ในคาบเรียนภูมิปัญญาภาษาไทย นักเรียนชั้น ๓ ได้รับมอบหมายจากคุณครูแคท - คัทลียา และคุณครูบี - สุภาภรณ์ ให้ไปบันทึกคำศัพท์ที่มีมาตราตัวสะกดที่พบได้จากพื้นที่การจัดงานมาให้ครบทั้ง ๘ มาตรา แล้วนำคำเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการเขียนเรียงความเกี่ยวกับงานลมข้าวเบา เงาเดือนเพ็ญ พร้อมทั้งตั้งชื่อของความเรียงให้น่าอ่านด้วย
ในช่วงเวลา ๓ วันที่มีการจัดงานลมข้าวเบา เป็นช่วงเวลาที่ครูสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างล้นเหลือ เพียงแค่ครูมีวิธีเชื่อมความรู้สำคัญ (critical knowledge) ที่นักเรียนต้องเรียนรู้ตามที่กำหนดเอาไว้ในหลักสูตร และโยงแผนการสอนของช่วงเวลานั้นเข้ากับแหล่งเรียนรู้มากมายที่เป็นบริบทแวดล้อมชีวิตของตัวนักเรียนได้เท่านั้น การเรียนรู้ก็จะกลายเป็นของผู้เรียนในทันที
งานเขียนชิ้นแรกจึงนำเอาโจทย์ของครูมาสร้างเป็นชื่อเรียงความว่า "สิ่งที่เจอในงานลมข้าวเบาเงาเดือนเพ็ญ"
ส่วนอีกชิ้นหนึ่งใช้ภาษาที่มีลูกเล่นขึ้นมาอีกนิดว่า "ลมข้าวเบา... วันแสนสนุก"
งานชิ้นนี้จึงให้ความสนุกกับทั้งตัวคนสร้างงาน (นักเรียน) และคนตรวจงาน (ครู) อีกทั้งยังเป็นการสร้างและประเมินการเรียนรู้ในสภาพจริงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ไม่มีความเห็น