เรื่องเล่าอิสรชน : วิกฤตหรือโอกาส


ก่อนอื่นจะต้องปรับที่ทัศนคติและสร้างความยอมรับตั้งแต่ระดับนโยบายเรื่อยลงมาจนถึงระดับปฏิบัติงานของรัฐบาลเลยทีเดียว และที่สำคัญหากรัฐเองไม่สามารถจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนี้ได้อย่างลงลึกแล้ว ก็ควรที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้ภาคเอกชนที่มีความสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมแก้ไขด้วยการสนับสนุนให้กรทำงานเกิดการขับเคลื่อนได้อย่างจริงจังและต่อเนื่องยั่งยืนแปรวิกฤตของสังคมให้เป็นโอกาสในการสร้างสังคมที่เกื้อกูลกัน

วิกฤตหรือโอกาส 

     ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งทางความิดในสังคมที่ดำนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปลายปี 2547 มาจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดความวุ่นวายสับสนมากมายในสังคมไทย จนหลายฝ่ายมองว่าคือว่าแตกแยก ความไม่รู้รักสามัคคี ?? ต่างฝ่ายต่างขุดคุ้ยเรื่องไม่ดีของฝ่ายตรงข้ามออกมานเสนอต่อสาธารณชน(ประจาน) โดยอ้างว่าทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติและผลประโยชน์ประชาชน ?? และเมื่อความสุกงอมเดินมาถึงจุดหนึ่งข้างฝ่ายที่มีอำนาจทางกรทหารอยู่ในบังคับบัญชาก็แสดงพลังในการตัดสินใจ โดยอ้างว่าเป็นการตัดสินในเพื่อประเทศชาติบ้านเมือง อีกฝ่ายหนึ่งที่ตอนนี้ต้องเรียกว่าฝ่ายอำนาจเก่า เมื่อผู้นำสูญเสียอำนาจก็พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อเรียกร้องความเห็นใจและความถูกต้องตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งบางครั้งบางคราวก้อาศัยจังหวะที่ อีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมประชาธิปไตยที่ออกมาเรียกร้องและต่อต้านเผด็จการทหาร เลยทำให้ ฝ่ายที่มีอำนาจอยู่ในมือในปัจจุบันเหมารวมเอาว่าเป็นพวกฝ่ายอำนาจเก่าทั้งหมด ?? 

     วิกฤตของสังคมไทยที่ เกิดความแตกแยกอย่างชัดเจนเกิดขึ้นทันทีที่ มีการกระทำรัฐประหาร ไม่ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ เพราะก่อนหน้านี้ เป็นเพียงความเห็นแย้งภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน แต่ปัจจุบัน เป็นความเห็นแย้งในเรื่องของการใช้อำนาจภายใต้ระบอบดำเนินการตัดสินเหตุการณ์ทางการเมือง เป็นความขัดแย้งระหว่างระบอบทหารที่อ้างว่าเป็นทหารภายใต้ระบอบประชาธิปไตย กับประชาชนที่นิยมประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่ไม่ได้มองการแก้ไขปัยหาไปในทิศทางเดียวกัน อันเนื่องมาจากฐานความคิดทางการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมือนกัน ที่กล่าวมาเป็นเพียงการเกริ่นนำการทำงานภายใต้สถานการณ์ที่ยากต่อการคาดเดา ว่า จะถือให้เป็นวิกฤต หรือโอกาสในการทำงานภาคสังคมโดยเฉพาะกับการทำงานกับกลุ่มคนที่สังคมทุกระดับชั้น ทุกวงการมองข้ามผ่าน และไม่เคยนึกถึง ไม่นับรวมเข้าเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาแต่อย่างใด สรุปได้จากการที่เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปยอดกลุ่มคนด้อยโอกาสที บอกว่ามีกว่า 1 ล้านคน ที่ในจำนวนนั้น ไม่มีคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน อยู่ในแผนที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือแต่อย่างใด ??? 

     แทบจะสรุปได้ว่า คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน จะยังประสบกับวิกฤตอยู่แบบนี้ไปอีกนาน เพราะคนในสังคมส่วนใหญ่ยังมีเจตคติว่า คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน เป็นคนขี้เกียจ ไร้คุณภาพ เป็นภาระของสังคม และไม่เคยคิดที่จะเคารพในศักยพภาพหรือเคารพในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของคนกลุ่มนี้เลย เพราะไม่ว่าจะผ่านมีกี่ยุคกี่สมัย ตั้งแต่ กรมประชาสงเคราะห์ ยังอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย และย้ายมาอยู่กับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จนเปลี่ยนมาเป็นกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ภายใต้สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็ตามที ก็ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างจริง ๆ จัง ๆ  ที่ ก่อนอื่นจะต้องปรับที่ทัศนคติและสร้างความยอมรับตั้งแต่ระดับนโยบายเรื่อยลงมาจนถึงระดับปฏิบัติงานของรัฐบาลเลยทีเดียว และที่สำคัญหากรัฐเองไม่สามารถจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนี้ได้อย่างลงลึกแล้ว ก็ควรที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้ภาคเอกชนที่มีความสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมแก้ไขด้วยการสนับสนุนให้กรทำงานเกิดการขับเคลื่อนได้อย่างจริงจังและต่อเนื่องยั่งยืนแปรวิกฤตของสังคมให้เป็นโอกาสในการสร้างสังคมที่เกื้อกูลกัน 

หมายเลขบันทึก: 64946เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2006 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท