ดูงานด้านการศึกษาที่สิงคโปร์ : 3. การศึกษากับการพัฒนาเมืองน่าอยู่



เย็นและค่ำวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๑ นอกจากไปรับประทานอาหารเย็นที่ Tanah Merah Country Club ซึ่งอยู่ใกล้สนามบินชางงี แล้ว    ยังมีรายการ Dinner Talk เรื่อง How can we use education, knowledge and technology to build a most livable and pleasure city, The Singapore experience  โดย Mr. Yap Kheng Guan, former Director in charge of the Marina Barrage Project, former senior consultant, PUB Professor (Adj.) NTU  

คุณยัพเป็นมือขวาของอดีตนายกรัฐมนตรี ลีกวนยู ในการพัฒนาระบบการจัดการน้ำของสิงคโปร์   ทั้งด้านพัฒนาแหล่งน้ำใช้ จากเดิมมีแหล่งเก็บน้ำเพียง ๓ ที่ เพิ่มเป็น ๑๗ ที่   และทำให้สองในสามของพื้นที่ของสิงคโปร์เป็นพื้นที่รองรับน้ำฝนไปกักเก็บ  โดยมีแผนเพิ่มเป็นร้อยละ ๙๐,    จากที่ประชาชนต้องเอากระป๋องไปรองน้ำ เอาไปใช้ที่บ้าน เป็นมีน้ำประปาสะอาดดื่มได้ ใช้ทั่วถึงทุกบ้าน    ด้านป้องกันน้ำท่วม ที่เดิมท่วมเสมอหลังฝนตก เป็นไม่ท่วมเลย    และด้านน้ำเสีย ที่เดิมในแม่น้ำสิงคโปร์เป็นน้ำครำ    เวลานี้สะอาดบริสุทธิ์   และด้านการทำน้ำจืดจากน้ำเค็ม    และรีไซเคิ่ลน้ำเสีย เป็นน้ำดีดื่มได้    โดยนำมาบรรจุขวดเป็นน้ำดื่ม เรียกว่า NeWater  และนายกรัฐมนตรีดื่มเป็นตัวอย่างออกทีวี   ไกด์ที่เป็นคนไทยเล่าว่า มีคนตาไวดูหมายเลขขวดน้ำเอาไปแทงหวย ถูกรางวัลที่ ๑  รวยไปตามๆ กัน   และช่วยประโคมความน่าเชื่อถือต่อน้ำรีไซเคิ่ล   

เวลานี้ ร้อยละ ๓๐ ของน้ำใช้ในสิงคโปร์เป็น NeWater  

นอกจากนั้น ท่านยังมีส่วนในโครงการสร้างเขื่อนที่ Marina Bay   และทำให้น้ำในอ่าวกลายเป็นน้ำจืด   ในเวลา ๒ ปี    เขื่อนนี้สนองประโยชน์ ๓ ด้าน คือ ป้องกันน้ำท่วม  กักน้ำไว้ใช้  และเป็นบริเวณพักผ่อนหย่อนใจ  

หลักการของการจัดการน้ำใช้ของสิงคโปร์ ๓ ประการ ได้แก่  (๑) กักเก็บทุกหยดของน้ำฝน  (๒) เก็บทุกหยดของน้ำที่ใช้แล้ว  (๓) นำน้ำใช้แล้วมาใช้ใหม่มากกว่า ๑ ครั้ง   

เวลานี้สิงคโปร์ใช้น้ำจาก ๔ แหล่ง ได้แก่  (๑) ทำน้ำจืดจากน้ำทะเล  (๒) น้ำที่กักเก็บจากน้ำฝน  (๓) นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลซีย)  (๔) NeWater

การจัดการน้ำประสบผลสำเร็จเพราะใช้หลักการร่วมมือ 3P (people, private, public)    และใช้หลักการน้ำ ABC (active, beautiful, clean)  

จากประเทศที่ต้องดิ้นรนเพื่อให้มีน้ำพอใช้    สิงคโปร์ในปัจจุบันกลายเป็น Global Hydrohub   มีเทคโนโลยีจัดการน้ำที่ก้าวหน้า    ที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโลกได้ 

โยงเข้าสู่เรื่องการศึกษา หรือการเรียนรู้    วิกฤติคือโอกาส     ความขาดแคลนเป็นแรงขับเคลื่อนความมานะพยายามและเรียนรู้ต่อเนื่อง    สู่ความก้าวหน้า มั่นคง และยั่งยืน       

วิจารณ์ พานิช        

๒๕ เม.ย. ๖๑

บนเครื่องบิน ไทย ไลอ้อน แอร์  จากสิงคโปร์กลับสนามบินดอนเมือง

   

 

หมายเลขบันทึก: 647833เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2018 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2018 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท