805. Appreciative Inquiry 2017 (ตอน 4)


แรงบันดาลใจจากหลักทรงงานในหลวง ร.9

สำหรับหลักทรงงานข้อที่ 2 นี้ ผมว่ายังไม่จบ เรายังสามารถน้อมนำมาคิดได้อีก โดยเฉพาะเรื่องการจำแนกให้ออกระหว่างมูลค่ากับคุณค่า สองคำนี้สร้างแรงบันดาลใจมากๆ

ผมว่าเรื่องมูลค่าและคุณค่า เป็นเรื่ององค์กรและคนในสังคมไทยต้องศึกษาลงลึกจริงๆ ในฐานะที่ผมศึกษา Appreciative Inquiry (AI) ศาสตร์ AI ช่วยมองเรื่องนี้ได้ดีทีเดียว AI เป็นเรื่องการที่คนเราในองค์กรพยายามคนหาสิ่งดีๆ ในตัวคน ในองค์กร ในสิ่งแวดล้อม เพราะเชื่อว่าในทุกตัวคน ทุกระบบมีเรื่องราวดีๆ ซ่อนเร้น รอการขยายผล พูดง่ายๆคือ ถ้าเราตั้งคำถามดีๆ กับคนทุกคนรอบตัว เราจะเจอสิ่งดีๆ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ หรือเทคนิด ที่เทียบได้ว่าเป็น “คุณค่า” ของแต่ละคน ซึ่งสามารถนำมาตีความแล้วขยายผลสร้าง “มูลค่า” ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เรื่องนี้ต้องหยุดคิดครับ เท่าที่ผมสัมผัสมาในโลกของการเป็นที่ปรึกษาพัฒนาองค์กรไม่ว่าจะเป็นระดับใด ดูเหมือนสังคมเราพลาดเรื่องนี้ ผมว่าเรามุ่งที่มูลค่ามากเกินไป จนลืมมองคุณค่า และเมื่อใดที่เราสามารถกลับมาสร้างสมดุลระหว่างคุณค่าและมูลค่าได้ มันไปไกลเลยครับ

มีลูกศิษย์ผมคนหนึ่งทำงานธนาคาร อยู่ดีๆ ได้ข่าวลูกน้องสาวสวย ถูกสามียิงตาย ด้วยเหตุที่เป็นคนสวย เงินเดือนมากกว่าสามี ทำงานหนักตามกลยุทธ์การสร้าง “มูลค่า” ให้แก่ผู้ถือหุ้นธนาคาร คือสามีพยายามขอร้องให้กลับบ้านเร็วกว่านี้ก็ทำไม่ได้ อธิบายไม่ได้ ที่สุดสามารถเกิดจิตตกเลยฆ่าเมียตนเอง ลูกศิษย์ผมในฐานะผู้จัดการธนาคารเริ่มเห็นอะไรผิดปรกติ และต่อมาก็หนักขึ้น ย้ายไปเป็นผู้จัดการแถวจตุจักร มีลูกน้องผู้หญิงเต็มสำนักงาน และก็ค้นพบว่าลำบากมากๆ


เนื่องจากเป็นสาขาที่ไม่มีห้องน้ำ ต้องไปเข้าในสำนักงานเขตที่ให้เป็นผู้ให้เช่า แกบอกสงสารลูกน้องมาก เพราะด้วยชั่วโมงที่ยาวนาน ทำให้ลูกน้องผู้หญิงที่มรอบเดือนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยถึงสองครั้งต่อวัน ถ้ายุ่งมากๆ ก็ไม่มีเวลาเลย ... ภายหลังเกิดทะเลาะกันทำให้เข้าห้องนำ้ในสำนักงานดังกล่าวไม่ได้ คราวนี้ประสาทกลับเลยครับ ใครจะเข้าห้องนำ้ทีต้องนังมอเตอร์ไซค์ไปสำนักงานอีกที่ ที่อยู่ปากซอย ลูกศิษย์ผมนี่เคยร้องให้เลย สงสารลูกน้อง

ภายหลังเพิ่งรู้ว่าจริงๆ ทำไมไม่มีห้องน้ำ นั่นเพราะธนาคารมอง "มูลค่า" เลือกเช่า office ที่ไม่มีห้องน้ำ เพราะถ้าเช่า Office ที่มีห้องน้ำในตัวจะต้องจ่ายเพิ่ม เดือนละ 50,000 บาท ไม่ต้องแปลกใจครับ ทำไมที่ธนาคารนี้อัตราลาออกของพนักงานมหาศาล ต้องเสียเงินพัฒนาคน เสียโอกาสอีกเยอะกว่าคนจะเก่ง นี่ครับความสับสนระหว่างคุณค่าและมูลค่า

ที่สุดทนไม่ได้ ลูกศิษย์ผมเลยคิดสร้างที่ทำงานแห่งความสุข ในโอกาสต่อมาได้ถูกย้ายไปอยู่สาขาแห่งหนึ่ง ที่พนักงานมีผลงานย่ำแย่ ยอดขายไม่ได้ตามเป้า ธนาคารตัดสินใจจะปิดสาขานี้แล้ว เพราะไม่สร้างมูลค่า ...

ลูกศิษย์ผมเอาเลย เริ่มดูแลทุกข์สุขพนักงาน ไม่เก่งไม่เป็นไร เริ่มเอาแบบทดสอบบุคลิกภาพไปทดสอบว่าเป็นคนอย่างไร ชอบควบคุม คิดสร้างสรรค์ จัดระบบ หรือขาลุย (ใช้ Talent Scan ของดร.วณิดา พลเดช นายกสมาคม Thai Coach)

จากนั้นเมื่อเริ่มเห็นจุดแข็งก็เริ่มพัฒนา เริ่มเชื่อมโยงคนเข้ากับงานที่เหมาะกับบุคลิกภาพ เริ่มสอน เริ่มโค้ช ให้กำลังใจ เรียกว่าเริ่มค้นหา “คุณค่า” และเริ่มให้ “คุณค่า” ไม่นานครับ สาขาผงาดขึ้นมาสร้าง “มูลค่า” เป็นสาขาที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศ ที่สำคัญพนักงานเก่งขึ้น จากพนักงานยอดแย่ กลายเป็นยอดเยี่ยม ลูกศิษย์ผมบอกว่าโดยเฉลี่ย สาขาหนึ่งจะมีคนทำสินเชื่อเป็นเพียงคนเดียว แต่หลักจากที่เขาค้นหาคุณค่าคนเจอ แล้วเอามาพัฒนา กลายเป็นสาขานี้มีคนทำสินเชื่อเป็นสี่คน

เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ที่สุดได้รางวัล และกลายเป็น Model ต้นแบบ ที่ธนาคารนี้จะเอาไปขยายผล นี่ขนาดทำกลับกลุ่มยอดแย่นะครับยังไปขนาดนี้ สุดยอดไหมครับ

นี่แหละครับ Appreciative Inquiry ที่จริงๆ คือช่วยให้องค์กรค้นหา “คุณค่า” ที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวมนุษย์ ทุกคน ถ้าคนของคุณยังสร้าง “มูลค่า” ให้องค์กรไม่ได้ การันตีครับ ไม่ใช่เพราะเขาแย่โดยธรรมชาติ องค์กรต่างหากที่ยังค้นหา “คุณค่า” ของเขาไม่เจอ ถ้าเจอเมื่อไหร่ก็ไม่ต้องห่วงครับ ไปไกลเลย คุณจะลดความสูญเสีย และสร้างการเติบโตได้มหาศาล

คุณล่ะคิด อย่างไร

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

MBA KKU/AI Thailand



หมายเลขบันทึก: 620037เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับ อาจารย์

องค์กรสร้างสุข หัวหน้าใหม่ๆเร่งทำผลงาน ส่วนใหญ่ลืมจุดนี้

กว่าจะรู้ตัว ลูกน้องลาออกกันหลายคน

องค์กรหลายแห่งเน้นงาน เน้นสนุก ลืมสร้างสุข คือ Quality of Working Life ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท