เรื่องเล่า ดร. ผึ้ง ตอน 7 Information literacy skill


ทักษะการรู้สารสนเทศ เป็นเครื่องมือทางปัญญาในการเรียนรู้ตลอดชีวิต


ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาปริมาณงานวิชาการ งานวิจัย ตลอดจนองค์ความรู้ต่างๆ ที่เผยแพร่ในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดแหล่งสารสนเทศวารสารแบบเสรี เปิดให้เข้าถึงได้ไม่จำกัดเวลา สถานที่ และไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น กอปรกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่เปลี่ยนไปจาก reader-pay business model เป็น author-pay business model ส่งผลให้ข้อมูลวิชาการที่เผยแพร่มีจำนวนมหาศาล เกิดฐานข้อมูลจำนวนมาก หลากหลายสาขาวิชา


การสืบค้นข้อมูล การค้นหาข้อมูล การประเมินข้อมูล การประมวลข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลมาใช้นั้น ต้องใช้ทักษะด้านการรู้สารสนเทศ หรือ Information Literacy Skills เข้ามาช่วยบริหารจัดการข้อมูล ซี่งทักษะการรู้สารสนเทศนี้ คือความสามารถของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า การรู้สารสนเทศคือลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตในยุค digital บนพื้นฐานสังคมแห่งการเรียนรู้


การรู้สารสนเทศ คืออะไร

“Information“ มาจากภาษาละติน informatio, meaning concept or idea.

“Literacy” มาจากภาษาละติน literatus, meaning learned or lettered.

  • Information means data, news or facts, while Literacy increasingly has become associated with the ability to understand or to interpret specific phenomena (Bundy, A., 2004)
  • Information literacy describes the acquisition of a particular range or set of information handling skills (Mackenize, A., Howard, H., Makin, L., & Ryan, C., 2002)
    • Determine the extent of information needed
    • Access the needed information effectively and efficiently
    • Evaluate information and its sources critically
    • Incorporate selected information into one's knowledge base
    • Use information effectively to accomplish a specific purpose
    • Understand the economic, legal, and social issues and use information ethically and legally.

สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้ ด้วยคำสำคัญ “การรู้สารสนเทศ” “information literacy”



Information Literacy คืออะไร

ALA, ACRL ให้ความหมายว่า “a set of abilities requiring individuals to recognize when information is needed and have the ability to locate, evaluate, and use effectively the needed information.”

หรือหมายความถึง ความสามารถของบุคคล ที่เกี่ยวกับสารสนเทศ ดังนี้

  • การรู้ถึงความต้องการสารสนเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ
  • การเข้าถึงสารสนเทศที่อยู่ในแหล่งสารสนเทศต่างๆ หรือ ฐานข้อมูลอย่างเหมาะสม (รู้ว่าจะได้สารสนเทศจากแหล่งใด ใช้เครื่องมือและกลยุทธ์ใดในการเข้าถึงสารสนเทศนั้นๆ)
  • การประเมินสารสนเทศที่ได้รับและแหล่งสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ
  • การประมวลสารสนเทศ
  • การใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เข้าใจประเด็นต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เข้าถึงและใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย



นอกจากนี้ การศึกษาของ OCLC ซึ่งสำรวจระหว่าง 20 May – 2 June 2005 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 3,348 คน (OCLC, 2006)

  • พบว่า 89% ของนักศึกษาวิทยาลัย สืบค้นข้อมูลโดยเริ่มจาก search engine ในขณะที่ 2% นั้น สืบค้นข้อมูลโดยเริ่มจาก website ของห้องสมุด
  • 93% มีความพึงพอใจกับการใช้ search engine (84% พึงพอใจที่บรรณารักษ์ห้องสมุดให้ความช่วยเหลือในการสืบค้น)
  • นักศึกษาวิทยาลัย ยังคงใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล แม้ว่าจะมีจำนวนน้อย (และการอ่านก็น้อยด้วย)
  • หนังสือ ยังคงเป็นแหล่งสืบค้นของห้องสมุด แม้ว่าจะมีการลงทุนด้านแหล่งสืบค้น digital

งานวิจัย ปี 2008 เรื่อง The Google generation: the information behaviour of the researcher of the future (CIBER, 2008) ศึกษาพฤติกรรมการสืบค้นข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่เกิดหลังจากปี 1993 ซึ่งเรียกว่า google generation

  • พบว่า การค้นหา online นั้นส่วนใหญ่เป็นการอ่านผ่านๆ แบบ skimming ไม่สืบค้นแบบลึก
  • ราว ร้อยละ 60 เข้า website เพียงครั้งเดียวและอ่านแต่ละหน้าใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งนาที
  • ส่วนใหญ่ชอบข้อมูล สั้น กระชับ อ่านง่าย มากกว่าข้อมูลในลักษณะ full text



เห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมการสืบค้นข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ซึ่งหลายภาคส่วนในต่างประเทศ ได้บรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนด้านทักษะการรู้สารสนเทศ ขณะที่ประเทศไทย หลักสูตรนี้ มีให้เรียนบางคณะ เช่น คณะมนุษยศาสตร์ หรือบรรณารักษ์


ในทัศนะของผู้เขียน เห็นว่า ทักษะนี้ คือทักษะสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นเครื่องมือทางปัญญาในการเรียนรู้ ระบบการศึกษาน่าจะมีปรับตัว เตรียมความพรอ้มก้าวเข้าสู่สังคมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้สอนควรพัฒนาสมรรถนะของตนเองให้มีทักษะด้านการรู้สารสนเทศด้วย


นอกจากนี้ การรับสมัครบุคลากรมาร่วมงานในอนาคต น่าจะระบุคุณสมบัติของผู้สมัครเพิ่มเติมว่าควรมีทักษะการรู้สารสนเทศด้วย นอกเหนือจากทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์


อ่านเพิ่มเติม

1 Literacy across learning Principles and practice

2 Towards an Information Literate Society (UNESCO 2003)

3 core model SCONUL Working Group on Information Literacy April 2011


ภัทรพร คงบุญ

8 พฤศจิกายน 2559




อ้างอิง

-Bundy, A. (ed.) (2004) Australian and New Zealand Information Literacy Framework principles, standards and practice, 2nd ed. Adelaid: Australian and New Zealand Institute Information Literacy

-CIBER (2008). Information Behaviour of the Researcher of the Future. London: CIBER.

-Mackenzie, A., Howard, H., Makin, L.. and Ryan, C. (2002) The big blue information skills for students. London: Joint Information Systems Committee (JISC).

-OCLC (2006) College Students’ Perceptions of the Libraries and Information Resources: A Report to the OCLC Membership. Dublin, OH

-Welsh, T.S., & Wright, M. S. (2010). Information literacy in the digital age: an evidence-based approach. Oxford, Chandos.


หมายเลขบันทึก: 618223เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จริงด้วยครับ

ทักษะนี้สำคัญมากๆ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท