Developmental Evaluation : 35. ใช้ DE transform มหาวิทยาลัย


 

ชื่อของบันทึกนี้ผุดขึ้นมาระหว่างผมนั่งฟังการประชุม “อบรมการประเมินผลเพื่อเรียนรู้และพัฒนา” จัดโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรของทุกส่วนงานประมาณ ๗๐ คน  เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ ตามที่เล่าไว้ใน บันทึกนี้   

พลังของ DE ส่วนที่จะ transform มหาวิทยาลัย ส่วนผมมองเห็นคือ stakeholders 

เพราะ DE ใช้พลังของ stakeholders มาร่วมกันกำหนดประเด็นที่จะประเมิน   ร่วมกันกำหนดข้อมูล วิธีเก็บข้อมูล  วิธีวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  ให้ความช่วยเหลือในการเก็บข้อมูล  แล้วร่วมกันตีความข้อมูล และเอาความเห็นเพื่อพัฒนาส่วนงานไปดำเนินการในส่วนของตนเอง         

สำหรับส่วนงาน (คณะวิชา) ของมหาวิทยาลัย  stakeholders  มาจากคนภายในส่วนงานเอง  จากส่วนงานอื่น  จากวิทยาเขตอื่น (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มี ๕ วิทยาเขต) รวมทั้งคนนอก ได้แก่ ศิษย์เก่า และผู้ร่วมงานภายนอก    หากดำเนินการ DEได้อย่างมีพลัง  จะสามารถใช้พลังของ stakeholders มาร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาส่วนงานนั้นๆ    ตรงตามแนวคิด Blue Marble Evaluation    

เท่ากับกลไก stakeholders จะช่วยสร้าง solidarity ข้ามส่วนงาน  และข้ามวิทยาเขต    ช่วยให้ผู้คนมองเห็นความเชื่อมโยงพึ่งพาซึ่งกันและกัน (inter-dependence) ระหว่างส่วนงาน    ตามหลักการของ complexity และ systems thinking        หากจะให้ส่วนงานของตนเจริญก้าวหน้า ต้องเอื้อเฟื้อต่อส่วนงานอื่นด้วย   น่าจะแก้โรคคิดและพฤติกรรมไซโลได้   

ยิ่งหาก มอ. ทำตามที่ผมยุ ให้จัดทีม DE Facilitator ๔ คน  ตัวยืน ๑ คนมาจากสำนักงานสภามหาวิทยาลัย   อีก ๓ คนมาจากคณะอื่น (ที่ไม่ใช่คณะที่ถูกประเมิน)  โดย ๑ คนมาจากวิทยาเขตอื่น    ความเข้าใจเรื่อง inter-dependence  และคุณค่าของ solidarity ระหว่างส่วนงาน จะยิ่งขยายออกไปมากยิ่งขึ้น   และแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 

DE ของ มอ. จึงควรมุ่งสร้าง solidarity ระหว่างส่วนงาน  และระหว่างวิทยาเขต    ซึ่งก็ตรงกันกับ เป้าหมายสำคัญของท่านอธิการบดี ผศ. ดร. นิวัติ แก้วประดับ ที่ต้องการสร้าง PSU System ที่เข้มแข็ง   เป้าหมายนี้เราพูดกันในสภามหาวิทยาลัยของ มอ. มากว่ายี่สิบปี   น่าจะเป็นจริงได้ในสมัยของท่านอธิการบดีนิวัติ    เพราะคลำหาเครื่องมือหลักพบ     

ที่จริงพลังของ DE อยู่ที่การทำงานด้วยกระบวนทัศน์ (และพฤติกรรม) complexity  และ systems thinking   และรู้จักใช้พลังของความไม่ชัดเจน ความไม่แน่นอน  ความขัดแย้ง  ให้เป็นพลัง   ซึ่งจะขึ้นกับความสามารถของทีม DE Facilitator    ตรงตามที่ ดร. สันติ เจริญพรพัฒนา เล่าประสบการณ์จากการประเมิน สวช. ให้ที่ประชุมฟัง   

ผมได้เสนอแนะต่อท่านอธิการบดี ให้ดำเนินการจัด workshop สร้างทีม DE Facilitator ที่เข้มแข็ง    เป็นกลไกใช้พลังของ DE ในการเปลี่ยนโฉมมหาวิทยาลัย ตามความฝันข้างต้น            

วิจารณ์ พานิช 

๒๘ ก.ย. ๖๔

 

 

หมายเลขบันทึก: 693181เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2021 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2021 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท