ปฏิรูปการศึกษาไทยโดยไม่หลงเป้า



เป้าหมายหมายเลขหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาคือตัวเด็ก  ไม่ใช่โรงเรียน  ไม่ใช่ครู    ไม่ใช่กระทรวงศึกษาธิการ    ไม่ใช่การเมือง

กล่าวใหม่ว่า เป้าหมายหมายเลขหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาคือคุณภาพของพลเมืองของไทยในอนาคต   เป้าหมายอื่นๆ เป็นเรื่องรอง  เป็นปัจจัยประกอบ    หรือเป็น means  ไม่ใช่ end 

เมื่อตกลงกันได้เช่นนี้แล้ว  ก็มาสู่ประเด็นหลักที่สอง ของการปฏิรูปการศึกษา     ว่าทำอย่างไรคนไทย ในอนาคตจึงจะมีคุณภาพสูง

 

คำตอบของผมคือ ต้องให้นักเรียนและนักศึกษาได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ในสองพื้นที่ ที่ผมเเรียกว่า “พื้นที่ 1/3”  กับ “พื้นที่ 2/3” 


ชั้นเรียนและโรงเรียน คือพื้นที่ 1/3    สังคมรอบตัวเด็ก และครอบครัว คือพื้นที่ 2/3    ตัวเลข 1/3 บอกว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นในพื้นที่นั้นหนึ่งในสามส่วนของทั้งหมด    และตัวเลข 2/3 บอกว่าผลการเรียนรู้ของเด็ก เกิดจากการเรียนรู้ในพื้นที่นอกโรงเรียน คือในสังคม และในครอบครัว

กล่าวเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าผมยุให้โรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการหดเข้ามารับผิดชอบดำเนินการเฉพาะ ภายในโรงเรียน หรือพื้นที่ 1/3 เท่านั้น    แต่หมายความว่าโรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการต้องยื่นมือออกไปร่วมมือกับ ภาคส่วนนอกวงการศึกษา    เพื่อจัดพื้นที่ 2/3 ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้เชิงบวก เรียนเพื่อพัฒนาสัญชาตญาณด้านดีของความ เป็นมนุษย์

เพราะหากไม่ระวัง สังคมจะทำร้ายเด็ก หากินกับการมอมเมาเยาวชน ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์     โปรดสังเกต สภาพแวดล้อมของตัวเด็กไทยในปัจจุบันดูเถิด  จะเห็นว่าเป็นสภาพที่ชักจูงไปสู่ทางเสื่อมหรืออบายมุขเต็มไปหมด    มีมากกว่าพื้นที่เชิงบวก ที่ชักชวนเยาวชนให้ปฏิบัติเพื่อฝึกฝนความเป็นคนดีคนเข้มแข็งทนความเย้ายวนของสิ่งล่อใจ หรืออบายมุขได้

ระบบการศึกษาที่เข้มแข็ง พื้นที่ 2/3 ต้องเข้มแข็ง     และผู้จัดการหมายเลขหนึ่งของพื้นที่นี้ต้องไม่ใช่ระบบ bureaucracy   เพราะจะทำไม่ได้ผล    กลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และภาคประชาสังคม  รวมทั้งภาคครอบครัว ต้องเข้ามาร่วมกันเป็นแกนนำ จึงจะทำได้สำเร็จ    โดยต้องดึงกลไกทางสังคมที่มีอยู่มาร่วม  ที่ลืมไม่ได้คือวัด 


วิจารณ์ พานิช

๑๓ ต.ค. ๖๐

บนเครื่องบิน EVA Air จากนิวยอร์กไปไทเป  


 

 

หมายเลขบันทึก: 641220เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2017 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2017 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

I read this and thought about the 2 Buddhists' prerequisite factors: 1) having 'good friends' (kalayāmitta -  teachers, friends, roll models and 'exemplars'); 2) having (learned) 'systematic thinking' (yonisomanasikāra - for example the ariyasacca or Noble Truth ie. what is the 'problem', what is the cause and factor, what is the preferred solution, and how to achieve that solution). Clearly, we have not make use of what readily available and familiar to all - adults and children.

Incidentally, the Path (of 8 characters) to solutions is also well known, but again not widely used. We look everywhere else but not our back yard.

ประศักดิ์ ถาวรยุติการต์

อันนี้ผมเห็นด้วย ว่าการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นส่วนสำคัญ เอาตัวเองเป็นตัวอย่าง สมัยเด็กได้เรียนรู้สิ่งแวดล้อมน้อยมาก หากมีการจัดการการเรียนรู้รอบตัว น่าจะดีกว่านี้ อาจารย์หมอประเวศ บอกว่าครูควรเอาสิ่งแวดล้อม นอกห้องเรียนมาสอนเพื่อการเรียนรู้จะทำให้เกิดความรู้มากมาย ต่อชุมชน


เรียน อาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ


หนูเขียนบันทึกการเรียนรู้ ในพื้นที่ 2/3 ที่เกิดขึ้นซ้อนไปกับพื้นที่การเรียนรู้ของโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ ๑๒  เอาไว้ในบันทึกนี้เพื่อเป็นตัวอย่างประกอบเพิ่มเติมค่ะ


 http://www.gotoknow.org/posts/641697 "ลมข้าวเบา เงาเดือนเพ็ญ" (๑)


ด้วยความเคารพ

ครูใหม่

เรียน อาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ


เรียนเสนอบันทึก ตอนที่ ๒ "ลมข้าวเบา เงาเดือนเพ็ญ" : ปีแรกๆ ค่ะ

http://www.gotoknow.org/posts/... 

 

ด้วยความเคารพ

ครูใหม่


เรียน อาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ


เรียนเสนอบันทึก ตอนที่ ๓ "ลมข้าวเบา...เงาเดือนเพ็ญ" : การเกิดขึ้นของบ้านบางเพลิน ค่ะ

http://www.gotoknow.org/posts/641972

ด้วยความเคารพ

ครูใหม่

เรียน อาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ


เรียนเสนอบันทึก ๓ ตอนสุดท้ายของบันทึกชุดนี้ค่ะ

http://www.gotoknow.org/posts/641973   : ชุมชนร่วมสร้าง

http://www.gotoknow.org/posts/642050 : การเรียนรู้ที่งดงาม

http://www.gotoknow.org/posts/642052 : มองให้เห็นการเรียนรู้


ด้วยความเคารพ

ครูใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท