12 เรื่อง การประเมิน...ความสามารถในการออม


เรื่อง  การประเมิน...ความสามารถในการออม

เขียนโดย... สอนลอ โสตุกี ( Sonelor Sotouki )

แปลโดย...อุทัย เอกสะพัง ( Uthai Eksaphang )

    เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง  นี่คือคำกล่าวที่ผมจำมาตลอด  เมื่อเวลาทำอะไรต้องได้มีการวางแผนก่อนเช่นเดียวกันกับการออมเงินหรือการเก็บเงินคนส่วนใหญ่ไม่สามารถเก็บเงินได้  เพราะไม่ได้มีการวางแผนการออมที่ดีมาตั้งแต่ต้น  ไม่ได้ทำการประเมินรายรับ-รายจ่ายและความสามารถในการออมของตนก่อน

        คนส่วนใหญ่  90% ประสบความล้มเหลวในการออม  เพราะพวกเขาไม่ได้มีการวางแผนการออมที่ดีมาตั้งแต่ต้น  ไม่ได้มีการประเมินความสามารถในการออมของตนมาก่อนว่าตนเองสามารถเก็บได้มากน้อยเพียงใด.?  เมื่อไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายการออม  ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินและระยะเวลาในการออมให้ชัดเจน  นี้เก็บสิบ  นี้เก็บญี่สิบนี้เก็บแสน...นี้ไม่เก็บกล่าวง่าย ๆ คือไม่ได้มีการคิดทบทวนอะไรเลย...ไม่รู้เลยว่าเราต้องจ่ายเท่าใด  เก็บเท่าใดเก็บเพื่ออะไรและต้องเก็บกี่ปี

        สุดท้ายก็ไม่ได้อะไร  และกลับมาบอกตัวเองว่าไม่สามารถเก็บได้เพราะมีรายรับแต่น้อยเดียว  มีรายจ่ายมากต่าง ๆ นา ๆ เป็นข้ออ้าง  การออมเงินนี้เรื่องใหญ่  แต่ไม่ใช่เรื่องยากคุณสามารถทำได้ไม่ว่าคุณจะมีรายรับมากหรือน้อยก็ตาม

        เมื่อคุณมีรายรับน้อยคุณก็ต้องเก็บได้น้อย  ถ้าคุณมีการวางแผนการออมที่ดีมีการเริ่มต้นที่ดีและปฏิบัติให้สม่ำเสมอ  คุณสามารถในการประเมินความสามารถในการออมของคุณได้  ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 ประเมินรายรับ

ขั้นตอนแรกในการประเมินความสามารถในการออมของคุณคือการประเมินรายรับ-รายรับ  เป็นการคิดทบทวนว่า  คุณมีรายรับมาจากไหน..?  และรายรับเท่าใดในแต่ละเดือน..?  การประเมินรายรับเป็นการวิเคราะห์เพื่อให้รู้ว่า  รายรับของคุณในแต่ละเดือนนั้นเพียงพอต่อการใช้จ่ายหรือไม่..?  และคุณมีเงินเหลืออยู่เท่าใดที่จะออม..?

ตัวอย่างการบันทึกรายรับ

รายรับ/เดือน

1.เงินเดือน                                =  4,000,000                            กีบ

2.รายได้จากธุรกิจ                        =  8,000,000                            กีบ

รวมรายรับ                                =  12,000,000                          กีบ

ตามตารางนี้  แสดงให้เห็นว่า  คุณมีรายรับมาจาก 2 ช่องทางคือ  รายรับที่เป็นเงินเดือน

4,000,000 กีบต่อเดือนและรายรับจากการทำธุรกิจ  8,000,000  กีบต่อเดือน  ซึ่งรวมทั้งหมดแล้ว  คุณมีรายรับ  12,000,000  กีบต่อเดือน

...............................................

*เป็นข้อมูลที่สมมุติขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 2 ประเมินรายจ่าย

        การประเมินรายจ่ายเป็นการคิดทบทวนว่าคุณมีรายจ่างเท่าใดในแต่ละเดือน..?  ซึ่งผมแบ่งรายจ่ายทั่วไปออกไปออกเป็น 2 ประเภทคือรายจ่ายที่จำเป็นและรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 

รายจ่ายที่จำเป็นคืออะไร..?

        คือรายจ่ายที่ต้องจ่ายเช่น  ค่าน้ำ  ค่าไฟ  ค่าเรียนของลูก  ค่าเช่าบ้าน  ค่างวดผ่อนรถและอื่น ๆ รายจ่ายที่จำเป็น  คือ  รายจ่ายที่ต้องได้จ่ายในทุกเดือนและไม่สามารถยกเว้นได้  ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ  เช่น  ถ้าคุณเช่าบ้านอยู่  คุณต้องได้เสียค่าเช่าบ้านไม่จ่ายไม่ได้  ถ้าการเงินคุณไม่พร้อมจริงและคุณต้องการประหยัดเงิน  คุณสามารถทำได้  ด้วยการย้ายไปหาที่เช่าถูกกว่านั้น

รายจ่ายที่ไม่จำเป็นคืออะไร..?

        คือรายจ่ายที่คุณสามารถหักเอาได้หรือสามารถชะลอจ่ายได้เช่น  ค่ากิน  น้ำมันรถใหญ่  บัตรโทรศัพท์  อินเทอร์เน็ต  เครื่องสำอาง  ยาสูบ  เหล้าเบียต่าง ๆ   รายจ่ายส่วนนี้เป็นรายจ่ายที่ผมเชื่อว่าคุณสามารถควบคุมได้  บางคน  รายจ่ายเหล่านี้ยังมากกว่ารายจ่ายที่ต้องจ่าย  รายจ่ายเหล่านี้  ส่วนมากจะไม่ได้จ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่  เป็นการจ่ายย่อย ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าคุณจดบันทึกการจ่ายแต่ละอัน  เมื่อสิ้นเดือนมา  คุณลองคิดทบทวนดูผมเชื่อว่า  คุณต้องอ้าปากค้างแน่นอน

        คุณสามารถบันทึกรายจ่ายแบบง่าย ๆ ได้  เช่น

รายจ่าย / เดือน

1.รายจ่ายที่จำเป็น

     -ค่าเทอมลูก                               500,000   กีบ

     -ค่าผ่อนรถใหญ่                          3,500,000  กีบ

     -ค่าเช่าห้อง                                 750,000  กีบ

รวมรายจ่ายที่ต้องจ่าย                       4,750,000  กีบ

2.รายจ่ายไม่จำเป็น

     -ไปตลาดซื้ออาหาร                       800,000   กีบ

     -อินเทอร์เน็ต                              250,000   กีบ

     -ยาสูบ                                      100,000   กีบ

     -ค่าสมาชิกฟิตเนส                         400,000   กีบ

     -ทานอาหาร                                750,000   กีบ

รวมรายจ่ายที่ไม่จำเป็น                       2,300,000  กีบ

รวมรายจ่าย / เดือน                          7,050,000   กีบ

..................................................................

*เป็นข้อมูลที่สมมุติขึ้นมา

นี่คือตัวอย่างการคำนวณหรือบันทึกรายจ่ายในแต่ละวัน  แต่ละเดือนของคุณเป็นรายการที่ผมสมมุติขึ้นมาเท่านั้น  ความจริงรายรับและรายจ่ายของคนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันมาก  อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างและเป็นแนวทางให้คุณดูเท่านั้น

        ทำไมผมจึงแยกออกเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็น  เพราะรายจ่ายที่จำเป็น   เป็นรายจ่ายที่คุณต้องได้จ่ายและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  ส่วนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นคือรายจ่ายที่คุณสามารถลดหย่อนหรือตัดออกเลยก็ได้

        ฉะนั้น  คุณจำเป็นต้องได้จำแนกรายจ่ายแต่ละอย่างของคุณให้ละเอียด  เพื่อไม่ให้สับสนและค้นหาช่องทาง  ในการแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด  หลังจากคุณรู้รายรับและรายจ่ายของคุณละเอียด  ดังตัวอย่างที่ผมได้ยกขึ้นมาแล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือการประเมินว่า  คุณมีเงินเหลือเท่าใดในแต่ละเดือน  ซึ่งคุณสามารถนำเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้น  ไปตั้งเป้าหมายการเก็บได้

         รายรับ / เดือน

1.เงินเดือน                                  4,000,000   กีบ

2.รายได้จากธุรกิจ                          8,000,000   กีบ

         รวมรายรับ                                  12,000,000  กีบ

รายจ่าย / เดือน

1.รายจ่ายที่จำเป็น

     -ค่าเทอมลูก                               500,000   กีบ

     -ค่าผ่อนรถใหญ่                          3,500,000  กีบ

     -ค่าเช่าห้อง                                 750,000  กีบ

รวมรายจ่ายที่ต้องจ่าย                       4,750,000  กีบ

2.รายจ่ายไม่จำเป็น

     -ไปตลาดซื้ออาหาร                       800,000   กีบ

     -อินเทอร์เน็ต                              250,000   กีบ

     -ยาสูบ                                      100,000   กีบ

     -ค่าสมาชิกฟิตเนส                         400,000   กีบ

     -ทานอาหาร                                750,000   กีบ

รวมรายจ่ายที่ไม่จำเป็น                       2,300,000  กีบ

         รวมรายจ่าย / เดือน                         7,050,000   กีบ

         เงินเหลือต่อเดือน                             4,950,000   กีบ

จากข้อมูลที่สมมุติมาข้างบนนี้  เห็นว่า  ภายใน 1 เดือนหลังจากการนำรายจ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายประจำมาหักรายรับออกแล้ว  คุณยังมีเงินเหลืออยู่ 4,950,000 กีบ  แสดงว่าคุณมีความสามารถในการออมได้  4,950,000 กีบ  ซึ่งเงินจำนวนนี้  คุณสามารถนำไปเก็บตามแผนของคุณไว้ได้  โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรายจ่ายต่าง ๆ เพราะคุณได้คิดทบทวนและหักออกหมดแล้ว  สิ่งสำคัญคุณต้องปฏิบัติตามแผนการจ่ายเงินให้ได้และถ้าคุณไม่แน่ใจ  คุณสามารถกันเงินจำนวนหนึ่งออกเพื่อเป็นเงินสำรองไว้ในครอบครัว  แล้วเอาส่วนที่เหลือไปเก็บตามเป้าหมายที่กำหนดได้เลย  แล้วเอาส่วนที่เหลือไปเก็บตามเป้าหมายที่กำหนดได้เลย

        ถ้าสมมุติว่า  รายรับและรายจ่ายอยู่ในระดับเดียวกับรายรับรายจ่ายแล้ว  ไม่มีเงินเหลือหรือเหลือเพียงนิดเดียว  จนคุณรู้สึกว่าไม่สามารถนำไปเก็บได้  คุณจะทำแบบใด..?

แสดงว่าสถานะทางการเงินของคุณยังไม่มีความคล่องตัว  คุณยังไม่พร้อมที่จะออมซึ่งคุณต้องได้อดรวยไว้ก่อน

        แต่ถ้าคุณอยากออมจริง ๆ แล้ว  วิธีที่สามารถแก้ได้ชั่วคราวคือ  ไปค้นหารายจ่ายของคุณ  โดยเฉพาะรายจ่ายที่ไม่จำเป็นคุณลองไปศึกษาดูให้ดีว่า  แต่ละเดือนคุณจ่ายเงินที่ไม่จำเป็นต้องจ่ายไปมากเท่าใดแล้วถามตัวเองว่า  คุณสามารถตัดค่าใช่จ่ายรายการใดออกได้บ้าง..?

        วิธีการแก้ไขชั่วคราวที่คุณสามารถทำได้ทันทีคือการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปแล้วคุณจะมีเงินเหลือมากขึ้นและสามารถนำเอาไปสร้างเงินออมได้

        สำหรับวิธีในการแก้ไขปัญหาทางด้านการเงินเพื่อคุณสามารถอยู่รอดหรือเพื่อสามารถเริ่มสร้างเงินออมได้นั้น  ผมแนะนำว่ามี  2 วิธี  คือ  การหยุดรายจ่ายและการสร้างรายรับ

วิธีที่ 1 การหยุดรายจ่าย

        เป็นการตัดค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกดังตารางข้างบนนี้

วิธีการตัดรายจ่ายเป็นวิธีที่คุณสามารถทำได้ทันที  แต่เป็นเพียงวิธีที่สามารถแก้มันได้ชั่วคราวเท่านั้น  เพราะความต้องการในการบริโภคและอัตราเงินเฟ้อมันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   ทำให้คุณไม่สามารถปฏิบัติอดมื้ออดกินหรือ  Live  below  your  means  ไปในระยะยาวได้

วิธีที่  2 การสร้างรายรับเพิ่ม

        เป็นวิธีที่ดีที่สุด  การตัดรายจ่ายออกนั้นคุณสามารถทำได้  ในระยะสั้นเท่านั้น  แต่เพื่อความมั่นคงในชีวิตในระยะยาวเพื่อคุณสามารถออมเงินได้มากขึ้น  การค้นหาช่องทางในการสร้างรายรับเพิ่มขึ้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุด  ปกติคนเราสามารถสร้างรายรับมาได้หลายช่องทาง  เช่นว่า  เงินเดือน  เงินจากการค้าขาย  รายรับเสริมจากการขายเครื่องออนไลน์  การสอนหนังสือพิเศษ  เงินปันผลจากการลงทุนและอื่น ๆ   ผมเข้าใจว่า เมื่อพูดถึงรายรับทุกคนจะดูไปที่ต้นทุนคือจะทำธุรกิจอะไร  ก็ต้องมีต้นทุนจะหาเงินที่ไหนมาลงทุน..?  ประมาณนี้

        ผมก็ชอบถามตัวเองและชอบตอบผู้อื่นแบบนั้นเช่นกัน  แต่ผมเป็นคนที่ไม่ชอบเกี่ยงงาน...งานไหนทำแล้วมีรายรับทำแล้วได้เงินผมทำทันที

        นับตั้งแต่เริ่มขายจี่ก้อยริมทาง  ไปขอรับสินค้ามือสองมาขายตามฟุตบาท  เข็นล้อขายเครื่องผมทำมาหมด...ผมไม่ใช่คนประสบผลสำเร็จ  ผมยังเป็นเป็นคนจน ๆ แต่ผมผ่านขั้นตอนฟ้ามืดตามัว  ไม่มีเงินจ่ายนั้นมาแล้ว  ทุกวันนี้  ผมกำลังปฏิบัติแผนการเก็บเงินให้ได้ตามเป้าหมายและผมก็กำลังลงทุนสะสมในตลาดหุ้น  เพื่อผมจะได้เป็นอิสรภาพทางด้านการเงินตามแผนระยะทางของผมในอนาคต

        ผมอยากบอกคุณว่า  ทุกวันนี้ทำอะไรก็ดีหมด  ถ้าคุณตั้งใจทำจริง  เทคโนโลยีก็ทันสมัย  คุณสามารถหาเงินด้วยการเล่นอินเทอร์เน็ตได้หลาย ๆ วิธี  ขายเครื่องทางเฟสบุค  เป็นนายหน้าซื้อขายสินค้า  นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ หลายอย่างที่คุณสามารถทำได้  โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเลยก็มี  ขอให้คุณทดลองศึกษาดูนะ.

..............................................................

ปล.  แปลจากต้นฉบับภาษาลาว.

หมายเลขบันทึก: 661034เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2019 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2019 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท