ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๒๗. ใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย



บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง

ตอนที่ ๒๗ ใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย  ตีความจาก Element 25 : Using Physical Movement

การให้นักเรียนเคลื่อนไหวร่างกายช่วยเพิ่มพลังของนักเรียน และเพิ่มความมีชีวิตชีวาไม่น่าเบื่อ    ในทางสรีรวิทยาการเคลื่อนไหวเป็นการออกกำลัง ช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดมากขึ้น   เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น   จึงช่วยการทำงานของสมองเกี่ยวกับการเรียนรู้ 

คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการวางแผนจัดระบบให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน  คือ    “ครูจะจัดให้นักเรียนเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างไร”

ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้ให้นักเรียนเคลื่อนไหวร่างกาย  มีดังต่อไปนี้







กุศโลบายพื้นฐานในการใช้การเคลื่อนไหวร่างกายคือ ให้การเรียนไม่น่าเบื่อ   แต่บางกิจกรรมในตารางข้างบนใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมด้วย เช่น กิจกรรมมุมห้อง   และบางกิจกรรมให้ใช้ร่างกายสร้างสัญญะเพื่อสะท้อนการตีความหรือความเข้าใจ เช่นการต่อร่าง   ยิ่งการผูกเรื่องเป็นละครยิ่งต้องการการคิดที่ซับซ้อน 


เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล   จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

·       นักเรียนร่วมกิจกรรมอย่างจริงจัง

·       พลังของนักเรียนเพิ่มขึ้น

·       นักเรียนสามารถอธิบายได้ว่าการเคลื่อนไหวร่างกายช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของตนอย่างไร




วิจารณ์ พานิช

๙ เม.ย. ๖๐




หมายเลขบันทึก: 630531เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2017 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2017 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท