การจัดการความรู้ในชุมชน4


หลักคิดใหม่ของการแก้ปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนย่อมอยู่บนพื้นฐานที่การกระตุ้นให้ชุมชนมีความตระหนักถึงความสำคัญที่ชุมชนต้องใช้องค์ความรู้ทั้ง Explicit knowledge และ Tacit knowledge บนพื้นฐานของหลักวิชาการมาใช้แก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนเอง โดยอาศัยหลักการการแก้ที่ต้นเหตุ มากกว่าการแก้ที่ปลายเหตุ

 การจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชน1

         หลักคิดใหม่ของการแก้ปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนย่อมอยู่บนพื้นฐานที่การกระตุ้นให้ชุมชนมีความตระหนักถึงความสำคัญที่ชุมชนต้องใช้องค์ความรู้ทั้ง Explicit knowledge และ Tacit knowledge บนพื้นฐานของหลักวิชาการมาใช้แก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนเอง โดยอาศัยหลักการการแก้ที่ต้นเหตุ มากกว่าการแก้ที่ปลายเหตุ               

          รากเหง้าหรือต้นเหตุของปัญหาสุขภาพในชุมชนนั้น ต้องแจกแจงเป็นเรื่องๆดังนี้

          1.    ปัญหาเรื่องน้ำ

          2.    ปัญหาเรื่องอาหาร

         3.    ปัญหาเรื่องการขับถ่าย

         4.    ปัญหาการกำจัดขยะและสภาพแวดล้อมที่อันตรายและเอื้อต่อการแพร่เชื้อ

         5.    ปัญหาด้านสุขภาวะส่วนบุคคล       

         เพื่อให้การจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนได้ผลแบบยั่งยืน จำเป็นต้องมีองค์กรหลักในชุมชนเพื่อ เป็นหลักในการนำความรู้มาใช้แก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน และเชื่อมต่อกับองค์กรสุขภาพของรัฐในชุมชน(สถานีอนามัย,อบต.)       

         ในอดีตและปัจจุบันมี เรามีผสส.และอสม.เป็นตัวแทนของราชการหรือกระทรวงสาธารณสุขในหมู่บ้านและตำบลเป็นยุทธศาสตร์ แต่ในปัจจุบันน่าจะไม่สามารถจะใช้เป็นตัวหลักในการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนได้ต่อไป เพราะการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนมีความซับซ้อนมากเกินกว่าอสม.จะรับมือไหว      

            การจัดองค์กรเพื่อจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม องค์กรนี้อาจเรียกว่าศูนย์รวบรวมความรู้และจัดการสุขภาพชุมชนก็น่าจะเหมาะสม        ศูนย์รวบรวมความรู้และจัดการสุขภาพชุมชนนี้ควรจะมี ผู้จัดการความรู้ 1 คนและทีมงานจัดการความรู้จำนวนตามความเหมาะสม เป็นทีมที่สามารถ จัดกระบวนการจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

         1.    รวมรวมปัญหาของชุมชน

         2.    รวบรวมความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน

          3.    แสวงหาภูมิความรู้ในชุมชนด้วยวิธีต่างๆเท่าที่เครื่องมือและเทคโนโลยี่ที่มีจะอำนวย

          4.    แสวงหาความรู้ตามหลักวิชาการด้วยวิธีต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นติดต่อขอความช่วยเหลือด้านความรู้จากองค์กรสาธารณสุขต่างๆ หรือดูงานในที่ต่างๆเพื่อแสวงหาความรู้ที่แตกต่าง

          5.    จัดให้มีลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนมีความรู้สึกมีส่วนร่วม

          6.    รวบรวมแนวทางแก้ไข เสนอต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่นเรื่องสุขาภิบาลต่ออบต. เพื่อจัดการด้านต่างๆตามความจำเป็นเช่นจัดหาถังขยะตามจุดต่างๆ หรือเสนอความต้องการต่อทางราชการเพื่อดำเนินการในมาตรการที่เกินกว่าชุมชนจะจัดการเช่นจัดหางบประมาณมาช่วยเหลือเป็นต้น

           7.    แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประชาคมเครือข่ายอื่น นำสมาชิกไปดูงานและรับชุมชนอื่นมาดูงานเป็นครั้งคราว

 

หมายเลขบันทึก: 62491เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอเพิ่มเติมดังนี้ครับ

  • การพัฒนาศักยภาพชุมชน ทั้งแบบกลุ่ม และปัจเจกในการดูแลสุขภาพตนเอง พร้อมกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ
  • จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพชุมชนร่วมกัน อย่างบูรณาการ
  • ถอดบทเรียนการพัฒนาสุขภาพชุมชนเพื่อการพัฒนาที่สอดคล้องกับชุมชน

ขอบคุณครับ

ขอขอบคุณในความคิดเห็นของท่าน กรมอนามัยมีความภูมิใจในนักพัฒนาเช่นท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท