"ลมข้าวเบา...เงาเดือนเพ็ญ" : การเกิดขึ้นของบ้านบางเพลิน


บ้านบางเพลิน คือ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมให้สมาชิกได้เห็น ด้วยการนำเสนอตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเพื่อการก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ที่ไม่ได้ดำเนินการโดยโรงเรียน แต่เกิดขึ้นจากความตระหนักว่า "สังคมดีไม่มีขาย...ถ้าอยากได้ต้องร่วมกันสร้าง" ที่มีอยู่ในตัวสมาชิกแต่ละคน

หลายปีต่อมาชุมชนเพลินพัฒนามีขนาดใหญ่ขึ้น พื้นที่จัดงานจึงจำเป็นต้องขยับจากลานด้านหน้าโรงเรียนมาจัดที่สนามหญ้าหน้าอาคารประถม กำหนดการจัดงานปรับลดจาก ๕ วันเป็น ๓ วัน


 ...น้องๆ ที่มาเริ่มต้นทำงานกับโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ จำได้ว่าตอนนั้นได้ยินคนพูดกันว่า "จัดงานลมข้าวเบาทีไรฝนตกทุกปี" 


ดังนั้นในช่วงเตรียมงานถ้าเห็นฝนตั้งเค้า เราก็จะหนีฝนไปจัดที่สนามบาส เพราะพื้นเป็นปูน ถึงฝนจะตกลงมาก็ไม่เป็นอุปสรรค แต่บรรยากาศเริ่มไม่ใช่ เพราะวันฟ้าใสๆ ในช่วงคืนวันเพ็ญไม่มีให้เห็นเท่าไรแล้ว  มาในยุคหลังๆ นอกจากอากาศจะไม่ใช่แล้ว การจัดงานก็ยังเริ่มกลายไปจากปีแรกๆ พื้นที่บางส่วนกลายเป็นตลาดนัดขายสินค้าที่หาได้ทั่วไป เช่น เสื้อผ้าสีฉูดฉาดบาดตา (แม้ว่าจะมีลวดลายไทยๆ พิมพ์มานิดหน่อยก็ตาม) หรือรองเท้าเชือกถัก เป็นต้น  ในปีนั้นเริ่มมีหลักฐานบันทึกว่ามีกองทุนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีรายได้จากการจำหน่ายเสื้อยืดที่ระลึกงานลมข้าวเบา และการสมทบทุนของผู้ที่มาร่วมชมงาน


ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ สมาชิกองค์กรครอบครัวเพลินพัฒนากลุ่มหนึ่งได้มาคุยกับทางโรงเรียนว่าอยากจะขออนุญาตทำพื้นที่สาธิต เพื่อเป็นตัวอย่างให้ร้านอื่นๆ ได้เห็นแบบอย่างอันดีงามที่พึงประสงค์ จะให้เกิดขึ้นกับงานลมข้าวเบา บ้านบางเพลิน จึงได้ถือกำเนิดขึ้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 


          


         ชาวบ้านบางเพลินที่อยากเห็นความเป็นไทยกลับคืนมาสู่งานลมข้าวเบา



ร้านขายว่าวมาสาธิตการทำว่าว


พื้นที่ของบ้านบางเพลิน


ถือได้ว่าการเกิดขึ้นของบ้านบางเพลิน คือ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมให้สมาชิกได้เห็น ด้วยการนำเสนอตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเพื่อการก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ที่ไม่ได้ดำเนินการโดยโรงเรียน แต่เกิดขึ้นจากความตระหนักว่า "สังคมดีไม่มีขาย...ถ้าอยากได้ต้องร่วมกันสร้าง" ที่มีอยู่ในตัวสมาชิกแต่ละคน




หมายเลขบันทึก: 641972เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2017 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2017 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท