ความเหมือนที่แตกต่างะหว่าง "การศึกษา การวิจัย และ KM"


        ตามมุมมองของผมแล้ว 3 คำนี้มีส่วนที่คาบเกี่ยวกันค่อนข้างมาก ... ในวันนี้จะขอพูดเฉพาะส่วนที่เห็นว่าจุดเน้นไม่เหมือนกันนะครับ

        การศึกษา (Education)  เป็นคำใหญ่ที่ครอบคลุมกว้างขวาง มีทั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบ มีทั้งที่เป็นภาคบังคับและตามอัธยาศัย  อาจารย์หมอประเวศเคยพูดไว้ว่า ส่วนใหญ่จะใช้ วิชา เป็นตัวตั้ง  เป้าหมายของการศึกษามักอยู่ที่การสร้าง ความเข้าใจ (Understanding)” ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน  ผมเองมองว่าการศึกษาส่วนใหญ่นั้นเน้นไปที่ระดับความคิด (เน้นการใช้หัว หรือ Head)  ยังไปไม่ถึงระดับของจิตใจ (Heart)  เท่าใดนัก  ทำได้อย่างมาก คือ เข้าใจ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ เข้าถึง

        การวิจัย (Research) ก็เป็นการสร้างความเข้าใจอีกเช่นกัน  โดยผ่านกระบวนการที่ค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์ มีการแปลงปัญหาให้ออกมาเป็นโจทย์วิจัย   แล้วใช้กระบวนการเก็บข้อมูลเพื่อทดสอบ พิสูจน์  จนได้ออกมาเป็นคำตอบ เป็น Model หรือ ทฤษฎีที่ยอมรับได้ (ในขณะนั้นๆ)

        การจัดการความรู้ (KM)  เป็นกระบวนการสำหรับใช้แก้ปัญหา พัฒนางาน หรือ สร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) โดยอาศัยการต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิม  เสริมเพิ่มเติมด้วยความรู้ใหม่  เป็นการใช้ศักยภาพ ใช้ทุนเดิมที่มีอยู่ในการพัฒนางาน พัฒนาองค์การ พัฒนาชุมชน (สังคม)   KM จะเกิดได้ยากหากความสัมพันธ์ระหว่างกันนั้นไม่ดี    KM จะเกิดได้ยากในหมู่ผู้ที่ไม่สนใจใฝ่เรียนรู้    KM จะไม่มีพลังหากดำเนินไปอย่างไร้ทิศทาง

        ........ วันนี้ขอแค่นี้ก่อนนะครับ  รบกวนท่านอื่นๆ ช่วยเติมต่อได้ตามอัธยาศัยครับ

หมายเลขบันทึก: 69530เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เรียนอ.ดร.ประพนธ์ ค่ะ...

ในทางผู้ปฏิบัติงานนั้น.

  • เริ่มต้นการทำงาน..ตอนจบใหม่ๆ..ฉันใช้ความรู้ค่ะ..และมีพี่เลี้ยง...หมายถึงรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่เดิมคอยแนะนำ(นั่นคือรุ่นพี่เริ่มมีการจัดการความรู้ตนเองจากประสบการณ์ทั้งของตนเองและเพื่อนร่วมงานที่ค่อยๆซึมซับไว้นานแล้ว....ทยอยถอดออกมาให้น้องๆทราบ)
  • พอระยะต่อมา..การคิดดัดแปลงอะไรต่างๆในงานเริ่มเกิด..(คือมันต้องปรับตัวตามสถานการณ์ต่างๆค่ะ..)..บอกไปเฉยๆ..ไม่ค่อยมีใครเชื่อ..โดยเฉพาะสถาบันการเรียนการสอน..มักถามหาตัวเลข..ที่มาของข้อมูล..การอ้างอิง..ความน่าเชื่อถือ..ไม่งั้นเหมือนไม่เชื่อ...จึงช้าและเสียเวลาสำหรับผู้ปฏิบัติ..ต้องวิจัย..
  • พอแก่ตัวขึ้น..ก็มีโอกาสให้ได้ใช้ความคิดคนละนิดคนละหน่อย..ต่อกันไปมา..ตามแต่ประสบการณ์..มันก็ดีตรงที่เราอยากไปขั้นที่ 5..แต่ขั้นที่3,4..เราไม่รู้..ก็อาศัยผู้รู้บอก..ก็ทำให้ก้าวไปได้..ไม่ตาบอดซะทีเดียว...ทำให้ผู้มีประสบการณ์ดูมีคุณค่าขึ้นเยอะค่ะ

 .....สรุป...ชอบ KM.และ GotoKnow...ม๊ากมาก...ค่ะ...

 

  ชัดเจน เข้าใจง่าย และเห็นจริงตามที่อาจารย์เสนอครับ .. ใครไม่เห็น "หลุมดำ" ในเรื่องทั้งสาม ก็คงเห็นได้ง่ายขึ้นล่ะครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ประพนธ์...

  • ขอขอบพระคุณสำหรับองค์ความรู้ และอะไรๆ อีกมากมายที่อาจารย์มอบให้สังคมไทย
  • ขอแสดงความเคารพอาจารย์เนื่องในโอกาสปีใหม่สากลครับ...

อาจารย์ครับ

อาจารย์น่าจะกลับไปช่วยที่ นวัตกรรมอุดมศึกษา มธ.อีกสักรอบนะครับ และเอาเรื่อง KM นี้ไปช่วยแนะนำนักศึกษาด้วยนะครับ เห็นว่าการบริหารงานวัฒนธรรมในบ้านเราอาจจะเดินไปอย่างงดงาม(จากลูกศิษย์ MCT2)

 

ติดตามอ่านบันทึกของอาจารย์ มานานวันนี้ขอแสดงตัวครับ

  • ขอบคุณความชัดเจนใน 3 ประเด็นที่อาจารย์นำเสนอ เข้าใจง่ายและได้ประโยชน์ครับ
  • ผมสนใจเรื่องการจัดการขององค์กรมานานครับ
  • กระบวนการ KM ได้นำไปใช้ในองค์กรหลายองค์กร เกิดการเปลี่นแปลงไปในทางที่ดีมาก
  • โจทย์ผมคือเราจะนำ KM เข้าไปใน อบท.   โดยเฉพาะ อบต.  ที่มีอยู่ทั่วประเทศ และไกล้ชิด มีบทบาทกระทบต่อชุมชนมากได้อย่างไร..ครับ

ดีครับที่อาจารย์มานำเสนอ

จะได้ลดความสับสนลงไป

ทีนี้คำถามง่ายๆก็คือ

ทำไมการเรียน (Education) จึงไม่เกิดการเรียนรู้ (learning) และบางทีก็ไม่เกิดความรู้ (knowledge) ที่จะนำมาจัดการ (Management) ให้เกิดความรู้ในการแก้ปัญหา อย่างที่อาจารย์เสนอมา และอาจจะต้องทำให้เกิดปัญญา (Wisdom) เสียก่อน หรือเปล่า

นี่คือช่องทางที่มีอะไรอุดตันอยู่ แต่ไม่ใช่ทางตันแน่นอน

  1. อะไรคือสิ่งที่อุดตันอยู่
  2. สาเหตุที่มันอุดอยู่อย่างนั้น
  3. เราจะเอาออกได้อย่างไร
  4. มีวิธีทำได้อย่างไร

ผมทราบมาตลอดเวลาว่า

  • คำถามผมไม่เคยสำคัญพอที่อาจารย์จะตอบหรอก
  • แต่ผมก็ข้องใจจริงๆ
  • ผมติดอยู่ตรงนี้จริงๆ

ถ้าอาจารย์ไม่ช่วย ผมก็ไม่รู้จะถามใคร

ขอโทษครับที่รบกวน จำเป็นจริงๆครับ

 

 

....ที่ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะว่าได้รับแรงบันดาลใจจากการไปอ่าน blog ของท่านอาจารย์แสวงครับ ...แต่ที่ไม่ได้เขียน Comment ลงไปในนั้น ...เพราะเกรงว่าอารมณ์ (ในเรื่องการศึกษา) ที่ใกล้เคียงกัน จะทำให้สิ่งที่เขียนไปนั้น "แรง" เกิน เพราะแค่ท่านอาจาย์แสวงท่านเดียวก็ "แรง" เกินร้อยอยู่แล้ว ....ยิ่งได้ครูบา และท่านอาจารย์ Handy มาแจมด้วยก็ยิ่งทำให้ได้สีสันและมีพลังอย่างยิ่ง

....ในส่วนของ อบท. ที่ท่านอาจารย์ศิริพงษ์พูดถึง เข้าใจว่า คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ได้ไปเชื่อมไว้พอสมควรครับ

ขอบคุณอาจารย์หมอวัลลพ และคุณกฤษณาที่ติดตามอ่าน blog นี้มาอย่างสม่ำเสมอ ...สวัสดีปีใหม่ครับ

....สวัสดี ออต ด้วยเช่นกัน ดีใจที่ได้ทราบว่ามาอยู่ในชุมชน gotoknow นี้ ....หวังว่าคงจะได้สิ่งดีๆ ไปขับเคลื่อนงานทางด้านบริหารวัฒนธรรม ...ผมเองมีนัดทานข้าวกับ ดร.สิริรัตน์ (อดีต ผอ. MCT)ในวันศุกร์นี้ครับ

ตอนที่เขียนข้างบนยังไม่ได้เห็นข้อความของอาจารย์แสวงครับ พอดีพิมพ์ไปแล้วถึงเพิ่งทราบว่าใจตรงกัน เขียนในเวลาใกล้เคียงกัน

....เอาสั้นๆ อย่างนี้ดีไหมครับอาจารย์ ..ผมว่าที่เรียนกัน (การศึกษาปัจจุบัน) อยู่เดี๋ยวนี้ ไอ้เรื่องที่จะได้ "ปัญญา" นั้นน้อยเต็มที มีแต่เรียนไปเพื่อทำให้ "อัตตา (ego)" มันหนา และใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ...บอกแล้วครับว่าไม่อยากแจม เพราะแค่อ่านของอาจารย์ก็สะใจแล้วครับ

...และก็ไม่ค่อยอยากจะ "ตั้งคำถาม" หรือ "ตอบคำถาม" ในเรื่องการศึกษาเท่าไร ....ทำไมนะหรือครับ ...เพราะรู้สึกว่าตัวเองมีอะไรต้องพัฒนา ต้องปฏิบัติอีกมากมาย ....พยายามที่จะไม่เป็น "นักโทษ" โทษสิ่งต่างๆ รอบข้าง ตั้งใจว่าจะเป็น "นักเรียน" เรียนรู้ที่จะดูตัวเอง ดูกาย ดูใจ ให้มากๆ ดูแล้วก็ตกใจครับ เพราะเห็นว่าเรายังไม่ได้เรื่องเลย ...แล้วจะไปเอาอะไรกับใครนักหนา

....เห็นใจอาจารย์ทุกๆ ท่านที่ต้องรับบทเป็น "ที่ปรึกษา" ให้กับนักศึกษาในหลักสูตรใหม่ๆ ทั้งหลาย โดยเฉพาะหลักสูตรที่เน้น "บูรณาการ" หรือหลักสูตรที่เป็น "สหวิทยาการ" ทั้งหลาย....ยิ่งที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่อง KM ยิ่งไปกันใหญ่ ....เพราะผมไม่แน่ใจว่าท่านกำลัง....

  • จะให้การศึกษา (สอน) เรื่อง KM ? หรือ
  • จะเอา KM ไป (เป็นเครื่องมือ) ใช้ในการศึกษา (การเรียนการสอน) ? หรือ
  • จะทำวิจัย เรื่อง KM ? หรือ
  • จะเอา KM ไปใช้ในกระบวนการวิจัย ?
  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ยังคิดถึง   นวัตกรรมอุมศึกษา
  • ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

ท่านอาจารย์ประพนธ์

ผมไม้ขอให้ท่านโทษใครใดๆทั้งสิ้น

ผมถามท่านในเชิงวิชาการ และหลักการทำงาน

ที่ไม่มี "อัตตา" ของใคร อยู่ในนั้นเลย

ท่านไม่ตอบก็ไม่เป็นไรครับ

ทีหลังผมจะได้ไม่ถาม ครับ

(ขอโทษที่ทำให้ระคายความรู้สึกของท่าน)

           เรียนท่านอาจารย์

        มีโจทย์ใหญ่ที่จะทำอย่างไรให้  อปท.  ได้เข้าใจและตระหนักต่อกระบวนการเรียนรู้  ทั้งด้านการวิจัย  การจัดการความรู้  โดยเฉพาะของท้องถิ่น  ..... ปัจจุบันนี้  อปท.  ส่วนใหญ่แล้วขาดเรื่องนี้มาก และ อปท. ถือว่าเป็นกลไกการพัฒนาท้องถิ่นที่มีความสำคัญมาก

          วันก่อนมีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาระดับประเทศกับ  สมาคม อบต.   ในวงต่างวิพากษ์วิจารณ์กันขนานใหญ่ถึง  สถานภาพของ  อบต.  ซึ่งปัจจุบัน  มี อบต. เกือบถึง  20 %  เท่านั้นที่มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพในการพัฒนา  ...... ถ้าปรากฎการณ์เป็นอย่างนี้จริง   ชุมชนท้องถิ่น  กำลังตกที่นั่งลำบาก เพราะ  อปท. เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น

         คงต้องผากโจทย์เรื่องนี้  ให้อาจารย์ และท่านผู้รู้..........ได้ช่วยกันหาแนวทาง หรือ กระบวนการ  ที่จะทำให้  อปท.  เข้าถึงและเข้าใจ  ตระหนักต่อกระบวนการเรียนรู้  และการจัดการความรู้ของท้องถิ่นอย่างไร ?  

    

ขอบคุณและเห็นด้วยกับคุณทวีวัตร ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากจริงๆ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท