1 ธ.ค.49 ช่วงที่นั่งรถตู้ของสถาบันเพื่อไปเข้าร่วมประชุมที่ไบเทคบางนา "หมอหน่อย"ถามพวกเราในรถว่าใครสนใจเข้าร่วมในประเด็นไหน จะได้แบ่งทีมไปเรียนรู้เพื่อนำมาลปรร.และ AARกันภายหลังที่บำราศฯ ช่วงแรกดิฉันยังไม่ได้เลือก แต่หลังจากได้ล้างใจและลับคมความคิดจากวีดีทัศน์ “การขับเคลื่อนเครือข่าย KM ประเทศไทย”พิธีกล่าวเปิดโดยศ.นพ.วิจารณ์และปาฐกถา “ KMในบริบทความเป็นไท” ดิฉันจึงตัดสินใจเลือกชาร์ทแบตตัวเองโดยเข้าฟังอ.ประพนธ์ ผาสุกยืด เรื่อง “ไหลลื่นไปกับคลื่นแห่งปัญญา” ในช่วงเช้า ส่วนในช่วงบ่าย ดิฉันอยากเรียนรู้ประสบการณ์KMในบริบทโรงพยาบาลและภาคเอกชนบ้าง จึงเลือกไปฟังห้องเครือข่ายKMของแท้ มีแน่ๆ ไม่ใข่เพียงแค่จัดฉาก และห้อง “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”ของปูนแก่งคอย สรุปสาระที่ได้ในวันแรก
KM ในบริบทของความเป็นไท 5 ประการ ได้แก่ วิถีไท, คนไท, สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติไท,สิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นแบบไท และองค์ความรู้เพื่อความเป็นไท โดยต้องหาจุดพอดีในบริบทไท 3 ประการได้แก่ พอดีในเรื่องวิทยาศาสตร์กับเรื่องอื่นๆ,พอดีในการพึ่งพาตนเองกับการพึ่งพานอกตน และพอดีในความมั่นคงกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรลุเป้าหมาย KM ในบริบทของความเป็นไท 5 ประการ คือ KM เพื่อลดสิ่งปนเปื้อน มุ่งส่งเสริมความบริสุทธิ์ ลดสิ่งรบกวนใจ มุ่งส่งเสริมความสงบสุข ลดความหลงผิด มุ่งส่งเสริมความมั่นใจ และ KM เพื่อลดข้อเย้ยหยัน มุ่งส่งเสริมกัลยาณมิตร
“ไหลลื่นไปกับคลื่นแห่งปัญญา” โดยอ.ประพนธ์ ผาสุกยืด ได้เล่าให้ฟังว่ามาสนใจ LO เห็นพลังแห่งนวัตกรรม และมาทำ KMเต็มเวลาตั้งแต่ปี2547 จนกระทั่งพบว่าคลื่นแห่งปัญญาคือคำตอบ อาจารย์ได้บอกเส้นทาง KMมีทั้งทางมืดและทางสว่าง ทางมืดได้แก่ การมัวแต่ถกเถียงกันเรื่องนิยามความหมาย การทำให้ได้ออกมาเป็นขั้นตอน(ตายตัว) การสอนให้คนเดินตาม และพยายามจะควบคุม ทางสว่างคือ เข้าใจแก่นแท้ แน่วแน่ที่จะทำ นำกลับมาแชร์ และแก้ไขปรับปรุง โดยสามารถก้าวข้ามหลุมดำด้วย 3 L (learning,living together,leading )
ช่วงบ่าย เข้าฟังเรื่องเล่าจากคุณอำนวยเครือข่าย KMจังหวัดตากจากพยาบาล 3 ท่าน เกี่ยวกับประสบการณ์ KMในรพ.และPCU
ห้องสุดท้ายที่เข้าฟังในวันนี้คือ ห้องการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยปูนแก่งคอย ที่สนใจห้องนี้เพราะกำลังช่วย"พี่มอม"พัฒนาทีมเวชระเบียน ของบำราศฯ และคุณทวีสินเป็น blogger ท่านหนึ่งที่ดิฉันติดตามอ่าน ในG2Kจึงอยากทราบเรื่องHRDที่มีชื่อเสียง ซึ่งก็เสียดายที่ได้ฟังช่วงท้ายท้ายๆ แต่ก็ยังพอประติดประต่อได้ว่า มีการนำกลยุทธลปรร.ผ่านรูปแบบ Cell Management (one cell one projectหรือที่เรียกว่า 0cop ) โดยทีมงานคุณอำนวยที่เข้มแข็ง ผ่าน 4 มุมมองได้แก่ Leader ship ,management, ownership, Enablement มีเวทีshow&share เดือนละครั้ง ใช้ OHI (organization health index ) เป็นดัชนีชี้วัดโดยวัดความสุขพนักงานว่าบรรลุหรือไม่ (ท่านใดฟังตลอดอยากให้ช่วยเติมค่ะ)
คำพูดโดนใจ
จากศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ
“คนเช็ดกระจกในญี่ปุ่นทำงานด้วยความภาคภูมิใจ เมื่อเสร็จงานได้โค้งขอบคุณที่มีงานดีๆให้ทำ”
“คนไทยเป็นประเทศเดียวในโลก(มั้ง)ที่หมั่นใส้คนได้โดยไม่รู้จักกัน”
จากศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
“เคล็ดลับของการจัดการความรู้คือการต่อยอด นำความสำเร็จมาลปรร.กัน
”“หัวใจของการจัดการความรู้คือการปฏิบัติ”
“ทักษะการจัดการความรู้ คือการฟัง, การนำความรู้ไปปฏิบัติในบริบทของตนเอง, การลปรร.อย่างมีสมาธิ และจิตเปิด, การบันทึกเพื่อใช้เองหรือให้เพื่อนใช้ และ ฯลฯ”
จากอ.ประพนธ์ ผาสุกยืด
“พลังที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อเรามุ่งที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง”
“มีแผนที่แต่ขับรถไม่เป็นสักคน ก็ไร้ประโยชน์ .....ไม่ให้แผนที่ แต่จะจุดไฟเพื่อค้นหา”
“KM ช่วยได้แค่รู้จำ ทำเป็น แต่ต้องเห็นจริงด้วยตัวเอง”
“ถึงเราจะบังคับคลื่นลมไม่ได้ แต่ปรับตัวปรับใจเราได้”
จากปูนแก่งคอย
“การพัฒนาเริ่มจาก need แล้วจะพัฒนา ไปเอง”
“Leader is role model & Leader is culture”
“เชื่อในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่เชื่อ”
นี่สำหรับวันแรกค่ะ เชิญต่อเติมได้ค่ะ
ขอบคุณที่สรุปให้ค่ะ