เลียบเลาะตู้หนังสือนายแผ่นดิน (19) : อีสานที่รัก


"อีสานที่รัก" เป็นหนังสือเก่าเอีกเล่มที่ผมซื้อมาอ่านเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559
ตอนที่ซื้อเป็นช่วงเดินเท้าระหว่างรอยต่อของจตุจักรกับสพานควาย

อีสานที่รัก - เขียนโดยปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ
เล่มที่ผมซื้อมาเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2511
ประกอบด้วยเนื้อหา 14 บทความ/เรื่อง
ซึ่งทั้งหมดคือเรื่องราวเกี่ยวกับอีสานในราว พ.ศ.2510-2511



ด้วยความที่เป็นหนังสือเก่า -
เก่าในที่นี่หมายถึงมีสภาพที่เสื่อมทรุดมากโข ผมจึงทะนุถนอมในการหยิบจับ
กระนั้นหลายต่อหลายครั้งก็พกพาไปไหนต่อไหนด้วยเสมอ
หนังสือเล่มนี้อ่านง่าย สนุก ครบรสในแบบบันเทิงเริงปัญญา
ได้ความรู้อันเป็นอาหารสมองและความสนุกสนานอันรื่นรมย์

ผมชอบงานเขียนประเภทนี้ เพราะเป็นการเขียน หรือการเล่าเรื่อง
แถมมีกลิ่นอายผสมปนเปกันระหว่างสารคดี บันทึก - ข่าว -บทความ
ยิ่งอ่านสนุก ได้ความรู้ และราวกับว่ากำลังนั่งคุยอยู่กับผู้เขียน หรือผู้เล่า




หนังสือเล่มนี้มีจุดเด่นคือไปเยือนที่ใดสักแห่งแล้วหยิบจับเอาเรื่องเด่น หรือปรากฏการณ์สำคัญ ณ ที่แห่งนั้นมาสื่อสาร
ช่วยให้เราได้อ่านหนังสือสารคดีนำเที่ยวในทำนองนั้น ทว่าเป็นการนำเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ยกตัวอย่างเช่นในเรื่อง "คุณนายดอลที่อุบลราชธานี" ซึ่งมีหลายห้วงตอนที่นำเสนอข้อมูลแทรกทัศนะว่าด้วยยุคสมัยที่ไทยเป็นฐานทัพ
หรือ "จีไอ" ไว้อย่างชวนอ่าน ชวนคิด

"...
คุณนายดอลย่อมาจากคุณนายกอลล่าร์นั่นเอง...
ผู้หญิง-ชาวบ้านธรรมดาๆ นี่เองที่ไปรับจ้างเป็นเมียเช่าของฝรั่ง
ชีวิตพวกนี้ขึ้นอยู่กับเงิน ไม่มีความรัก ยอมเป็นเมียเพราะเงินจึงได้รับนามว่าคุณนายดอล...
อันว่าทหารนักบินที่มาอยู่ในประเทศนี้ ทุกคนมีรายได้ดรเยี่ยม
แต่ทว่าชีวิตขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอน
ครั้งใดที่นำเครื่องบินทะยานขึ้นสู่้องฟ้านั้น ไม่แน่ใจนักว่าจะได้กลับมาลงที่ฐานบินอีกครั้งหรือไม่
ฉะนั้นเงินที่ได้มาจึงต้องใช้ให้คุ้ม ใช้อย่างสรุ่ยสุร่ายไ่เสียดมเสียดาย เพื่อซื้อหาตความสุขให้แก่ชีวิตอัีนไม่จีรัง
เด็กสาวชาวชนบทที่ยากจนของพื้นที่แถบนี้จึงยอมที่จะเป็นเมียเช่าในอัตราเงินเดือนๆ ละ 2,500-5,000 บาท...
แต่ทว่า...อย่าคิดว่าผู้หญิงแถบนี้ทุกคนจะเป็นดังนี้ คนดีๆ ที่ยอมกัดก้อนเกลือกิน ให้ตายไปเพราะโรคขาดอาหารมีอีกมากมายนัก

..."






หรือในเรื่อง "อนุสรณ์ทรพีที่ยะโสธร" ที่บอกเล่าเชิงตำนานอันเป็นที่มาที่ไปของชื่อบ้านนามเมืองต่างๆ ในแบบง่ายงาม กระชับ
โดยเฉพาะการกล่าวถึงที่มาที่เป็นของการเรียกชื่ออำเภออุทัยยะโสธร ก่อนผันเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว แล้วเรียกใหม่เป็นอำเภอลุมพุก กระทั่งวนกลับมาเรียกว่าคำเขื่อนแก้วเหมือนเดิม

"...
อำเภอเขื่องใน อำเภอนี้ฟังดูแต่ชื่อแล้วก็อดนึกถึงผู้กว้างขวางในสมัยหนึ่งไม่ได้
แต่ความจริงคำว่า 'เขื่อง' ที่มานำหน้าชื่อำเภอนี้หาใช่หมายถึงนิสัยเบ่งๆ แบบเจ้าริงโก้ในหนังไม่
แต่เป็นคำพื้นเมืองของอีสาน หมายถึงที่วางไข่ของปลาดุก หรือปลาช่อน
...

อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอนี้เป็นดินแดนที่ร่ำลือกันนักว่าเป็นถิ่นผู้หญิงสวย
และก็น่าจะเป็ความจริง เพราะที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เราจอดรถลงไปซื้อไก่ย่างกินกันนั้น
เด็กสาวชาวบ้านแถบนั้นหลายคนผิวขาวผิดคนอีสาน ...
ทุกปีที่มีการประกวดนางงามในจังหวัด หญิงสาวจากอำเภอคำเขื่อนแก้ว
จะต้องได้เป็นนางงามอุบลเสมอไป
อำเภอนี้แต่ดั้งเดิมเมื่อตั้งขึ้นมาเป็นอำเภอในครั้งแรกในปี พ.ศ.2451 นั้นมีชื่อว่า อำเภออุทัยยะโสธร
ที่เป็นดังนี้ก็เป็นเหตุผลง่ายๆ เพราะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอยะโสธรนั่นเอง
แต่อยู่มาชาวบ้านที่ี่ก็ได้คิดกันว่า เรื่องอะไรที่จะต้องไปอ้างอิงชื่ออำเภอยะโสธรมาเป็นชื่ออำเภอของตน
เสมือนหนึ่งกลายเป็นเขตประเทศราชของเขาอื่น ก็เลยเปลี่ยนชื่ออำเภอของตนเองเสียใหม่ว่า "คำเขื่อนแก้ว"
ครั้นต่อมาชาวบ้านที่เป็นที่ตั้งอำเภอมีนามว่าตำบล 'ลุมพุก' คงจะโวยวายออกมาว่ามันเรื่องอะไรกันมาตั้งอำเภอ
ที่ตำบลลุมพุกของเขาดีๆ แต่ไม่ยอมใช้ชื่อว่าอำเภอลุมพุก ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอจากคำเขื่อนแก้วมาเป็นอำเภอลุมพุก
ครั้นอยู่ๆ มาชาวลุมพุกก็ได้คิดว่า ผู้หญิงที่นี่สวยนักจะเปลี่ยนชื่ออำเภอให้งามๆ ฟังไพเราะก็จะดี
คิดไปคิดมาก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็น คำเขื่อนแก้วอย่างเดิมเมื่อปี พ.ศ.2459
..."





เช่นเดียวกับเรื่อง "มหาสารคาม" ซึ่งผู้เขียนได้บอกเล่าชื่อบ้านนามเมืองไว้อย่างสั้นๆ ชวนจำ หรือกระทั่งคิดตามในอีกสายธารหนึ่ง -

"...
ตามหลักฐานตำนานเมืองระบุไว้ชัดเจนว่าตั้งขึ้นเป็นเมืองเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2408
...

'มหา' ว่ากันว่ามาจากนามเจ้าเมือง คือ ท้าวมหาชัย ตัดเอาคำว่ามหามาตั้งไว้ก่อน
สำคำว่า 'สาร' ท่านเล่าว่า แต่เดิมที่บริเวณที่ตั้งเมืองมีต้นยางใหญ่มหึมาอยู่ต้นหนึ่ง
ภายในต้นยางนี้มีแก่นอันสำคัญ จนเรียกกันติดปากว่า แก่นสาร ก็เลยตัดเอาคำว่า 'สาร'
มาหนึ่งคำมารวมกับคำว่า มหา กลายเป็น มหาสาร ...
ส่วนคำว่า 'คาม' นั้นท่านว่าหมายถึง เมือง เมื่อมารวมกันก็กลายเป็น มหาสารคาม ด้วยประการฉะนี้
ใครจะเชื่อการสันนิษฐานเช่นที่ว่านี้หรือไม่ ก็ไม่เห็นแปลก





หรือแม้กระทั่งเรื่อง "ชาร์ลสตันเกรย์ที่เมืองร้อยเอ็ด" ที่บันทึกเรื่องราวเศรษฐกิจของชาวร้อยเอ็ดที่มุ่งส่งเสริมเรื่องมะพร้าว ไหม และแตงโม รวมถึงสภาพชะตากรรมชาวสวนแตงโมที่ครั้งหนึ่งปลูกแตงโมเป็นพืชเศรษฐกิจขึ้นชื่อของจังหวัด แต่สุดท้ายก็ราคาตก ถูกเอารัดเอาเปรียบ จนต้องขนไปวางจำหน่ายที่หน้ากระทรวงฯ

"...
แตงโมลูกยาวๆ นี้แหละชาวเมืองร้อยเอ็ดเรียกกันง่ายๆ ว่า แตงหมอน เพราะรูปร่างมันเหมือนหมอนจริงๆ
ส่วนอีพวกหนึ่งซึ่งค่อนข้างถนัดทางภาษาต่างประเทศ เรียกว่า ชานตังเก
ฟังดูแล้วผมก็นึกไม่ออกเสียทีว่ามันใกล้เคียงกับคำในภาษาอะไรกันแน่
จนกระทั่งต่อมาผมได้รู้เรื่องพันธุ์แตงโมนั่นแหละ ผมจึงถึงบางอ้อ
เพราะชื่อ ชานตังเก นั้นเพี้ยนมาจาก ชาร์ล สตัน เกรย์ นั่นเอง
...

นายชาร์ล สตัน เกรย์ ซึ่งเป็นเกษตรกรชาวสหรัฐได้คิดค้นผสมพันุ์แตงโมขึ้นใหม่พันธุ์หนึ่ง
แตงโมพันธุ์นี้นอกจากจะลูกใหญ่ เนื้อมากและมีรสหวานแล้ว ทนทานต่อการกระแทกกระทั้นในการขนส่งดีนัก
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีเส้นทางคมนาคมขนส่งไม่ดี เพราะแตงเก่าที่เราเคยรู้จักและซื้อหากันแถวรังสิตนั้น
เรียกว่าพันธุ์ เบบี้ชูการ์ ถึงแม้ว่าจะมีรสหวานน่ารับประทานก็ตาม แต่มีเปลือกบางมาก
ยากแก่การขนส่ง เพราะมักแตกเสียก่อนถึงตลาด

...

เมื่อหมดทางเข้า ชาวไร่แตงแห่งร้อยเอ็ดก็นำรถบรรทุกแตงทั้งหมดไปจอดที่หน้ากระทรวงเกษตร
แล้วขอพบรัฐมนตรีว่าการ ร้องทุกข์ให้ฟังว่าเจ้าหน้าที่ของกระทรวงไปส่งเสริมให้พวกตนปลูกแตงโมพันธุ์นี้กันมากมาย
แล้วเมื่อได้ผลขึ้นมาก็ไม่หาตลาดให้ ขอให้ช่วยขายแตงที่นำมาคราวนี้ให้สักครั้ง
กระทรวงเกษตรก็หมดปัญญา ผลสุดท้ายผมจำได้ว่า
กระทรวงให้เจ้าของแตงโมทั้งหลายกองขายที่หน้ากระทรวงเลยทีเดียว
โดยเจ้าของแตงขายเพียง กก.1.25 บาทเท่านั้น



หมายเลขบันทึก: 619772เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2016 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2018 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อ่านแล้วเป็นตาม่วนนำเนาะคุณแผ่นดิน

สวัสดีครับ อ.ยูมิ

ไม่ได้ทักทายกันนานมากเลย อาจารย์สบายดีนะครับ

กรณีหนังสือเล่มนี้อ่านสนุกครับ เพราะเขียนแบบเล่าเรื่อง อีกทั้งผู้เขียนเป็นผู้สื่อข่าว การนำเสนอข้อมูลจึงเป็นเสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้ ผมชอบตรงที่ว่าอ่านเข้าใจง่าย เพราะเล่าเรื่องไม่ซับซ้อน มีข้อมูลอ้างอิง และหลากรูปรสของเรื่องทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ของรัฐและท้องถิ่น ได้เห็นชาติพันธุ์ ปรากฏการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

จริงๆ แล้วหนังสือเล่มนี้ก็เป็นจดหมายเหตุอันดีของชาวอีสานเลยทีเดียวครับ....


-สวัสดีครับอาจารย์

-ชื่นชอบหนังสือประเภทนี้เช่นกันครับ

-อยากอ่านบ้าง..คุณนายดอล

-ขอบคุณครับ


เป็นหนังสือเก่ามาก

มีหลายตอนน่าอ่าน

อีกเล่นที่น่าอ่านคืออีสานบ้านเฮาของ วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสงนะครับ

สวัสดีครับ พ.แจ่มจำรัส

ใช่ครับอ่านสนุกมากครับ มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ เช่น เรื่อง "กินดองที่บ้านกุดบอด" ก็กล่าวถึงชื่อบ้านนามเมืองอย่างง่ายๆ ซึ่งบ้านกุดบอด เป็นชุมชนในอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ...

  • "กุด ก็คือบ่อน้ำ บอด ก็คือ ไม่มีน้ำ รวมความแล้วก็หมายถึงว่าบ้านนี้ในสมัยนานมาแล้วคงจะขาดน้ำอย่างฉกาจฉกรรจ์"



คุณมะเดื่อชอบอ่านหนังสือนะ

อ่านได้ทุกประเภท สมัยเป็นนักเรียน

ห้องสมุด...คือชีวิตจิตใจ

แต่พอมาทำงาน ยิ่งตอนนี้ชราแล้ว

สายตาไม่ค่อยอำนวย มีแต่หนังสือ

เก็บในตู้ รอเจ้าของอ่าน...ก็ไม่รู้ว่่า

จะได้อ่านเมื่อไรจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท