ผลการเลือกตั้ง : ผลการเลือกตั้ง


หลังจากเข้าเก็บคะแนนกลางภาคนักศึกษา ผมจึงเดินลงมาดูผลการเลือกตั้งในวันนี้ ได้ผลดังต่อไปนี้

ประธานสภา ๑ คน (สมัคร ๑ คน)

อันดับที่ ๑ ด้วยคะแนน ๓๐๒ คือ จิตเจริญ ศรขวัญ

หมายเหตุ : บัตรเสีย ๗๖ ใบ

กรรมการสภาคณาจารย์ฯ จากคณาจารย์ประจำ จำนวน ๘ คน (สมัคร ๑๑ คน)

อันดับที่ ๑ ด้วยคะแนน ๑๗๒ คือ ประกาศิต ประกอบผล

อันดับที่ ๒ ด้วยคะแนน ๑๕๖ คือ เศกพร ตันศรีประภาศิริ

อันดับที่ ๓ ด้วยคะแนน ๑๔๔ คือ สุธี พรรณหาญ

อันดับที่ ๔ ด้วยคะแนน ๑๔๒  คือ สุทธินันท์ สายสุวรรณ

อันดับที่ ๕ ด้วยคะแนน  ๑๓๖  คือ พิทยา ถกลภักดี

อันดับที่ ๖ ด้วยคะแนน  ๑๓๑  คือ ผศ.ทรงพลธนฤทธิ์  มฤครัฐอินแปลง

อันดับที่ ๗ ด้วยคะแนน  ๑๒๓  คือ นางสาวดรุณี หันวิลัย

อันดับที่ ๘ ด้วยคะแนน  ๑๒๒  คือ นางสาวอมีนา ฉายสุวรรณ

   สามอันดับสุดท้ายด้วยคะแนน ๑๑๙, ๑๑๖และ๘๗

หมายเหตุ : บัตรเสีย ๓๕ ใบ

กรรมการสภาคณาจารย์ฯ ประเภทข้าราชการ จำนวน ๔ คน (สมัคร ๖ คน สละสิทธิ์ ๒ เหลือ ๔) ได้คะแนนเท่ากันคือ ๑๐๓ คะแนน ได้แก่

๑. นางดารัตน์ แย้มเชี่ยวยน

๒. นายอุดมศักดิ์ รักษาวงศ์

๓. นางสาวรัตนา ภรณ์ฉ่ำดี

๔. นางสาววันดี น้ำทอง

หมายเหตุ : บัตรเสีย ๖๐ ใบ

-----------------------------------------------------

ผมลองวิเคราะห์ดู (ไม่รู้ถูกหรือผิด คิดเอาเอง) ว่า ถ้าเอาประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการเป็นตัวตั้ง ผู้ที่มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด ๓๗๘ คน (คะแนน ๓๐๒ + บัตรเสีย ๗๖) โดยแบ่งเป็นผู้มาใช้สิทธิ์เลือกกรรมการสภาฯประเภทข้าราชการจำนวนทั้งสิ้น ๑๖๓ คน (คะแนน ๑๐๓+บัตรเสีย ๖๐) ที่เหลือคือ ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกกรรมการสภาฯสายคณาจารย์ประจำ จำนวน ๒๑๕ (.......+บัตรเสีย ๓๕) เราจะพบว่า

การเลือกประธานสภาฯ จากผู้มาใช้สิทธิ์ ๓๗๘ ด้วยคะแนนเสียง ๓๐๒ คิดเป็นร้อยละ ๗๙.๘๙๔ บัตรเสียคิดเป็น ร้อยละ ๒๐.๑๐๕ (กรณีนี้ มี ๒ ตัวเลือกคือ ๑. เลือก ๒. ไม่เลือก ถ้าไม่เลือก บัตรนั้นก็กลายเป็นบัตรเสียไป)

การเลือกกรรมการฯประเภทข้าราชการ จากผู้มาใช้สิทธิ์ ๑๖๓ ด้วยคะแนน ๑๐๓ คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๑๙ บัตรเสียคิดเป็นร้อยละ ๓๖.๘๐๙ (กรณีนี้ มี ๒ ตัวเลือกคือ ๑. เลือก ๒. ไม่เลือก เมื่อเลือกไม่ครบก็มีอันต้องกลายเป็นบัตรเสียไป)

การเลือกกรรมการฯประเภทจากคณาจารย์ประจำ จากผู้มาใช้สิทธิ์ ๒๑๕ บัตรไม่เสีย ๑๘๐ คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๗๒๐ บัตรเสียคิดเป็นร้อยละ ๑๖.๒๗๙ (กรณีนี้ มีหลายตัวเลือกคือ จะเลือกใครดีให้ครบ ๘ คน ถ้าเลือกไม่ครบ ๘ บัตรก็มีอันเป็นบัตรเสียไป)

         อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่า

ประกาศิต ประกอบผล ด้วยคะแนน ๑๗๒ คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๕๕๕

เศกพร ตันศรีประภาศิริ ด้วยคะแนน ๑๕๖ คิดเป็นร้อยละ ๘๖.๖๖๖

สุธี พรรณหาญ ด้วยคะแนน ๑๔๔ คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐๐

สุทธินันท์ สายสุวรรณ ด้วยคะแนน ๑๔๒  คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๘๘๘

พิทยา ถกลภักดี ด้วยคะแนน  ๑๓๖  คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๕๕๕

ผศ.ทรงพลธนฤทธิ์  มฤครัฐอินแปลง ด้วยคะแนน  ๑๓๑  คิดเป็นร้อยละ  ๗๒.๗๗๗

นางสาวดรุณี หันวิลัย ด้วยคะแนน  ๑๒๓  คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๓๓๓

นางสาวอมีนา ฉายสุวรรณ ด้วยคะแนน  ๑๒๒  คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๗๗๗

หมายเหตุ : - ในกลุ่มบัตรเสียเราบอกไม่ได้ว่า ๑) เขาเลือกใคร ๒) เขาไม่เลือกใคร (คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนแต่ไม่ครบ ๘) ๓) เขาไม่เลือกใครเลย (ถ้าไม่เลือกใครเลย ผมคิดว่าเขาไม่น่าจะมาใช้สิทธิ์ เพราะมีหลายคนที่ไม่ใช้สิทธิ์ทั้งที่ลืม ไม่สนใจและไม่รู้)

                       - ผมอ่อนการคำนวณ และคิดว่าน่าจะผิดพลาดอะไรบ้างแน่นอน และไม่รู้ว่าคิดบ้าคำนวณไปทำไม แต่นั่นแหละผมก็ได้ฝึกหัดการคิด การวิเคราะห์และได้ข้อสรุปบางประการ (อาจเข้าใจผิด)

 

คำสำคัญ (Tags): #บันทึกความคิด
หมายเลขบันทึก: 69525เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การคำนวณเป็นตรรกะ

ก่อนคิดก็ต้องไตรตรองจนถี่ถ้วน จนครบกระบวนความ จึงจะออกมาเป็นความคิด

จากการคำนวณไม่ผิดแต่ที่ผิดคือข้อบังคับ ที่ไม่ให้สิทธิและความเท่าเทียมกับคนในสังคมนี้เท่านั้นเอง

ไม่มีอะไรมาก

ตาไม้ ย่อมแตกออกเพียงกิ่งไม้

ตาน้ำ ไหลรวมกันเป็นแม่น้ำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท