“เปิดโลกใหม่ ยุววิจัยปางมะผ้า”: โครงการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิเด็กกลุ่มชาติพันธุ์


ชุมชนจะเป็นหลักประกันให้สิทธิเด็กมีความยั่งยืน แต่ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ก โดยเฉพาะตัวเด็กเอง ต้องมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์สิทธิเด็กในชุมชนของตนอย่างเพียงพอ

ปัจจุบัน มีการรณรงค์เรื่องสิทธิเด็กกันมากขึ้น ทั้งโดยโรงเรียน และองค์กรพัฒนาเอกชน และกำลังจะพัฒนาไปสู่ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการหยิบยกเอาอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นอนุสัญญาสากลระหว่างประเทศที่ไทยร่วมลงนามรับรองเอาไว้ และ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พุทธศักราช 2546 ซึ่งปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว 

หากแต่เมื่อพิจารณาบริบททางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า อนุสัญญาและพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่สามารถเข้าถึงชุมชนได้ ทั้งนี้ เนื่องเพราะปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยทางกายภาพ เช่น ระยะทางที่กันดารห่างไกล และปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม เช่น ประชากรส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ เป็นต้น 

ในกลุ่มผู้นำเยาวชนจากอำเภอปางมะผ้า ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ได้แก่ ไทใหญ่ ลาหู่ ลีซู กะเหรี่ยง ซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนในระบบโรงเรียนที่แต่ละโรงเรียนคัดเลือกเป็นผู้แทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสโมสรเยาวชน ที่ได้รวมตัวกันขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาภายใต้ชื่อ สโมสรผู้นำเยาวชนเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน (สยชช.) โดยทั้งหมดเป็นผู้นำเด็กและเยาวชนศึกษา (ส่วนใหญ่เป็นหญิง) อยู่ในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลายจากโรงเรียนมัธยมต่างๆที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตตัวอำเภอปางมะผ้า ในส่วนของการรวมตัวสนิทสนมนั้น เนื่องจากโรงเรียนเหล่านี้ตั้งอยู่ใกล้กัน และมีกิจกรรมร่วมกันเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่โรงเรียนเดียวกันห้องเรียนเดียวกัน หรือผู้ที่อยู่หมู่บ้านเดียวกัน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะรู้จักใกล้ชิดกันเป็นอย่างดี  

 เหตุที่ประเด็น สิทธิเด็ก ได้กลายเป็นประเด็นที่กลุ่มเยาวชนสนใจมากกว่าประเด็นอื่นๆเพราะสมาชิกเยาวชนกลุ่มนี้ มาจากผู้นำเยาวชนซึ่งส่วนใหญ่ได้เคยผ่านการอบรมเรื่องสิทธิเด็กมาบ้างแล้ว จากในโรงเรียน หรือจากการเข้าค่ายฝึกอบรม หรือจากทั้งสองแหล่ง  แต่พวกเขาประสบปัญหาว่าไม่สามารถเชื่อมโยงจารีตประเพณีท้องถิ่นที่อยู่ในชุมชนเข้ากับ สิทธิเด็ก ที่พวกเขาผ่านการอบรมมาได้ เกิดความสับสนขัดแย้งในใจ และไม่เข้าใจวิถีปฏิบัติของผู้ใหญ่และกฎระเบียบตามจารีตประเพณีของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่มีต่อเด็กและเยาวชนอย่างพวกเขา

นอกจากนี้ เหตุผลอีกประการก็คือ เยาวชนกลุ่มนี้ได้ทำกิจกรรมด้านอื่นๆมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดทำสื่อ การฝึกทักษะการป้องกันภัยทางเพศ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการอยู่ เช่นเดียวกับองค์กรด้านเด็กและเยาวชนอื่นๆ แต่ในด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเกี่ยวกับ สิทธิเด็กนี้ ยังไม่ได้ริเริ่มทำ และไม่ใคร่มีคนทำ เป็นประเด็นใหม่ที่ท้าทายความสามารถของพวกเขา กลุ่มเยาวชนจึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง  

ในการพบปะกันของผู้นำกลุ่มเยาวชนตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา เสียงจากที่ประชุมได้สะท้อนว่าเยาวชนยังมีความต้องการที่จะศึกษาเรื่องสิทธิเด็กอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับบริบทชุมชนของตน โดยได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการและนักวิจัยท้องถิ่นในพื้นที่ว่าควรศึกษาผ่านโครงสร้างครอบครัวและเครือญาติ ซึ่งแตกต่างหลากหลายไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในเขตลุ่มน้ำลาง-น้ำของในอำเภอปางมะผ้าแห่งนี้ 

ล่าสุด ได้มีการประชุมหารือในกลุ่มผู้นำเยาวชนจากสโมสรผู้นำเยาวชนเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน (สยชช.) อำเภอปางมะผ้า ถึงการศึกษาวิจัยเรื่องสิทธิเด็กว่าสมควรให้มีการเชื่อมโยงกับโครงสร้างครอบครัวและเครือญาติตามจารีตประเพณีวัฒนธรรมชุมชนแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์เอาไว้ด้วย โดยให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยร่วมกับชุมชน จึงได้มีการลงมติในกลุ่มเยาวชนของสโมสรฯให้นำเสนอโครงการวิจัยนี้มายัง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมุ่งเน้นเป็นงานวิจัยทางด้านพื้นฐาน (Basic Research)  ที่ให้เด็กและชุมชนรู้จักสิทธิเด็กของตนเอง 

ผม (ในฐานะหัวหน้าโครงการ)และ สยชช. เห็นว่า หากพิจารณาเรื่องสิทธิเด็กแบบสากลแล้ว โดยทั่วไปจะเห็นว่าเป็นของใหม่ และเห็นเป็นเรื่องปัจเจก อยู่แยกส่วนจากโครงสร้างและระบบครอบครัว-เครือญาติที่มีลักษณะหลากหลายไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ขาดการเชื่อมโยงกับมิติทางสังคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจการเมืองทั้งในระดับจุลภาค ได้แก่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และมหภาค ได้แก่ รัฐบาล และประชาคมโลก อย่างเป็นประวัติศาสตร์ และค่อนข้างโดดเดี่ยวจากแนวคิดสิทธิชุมชน ทำให้ในทางปฏิบัติ สิทธิเด็กแบบสากลนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะไม่มีพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมมารองรับ และขาดการเชื่อมประสานกับสิทธิเด็กตามจารีตประเพณี   

นอกจากนี้ ผมและ สยชช.เห็นว่า ชุมชนจะเป็นหลักประกันให้สิทธิเด็กมีความยั่งยืน แต่ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ก โดยเฉพาะตัวเด็กเอง ต้องมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์สิทธิเด็กในชุมชนของตนอย่างเพียงพอ รู้จักเก็บข้อมูล ศึกษาปัญหาและถอดความหมายภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวพันกับสิทธิเด็ก ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้เด็กมีความเข้าใจที่เชื่อมโยงตัวตนของตนเองกับสิทธิเด็กตามจารีตประเพณีในชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นประวัติศาสตร์ เกิดความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของสิทธิเด็กในพื้นที่แล้ว   ยังทำให้ชุมชนท้องถิ่นตื่นตัวและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมด้านสิทธิเด็ก อันเป็นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การวิจัยด้านสิทธิเด็กอื่นๆที่เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการได้ง่ายขึ้น

 โครงการนี้มีคำถามการวิจัย/ วัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ครับ

1.      เพื่อศึกษาว่าระบบสิทธิเด็กต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโครงสร้างระบบครอบครัว-เครือญาติของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆบริเวณลุ่มน้ำลาง-น้ำของ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีโครงสร้างและรูปแบบอย่างไร สอดแทรกอยู่ในชุมชนอย่างหลากหลายและต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร ในเรื่องใดบ้าง

2.      โครงสร้างระบบสิทธิเด็กดังกล่าวมีพัฒนาการและมีความสัมพันธ์กับผู้คนกลุ่มต่างๆในท้องถิ่นอย่างไร อยู่ภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจการเมืองทั้งในระดับจุลภาค ได้แก่ หมู่บ้านตำบล อำเภอ จังหวัด และมหภาค ได้แก่ รัฐบาล และประชาคมโลก อย่างไร 

พื้นที่ศึกษา/ร่วมโครงการวิจัย

1. ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ หมู่บ้านแม่ละนา

2 .ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ยี (มูเซอแดง)หมู่บ้านวนาหลวง

3 .ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่นา (มูเซอดำ)หมู่บ้านบ่อไคร้

4 .ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู หมู่บ้านหนองผาจ้ำ-หนองตอง

5 .ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปาเกอะญอ (กะเหรี่ยง)หมู่บ้านเมืองแพม

6. ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ หมู่บ้านห้วยน้ำโป่ง

รวม 6 ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์  

ผลที่เราคาดว่าจะได้รับ มีดังนี้

1  เด็ก/เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ดำเนินการมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความหมายและคุณค่าของโครงสร้างและระบบสิทธิเด็กในชุมชน

2  เด็ก/เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์เกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการศึกษาวิจัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการแก้ปัญหาต่างๆในชุมชนของพวกเขาได้ในอนาคต

3  ชุมชนท้องถิ่นตื่นตัวและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมด้านสิทธิเด็ก อันเป็นฐานการเตรียมความพร้อมสำคัญที่จะนำไปสู่การวิจัยด้านสิทธิเด็กอื่นๆที่เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)เต็มรูปแบบในระยะต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น4  หน่วยงานด้านการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนอื่นๆที่สนใจหรือทำงานเกี่ยวข้องด้านสิทธิเด็กสามารถนำผลจากการวิจัย ไปปรับใช้ให้การดำเนินงานด้านสิทธิเด็กเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินงาน  1 ปี    (กันยายน 2549 – สิงหาคม 2550 ) เป็นโครงการระยะที่ 1 เน้นการถอดองค์ความรู้และรวบรวมองค์ความรู้ 

ตอนนี้ ทาง สยชช. ได้นำเดินการฝึกอบรม ยุววิจัยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวไทยพื้นราบและชาวไทใหญ่มาได้ประมาณสองเดือนกว่าแล้ว ผมก็เลยขอนำภาพการฝึกอบรม เปิดโลกใหม่ยุววิจัยปางมะผ้าที่จัดขึ้นนับแต่เดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา รวม 5 ครั้ง มาประชาสัมพันธ์กันครับ  

เวทีฝึกอบรมยุววิจัยปางมะผ้า ครั้งที่ 1

<address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"><hr></address> <address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"></address> <address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"></address> <div align="center"><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"><div style="text-align: center"></div></address></div><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"> เวทีฝึกอบรมยุววิจัยปางมะผ้า ครั้งที่ 2</address><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"><hr></address>   <address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"> เวทีฝึกอบรมยุววิจัยปางมะผ้า ครั้งที่ 3</address><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"><hr></address><p align="center"><div style="text-align: center"></div></p><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"> เวทีฝึกอบรมยุววิจัยปางมะผ้า ครั้งที่ 4</address><address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"><hr></address> <address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"></address> <address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"></address> เวทีฝึกอบรมยุววิจัยปางมะผ้า ครั้งที่ 5  <hr> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทีมยุววิจัยกำลังประชุมประจำเดือนครั้งที่ 1 </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p>


</span></span> และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา ผมและทางทีมยุววิจัยได้ลงไปแนะนำโครงการกับหมู่บ้านเป้าหมายพร้อมกับเก็บข้อมูลมาบางส่วน คือหมู่บ้านแม่ละนา อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน รายละเอียดจะได้นำมาบอกเล่าในโอกาสต่อไปนะครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท