อ่านอนาคต 7: เดินทางไปไหนก็ได้ทั่วโลกใน 1 ชั่วโมง!! [ความคืบหน้าโครงการล่าสุดของ SpaceX]


ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา บริษัท SpaceX ซึ่งมุ่งมั่นจะส่งยานอวกาศไปยังดาวอังคารและพัฒนาจรวจที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ได้เปิดตัวคลิปวิดิโอสั้นๆ แสดงถึงโครงการหนึ่งที่กำลังดำเนินการ (https://www.youtube.com/watch?v=zqE-ultsWt0) คลิปวิดิโอนั้น แสดงถึงการเดินทางไปไหนก็ได้ในโลกใบนี้ได้ภายในไม่เกิน 1 ชั่วโมงโดยจรวดของ SpaceX ซึ่งสร้างความประหลาดใจ อัศจรรย์ใจ ให้กับผู้คนทั่วโลก 
.
พร้อมทั้งคำถามว่าจะเป็นจริงได้หรือไม่? จะใช้เวลาให้เกิดขึ้นจริงได้เมื่อไหร่ หรือเป็นเพียงโครงการที่ยังใช้เวลาอีกนานกว่าจะทำได้สำเร็จ แต่หากทำได้สำเร็จจริงๆ เราคงต้องคิดใหม่เกือบทั้งหมดเกี่ยวกับการเดินทางระยะไกลในอนาคต
.
Elon Musk กล่าวถึงแผนในการประชุม Astronautical นานาชาติว่า “ถ้าคุณสร้างจรวดที่สามารถเดินทางไปยังดาวอังคารได้ คุณจะใช้จรวดลำเดียวกันและเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งบนโลกได้หรือไม่” และนั้นเป็นไอเดียมาสู่โครงการ Earth to Earth Rocket Project ของ SpaceX นี้ 
.
“สิ่งนี้จะเปลี่ยนเวลาที่ใช้บินเกือบ 15 ชั่วโมงจากเมืองเซี่ยงไฮ้ไปยังเมืองนิวยอร์ค ในการเดินทางเพียง 39 นาที มันอาจฟังดูบ้า ๆ บอ ๆ แต่มันก็จะเกิดขึ้นแน่นอน” ผู้บริหาร SpaceX คุณ Gwynne Shotwell กล่าวว่าไอเดียคือการบรรจุคนอย่างน้อย 100 คนต่อเที่ยวบินบนจรวดที่มีประสิทธิภาพสูงที่ชื่อ BFR ซึ่งเป็นจรวดที่มีขนาดประมาณ 2.5 ครึ่งของจรวด Falcon Heavy ที่บริษัท Tesla ตั้งใจจะส่งขึ้นไปโคจรรอบดาวอังคาร โดยพื้นฐานแล้ว เราจะใช้จรวด BFR เพื่อขนส่งเหมือนกับเครื่องบิน ใช้เดินทางแบบจุดต่อจุดบนโลก เพื่อให้ทุกคนสามารถเดินทางออกจากนครนิวยอร์กหรือแวนคูเวอร์และบินไปทั่วโลกได้ โดยคุณจะอยู่ใน BFR ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือ 40 นาที  
.
Gwynne Shotwell ได้ประกาศชัดจนว่า "มันจะเกิดขึ้นแน่ๆ นี่เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ" และน่าจะเกิดขึ้นในเวลาประมาณ 10 ปีนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายต่อตั๋วจะอยู่ระหว่างค่าตั๋วเครื่องบินของชั้นประหยัดและชั้นธุรกิจของสายการบินทั่วไป เธอกล่าวว่า สมมติว่าเครื่องบินทั่วไปเดินทางข้ามทวีปใช้เวลา 12 ชั่วโมง จรวดของ SpaceX สามารถเดินทางได้ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เราจะสามารถส่งจรวดแบบนี้ได้หลายสิบครั้งต่อวัน ในขณะที่เครื่องบินระยะไกลบินได้เพียงเที่ยวเดียวเท่านั้น ดังนั้น แม้ว่าจรวดจะแพงกว่าเล็กน้อยและน้ำมันเชื้อเพลิงแพงกว่าเล็กน้อย แต่สามารถวิ่งสิบครั้งได้ในทุกๆวัน ซึ่งจะสร้างรายได้ที่ต้องการได้ 
.
ภายใน 10 ปีนี้เท่านั้น เราจะสามารถเดินทางไปประชุมหรือเยี่ยมญาติที่ใดก็ไดในโลกแบบเช้าไปเย็นกลับได้เลยทีเดียว ในกระบวนการเดินทาง ขั้นตอนที่ยังอาจใช้เวลามากคือ การเดินทางจากท่าเรือไปยังแท่นจอดจรวด และการเดินทางจากแท่นจอดจรวดที่จุดหมายไปยังท่าเรือ ก่อนจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางของผู้โดยสาร โดยไอเดียล่าสุดคือการผนวกการเดินทางเข้าของจรวด กับการเดินทางเข้าเมืองโดย Hyperloop 
ซึ่งล่าสุดประมาณการว่ารวมเวลาแล้วจะใช้ประมาณ 70 นาที
.
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญที่มีคนวิจารณ์ยังอยู่ที่เรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารในการเคลื่อนที่ไปกับจรวจ ซึ่งหากบริษัทสามารถเอาชนะทุกความท้าทายได้ การปฏิวัติการเดินทางครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน 
.
ใครที่ทำงานที่สายการบิน อาจจะต้องคิดตั้งแต่วันนี้ว่าจะเตรียมรับมือกับเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างไร? ส่วนเราก็อดตื่นเต้นไม่ได้กับฉากทัศน์ของอนาคตที่น่าตื่นตาตื่นใจนี้

คำสำคัญ (Tags): #thailandfuture#future#mobility
หมายเลขบันทึก: 647830เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2018 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2018 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท