ข้อคำควรคำนึง ๕ ประการ ก่อนจะสร้างห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ (Smart Classroom)


ขอเสนอข้อควรคำนึง ๕ ประการ สำหรับผู้อ่านที่กำลังมีส่วนในการสร้างห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ หรือมักเรียนกว่า ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Calssroom) ดังนี้ ครับ 

๑) เรียนแบบกลุ่มได้สะดวก

  • เก้าอี้เลื่อนได้สะดวก 
  • โต๊ะเลื่อนได้สะดวก ประกอบโต๊ะกันเป็นกลุ่มได้สะดวก ให้ผู้เรียนนั่งหันหน้าเข้าหากันได้สะดวก สำหรับ ๔-๘ คน 
  • ฯลฯ

๒) มีสื่อหรือนวัตกรรมการสืบค้นความรู้เดิมได้สะดวก

  • ต้องมีอินเตอร์เน็ต wifi ความเร็วเพียงพอ สำหรับการเชื่อมต่อมือถือส่วนตัวได้ทุกคน 
  • มีคอมพิวเตอร์ หรือเทปเล็ตส่วนกลางประจำกลุ่มย่อย (กรณีจัดกลุ่มย่อย) ที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อกับระบบของห้องเรียน 
  • มีสื่อหรือนวัตกรรมสร้างหรือเสริมบรรยากาศการเรียนรู้อย่างสะดวก เช่น มีตู้หนังสือและหนังสือที่น่าสนใจ ประดับด้วยรูปภาพแสดงนวัตกรรมการเรียนรู้ทีสามารถสร้างแรงบันดาลใจได้ 
  • ฯลฯ

๓) มีอุปกรณ์เอื้อให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อยได้สะดวก

  • มีกระดานและปากกา non-permanant ประจำกลุ่มย่อย เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มย่อยได้สะดวก 
  • มีกระดาษฟลิบชาร์ทและสีชอร์ค สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างสื่อนำเสนอผลงานกลุ่มย่อย
  • ฯลฯ 

๔) มีระบบสนับสนุนการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Show & Share) กลุ่มใหญ่ได้สะดวก

  • มีโปรเจคเตอร์และเครื่องฉายที่มีความจ้า (ความเข้มแสง) และขนาดใหญ่พอที่คนอยู่ในห้องจะมองเห็นได้ทุกจุด 
  • มี Visual สำหรับการเขียนแสดงต่อกลุ่มใหญ่ 
  • มีไมค์ลอยอย่างน้อย ๒ ตัว (เน้นว่าเป็นไมค์ลอยอย่างดี) ที่สามารถส่งสัญญาณระยะไกลจากท้ายห้องได้ 
  • ระบบเอื้อให้ส่งข้อมูลผลงานของกลุ่มย่อย ไปนำเสนอบนระบบฉายภาพแสดงต่อห้องเรียนได้อย่างสะดวก เช่น มีโปรแกรมที่ส่งข้อมูลจากแทปเล็ตของกลุ่มย่อยไปนำเสนอบนจอโปรเจ็ตเตอร์ได้สะดวก หรือแบบ Realtime 
  • ฯลฯ 

๕) ต้องมีระบบจัดเก็บสารสนเทศที่ดีมีประสิทธิภาพ

  • มีระบบที่สามารถรองรับการบันทึกวีดีโอหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้สะดวก และมีพื้นที่จัดเก็บเพียงพอ 
  • ลักษณะข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ ต้องง่ายและเอื้อต่อการนำไปใช้ในการสร้างสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนต่อไป เช่น ง่ายต่อการนำไปตัดต่อ หรือจัดส่งไปให้อาจารย์ผู้สอน ฯลฯ
  • ระบบสามารถเข้าถึงหรือนำข้อมูลไปเผยแพร่ออนไลน์ได้สะดวก เอื้อต่อการสร้างระบบ E-learning หรือ Flipclassrrom หรือการจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ต่อไป 
  • ฯลฯ

สำหรับสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผมเสนอให้ออกแบบให้เอื้อต่อการทำเป็นสตูดิโอเพื่อบันทึกการเรียนการสอนของอาจารย์ด้วย คือจัดทำระบบแสง สี และเสียง ที่เอื้อต่อการบันทึกสื่อการศึกษาคุณภาพ ... เรียกว่า ยิงนัดเดียวได้นกสองตัวไปเลย.... 

หมายเลขบันทึก: 630537เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2017 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2017 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

งบประมาณ...ที่จะสร้างสิ่งที่เป็น..ข้อเสนอนี้..น่าจะเป็นงบเดียวกับงบวิจัย.ที่.ไปดูงานต่างประเทศ..ตามศูนย์การค้าหรือไปถ่ายรูปหมู่หน้า..สถาบันในต่างประเทศ..หรืองานเขียน ดร.ในต่างประเทศ..ด้วยภาษาที่ตนไม่ถนัด...มาจัดสรรค์ ตามข้อ..เสนอนี้..น่าจะได้ผล..ดีกว่าแน่ๆ..นะ..อ.ต๋อย

ฮา... ใช่ครับเลยครับ ... เงินเหล่านั้นที่ว่ามา เกือบทั้งหมด มาจากค่าเทอมนิสิต นั่นหมายถึงมาจากพ่อแม่ ซึ่งก็คือ ชาวบ้านเรานี่เองครับ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท