มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา  : 4. ระบบวิชาชีพด้านการศึกษา 


  

บันทึกที่ ๑   บันทึกที่ ๒  บันทึกที่ ๓

ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) ของคุรุสภา ในฐานะที่ปรึกษา เป็นครั้งที่สี่ ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๔   วาระการประชุมที่มีแต่วาระประจำทั้งหมด    ไม่มีเรื่องเชิงสร้างสรรค์ และเรื่องเชิงระบบเลย    นำไปสู่ชื่อบันทึกนี้    

วาระเพื่อพิจารณาที่แจ้งก่อนการประชุมมีเพียง ๒ เรื่อง  เรื่องหนึ่งเป็นการขออนุมัติให้ผู้ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูท่านหนึ่ง ทำหน้าที่ประกอบวิชาชีพครูและผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาของกองทัพบก    อีกเรื่องหนึ่งเป็นการให้ความเห็นชอบให้ สพฐ. ออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพให้แก่ผู้สอบแข่งขันได้ ตำแหน่งครูผู้ช่วยฯ ปี ๒๕๖๔  ที่จะต้องส่งเรื่องต่อไปให้คุรุสภาอนุมัติ   

นอกจากนั้นเป็นเรื่องที่ประธานยกขึ้นมาปรึกษาหารือ  เรื่องการปรับปรุงข้อบังคับของคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ   เรื่องการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู    เรื่องการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด ๑๙    และ เรื่องแนวทางอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพแก่ผู้ไม่มีใบอนุญาต           

ผมนึกออกแล้ว    กมว. ในรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน มุ่ง “รักษามาตรฐานวิชาชีพ” ด้านการศึกษา     ในขณะที่ผมมีจริตไปในทาง “พัฒนามาตรฐานวิชาชีพ” เพราะผมมองว่า เวลานี้วิชาชีพด้านการศึกษาตกต่ำ    โดยบางส่วนครอบงำโดยผลประโยชน์ที่มิชอบของคนในวงการศึกษาเอง    และบางส่วนครอบงำโดยการเมือง    เป็นการครอบงำแบบไม่กล้าเปิดเผยพฤติกรรม    เพราะเป็นพฤติกรรมที่ผิดทำนองคลองธรรม       

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.ค. ๖๔   

 

หมายเลขบันทึก: 691572เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2021 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2021 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การศึกษาชาติยังคงตกต่ำกันอยู่มิเสื่อมคลาย

คำถามมักจะเกิดขึ้นเสมอว่า “คุรุสภา” กำลังทำอะไรอยู่ หรือ ไม่ได้ทำอะไรเลย

;)…

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท