรลุผลสำเร็จนั้นเราจะต้องมี เครื่องมือและวิธีการ  ส่วนผลที่เกิดขึ้นก็คือ เกิดการปรับเปลี่ยนความคิดของเจ้าหน้าที่ที่ทำให้เขาเกิดความศรัทธาในตัวเราได้  เขารู้ว่าเจ้านายของเราคือ  เกษตรกร...เขารู้ว่า...ลูกค้าต้องการไปถึงไหน?  และเจ้าหน้าที่บริการเป็น คือ  ลูกค้าพึงพอใจหลังจากนั้นการพัฒนาทีมงานจึงเกิดเป็นกลุ่มและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายในการทำงานส่งเสริมการเกษตรที่เกิดจากการมีส่วนร่วม  อาทิเช่น  ถ้าถามว่า...กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อ ดูดความคิดนั้นเจ้าหน้าที่มีวิธีการมั้ย?  เจ้าหน้าที่มีวิธีการมั้ย? ที่จะให้ทุกคนเปิดเผยข้อมูล  และเจ้าหน้าที่มีวิธีการมั้ย? ที่จะสร้างกระบวนการยอมรับ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาใช้ร่วมกันและเป็นผลสำเร็จภายใต้ข้อสรุปที่ออกมาเป็น เทคนิคการทำงานมีอะไรบ้าง?  และ เครื่องมือที่ใช้มีอะไรบ้าง?                 

                  สิ่งดังกล่าวทำให้เกิดข้อคิดที่กลับมาสู่การพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรต่อไปว่า..... 

1)  ตัวอย่างงานส่งเสริมการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จนั้นมีจำนวนมากและเห็นเป็นรูปธรรม ที่องค์กรสามารถสืบค้นและจัดการขึ้นมาใช้เป็นต้นแบบการพัฒนางาน  เพียงแต่เราทำหน้าที่เชื่อมโยงกันเป็นกลุ่มและเป็นเครือข่ายก็สามารถนำมาใช้งานและเป็นเครื่องมือในการทำงานส่งเสริมการเกษตรของนักส่งเสริมการเกษตรได้ทันทีที่เรียกว่า Best Practice อาทิเช่น  บุคคล  กลุ่ม  หรือเครือข่าย

2)  การพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรสามารถนำ ตัวแบบที่ประสบผลสำเร็จ เข้ามาใช้เพื่อบริหารจัดการในการส่งเสริมอาชีพการเกษตรให้กับเกษตรกรได้เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยี  การพัฒนาตัวเกษตรกร  และการพัฒนา   ตัวเจ้าหน้าที่  ซึ่งจะเห็นเป็นรูปธรรมและจะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและการนำไปใช้

3)  การบริหารจัดการงานส่งเสริการเกษตรนั้นสามารถพัฒนาตัวเจ้าหน้าที่ควบคู่กับการปฏิบัติงานได้  และจะทำให้การทำงานของกรมส่งเสริมการเกษตรเกิดผลได้อย่างรวดเร็ว  ประหยัด  ครอบคลุม  และตรงความต้องการของเกษตรกรได้อย่างแท้จริง.                             

                               ศิริวรรณ  หวังดี  สัมภาษณ์                             

                               ไพรัช  หวังดี  ผู้ให้สัมภาษณ์

คำสำคัญ (Tags): #สรุปบทเรียน
หมายเลขบันทึก: 69643เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 09:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • นักส่งเสริมการเกษตร คือ "นักกระบวนการ/นักจัดการความรู้" ส่วนความรู้หรือเทคนิควิธี(เทคโนโลยี-วิชาการ) ก็จะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาเอง   
  • น่าจะยังมีอีกมากที่หลงไปที่ตัวความรู้หรือเทคโนโลยี-วิชาการ ทำให้มองไม่เห็นตนเอง เลยไม่รู้ว่าจะพัฒนาตนเองอย่างไร และพัฒนาอะไร
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำความรู้มาแบ่งปัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท