KM ตอน..การถอดบทเรียน


การถอดบทเรียน การจัดการความรู้ หัวปลา ขุมความรู้ แก่นความรู้

     ได้การบ้านมานานแล้ว ..ในเรื่องKM แต่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจังซักทีเลย วันนี้ดูฤกษ์ยามแล้วเหมาะต่อการศึกษาเรื่องนี้เลยมาอ่านตามเอกสารที่หมอก้องให้มาแล้วรวบรวม เพื่อ...ให้พี่ๆน้องๆช่วยตรวจสอบความเข้าใจหน่อยเถอะค่ะว่า ถูกต้องหรือเปล่า? เพราะเป็นมือใหม่หัดขับ

     การถอดบทเรียน เป็นเทคนิคการจัดการความรู้ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเพื่อสกัดความรู้ฝังลึกที่มีในตัวคนจากประสบการณ์ออกมาเป็นบทเรียนที่สามารถนำมาสรุปและสังเคราะห์เป็นความรู้ เป็นคู่มือหรือตำรา ที่ให้คนอื่นสามารถเรียนรู้นำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพขึ้นได้

ถอดบทเรียนแล้วได้อะไร

kp-icon-9.gifปรับปรุงเทคนิคการทำงาน

kp-icon-9.gifทำให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

kp-icon-9.gifเกิดความภาคภูมิใจเมื่อได้เห็นพัฒนาการที่ดีขึ้น หลังจากนำบทเรียนไปปรับใช้

kp-icon-9.gif เกิดต้นแบบการทำงานที่ดี (best practice)

kp-icon-9.gifเกิดรูปแบบกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

kp-icon-9.gifเกิดความเข้าใจปัญหาการทำงานอย่างเป็นระบบ

kp-icon-9.gif เกิดการพัฒนายุทธศาสตร์การทำงานในระยะต่อไป

    การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดระบบ จัดเก็บ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ตรวจสอบ ต่อยอดความรู้สำหรับนำไปเผยแพร่และใช้งานต่อไป

    หัวปลา  เป็นหัวเรื่อง หรือเป้าหมายหรือโจทย์ที่ต้องการสกัดให้ได้ขุมความรู้จากผู้รู้ต่างๆ

   ขุมความรู้  เป็น เนื้อหาสำคัญที่สกัดได้จากการเล่าเรื่องของผู้รู้นั้นๆ

   แก่นความรู้  เป็น การนำขุมความรู้มาจัดเป็นกลุ่มๆ หรือเป็นหมวดหมู่

 ขั้นตอนการทำงานเรื่อง km

1. กำหนด "หัวปลา"=เรื่องที่ต้องการให้เล่า

2. คัดเลือกคนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องดังกล่าวมาเล่าเรื่อง

3. หากลวิธีให้เกิดการเล่าเรื่อง ...ที่จะทดลองทำใน OPD ก็ว่าจะลองให้เขียนถ่ายทอดความรู้ของตนเองลงในบันทึก

4. นำข้อมูลที่ได้มาสกัดเป็น"ขุมความรู้"

5. รวบรวมขุมความรู้เป็นกลุ่มเดียวกันให้เป็น"แก่นความรู้"

6. หากลวิธีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้...ที่จะลองทำก็คือ จัดบอร์ดให้ชาวศูนย์ได้อ่านเรียนรู้กัน ทำอัลบั้มให้บุคคลทั่วไปที่สนใจอ่าน นำข้อมูลที่ได้มาลงผ่าน blog

    ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกต้องมั้ยค่ะ   แล้วสำคัญคือมาถูกแนวหรือยังค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 67826เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ลองหาเวลามาทำกลุ่ม เล่าเรื่องร่วมกันสิคะ จะได้บรรยากาศ และความมีส่วนร่วมที่ดี และเลือกให้เล่าเรื่อง ความสำเร็จ หรือความภูมิใจที่ทุกคนสามารถจะเล่าได้ ... รับรอง จะเกิดความประทับใจให้กับทุกคนละค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท