Purpose of Education - Full version


Afraid of tiring is not a purpose of education [ IA ]

การกลัวความเหนื่อยยาก ถูกผูกไว้กับวัตถุประสงค์ของการศึกษามาหลายชั่วอายุคน ทั้งๆที่มันไม่น่าจะใช่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการศึกษา

#Mother of #Analogy 02/1

การกลัวความเหนื่อยยาก กับการศึกษา มีที่มาที่ไปอย่างไร

แนวคิด/แรงจูงจากคนโบราณ "การศึกษาเพื่อจะได้เป็นเจ้าคนนายคน" (เครดิต:คุณหมออรัญ)

ความเหนื่อยยาก จากประสบการณ์ของผู้หลักผู้ใหญ่

ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกรูปแบบหนึ่ง

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

สาเหตุนำสู่ทัศนคติด้านการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานการกลัวความเหนื่อยยาก

#Mother of #Analogy 02/2

หาก "การกลัวความเหนื่อยยาก" ผูกขาด ทัศนคติด้านการศึกษา มาช้านาน ในฐานะผู้ปกครอง เราจะหาแรงจูงใจอะไรเพื่อสร้างทัศนคติใหม่ต่อลูกหลาน หรือกลุ่มคนยุค gen นี้

และเพราะเหตุนี้หรือไม่ที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงดูลูกหลานของคนเป็นพ่อเป็นแม่ยุคใหม่ ให้กลายเป็น 'ลูกเทวดา'

#Mother of #Analogy 02/3

4:1

18:46

64:15

บุคอรีย์:2586

บุคอรีย์:1385

หากยอมรับว่า ทัศนคติด้านการศึกษาอยู่บนพื้นฐาน การกลัวความลำบากและเหนื่อยยาก นั้นเป็นจริง ตัวกลางที่ส่งผ่านความเป็น root cause นี้สู่รุ่นต่อรุ่น หนีไม่พ้น 'เรา' ผู้เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง

การปรับเปลี่ยนแนวคิดสร้างทัศนคติใหม่ๆ จึงต้องเกิดจากตัวเราเสียก่อน

Analogy หนึ่งที่อยากนำเสนอเพื่อสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่อยู่กับเรา ในธรรมชาติความเป็นมนุษย์เรานี่เอง

‎وَبَثَّ مِنْهُمَا رِجَالًا كَثِيرًا وَنِسَآءً ۚ

บรรยายธรรม ตอนหนึ่งจาก ดร.อิสมาแอล ลุตฟี จะปะกียา "มนุษย์เรานั้นชอบการแต่งงาน(สื่อถึงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างหญิงชาย-ให้เป็น SS)อยู่แล้ว แถมพระเจ้ายังบรรจุไว้ในคำสั่งใช้ เป็นอิบาดัตที่ตอบจริต/ธรรมชาติของเราอีกด้วย"

‎رَبَّكُمُ ٱلَّذِى خَلَقَكُم مِّن نَّفْسٍ وَٰحِدَةٍ وَخَلَقَ مِنْهَا زَوْجَهَا

จากจุดนี้ SS ที่ถือเป็นหนึ่งในความสุขสูงสุดตามธรรมชาติของเรา (เราถูกสร้างมาให้เป็นคู่)

‎وَبَثَّ مِنْهُمَا رِجَالًا كَثِيرًا وَنِسَآءً

กิจกรรม SS แม้ว่าจะหนื่อย ต้องออกแรง แต่เราต่างพร้อมใจ สุขใจที่จะออกแรง ยอมที่จะเหนื่อยเพื่อที่ให้เราและอีกครึ่งชีวิตของเรามีความสุข และผลของความสุขนั้นคือ ลูกหลาน

Analogy เรื่อง SS นี่แหละที่เรา คนเป็นพ่อเป็นแม่ น่าจะนำเอามาปรับทัศนคติของเรา แล้วถ่ายทอดทัศนคติใหม่เรื่องความเหน็ดเหนื่อย ที่มีความดีงามอยู่ในนั้น

จะนำเสนอในรูปแบบไหน นั้น ก็ขึ้นอยู่กับทักษะและวิจารณญาณของแต่ละคน รวมถึงการระวังถึงข้อจำกัด/วุฒิภาวะของลูกหลาน ที่จะรับสื่อเหล่านั้น

เชื่อว่าหากเราเข้าใจถึงฮิกมะฮฺที่มีอยู่ใน SS แล้ว เราจะมีหลากหลายวิธี และมากรูปประโยคในการปลูกฝังแนวความคิดใหม่ให้กับลูกหลาน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่นำสู่ความเป็น 'ลูกเทวดา' เด็กอ่อนแอ ขี้เกียจ

ในขณะเดียวกัน เราจะได้ทรัพยกรบุคคลที่พร้อมจะรับช่วงต่อจากเราในอนาคต ที่พร้อมจะสู่จะลำบากไปด้วยกัน

สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการผสมผสาน Passive & Active Learnings อย่างลงตัว (เรียนรู้คู่ปฏิบัติ) นำมาซึ่งมิติใหม่เพื่อยกระดับการศึกษาไทยเรา

#Mother of #Analogy 02/4

อัซตัฆฟิรุ้ลลอฮฺ วัลลอฮูอะลัม

หมายเลขบันทึก: 617358เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2016 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2016 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มนุษยชาติทั้งหลาย ! จงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าที่ได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่ง และได้ทรงบังเกิดจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของเขา และได้ทรงให้แพร่สะพัดไปจากทั้งสองนั้น ซึ่งบรรดาชายและบรรดาหญิงอันมากมาย และจงยำเกรงอัลลอฮฺที่พวกเจ้าต่างขอกัน ด้วยพระองค์ และพึงรักษาเครือญาติ แท้จริงอัลลอฮฺทรงสอดส่องดูพวกเจ้าอยู่เสมอ

http://legacy.quran.com/4/1

ทรัพย์สมบัติและลูกหลานคือ เครื่องประดับแห่งการดำรงชีวิตในโลกนี้ และความดีทั้งหลายที่จีรังนั้น เป็นการตอบแทนที่ดียิ่ง ณ ที่พระเจ้าของเจ้า และเป็นความหวังที่ดียิ่ง

http://legacy.quran.com/18/46

แท้จริงทรัพย์สมบัติของพวกเจ้า และลูกหลานของพวกเจ้านั้นเป็นเครื่องทดสอบและอัลลอฮฺนั้น ณ ที่พระองค์มีรางวัลอันยิ่งใหญ่

“Your wealth and your children are only a trial, whereas God, with Him is a great reward (Paradise).” (Quran 64:15)

http://legacy.quran.com/18/46

‎حَدَّثَنَا آدَمُ، حَدَّثَنَا ابْنُ أَبِي ذِئْبٍ، عَنِ الزُّهْرِيِّ، عَنْ أَبِي سَلَمَةَ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ ـ رضى الله عنه ـ قَالَ قَالَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم ‏ "‏ كُلُّ مَوْلُودٍ يُولَدُ عَلَى الْفِطْرَةِ، فَأَبَوَاهُ يُهَوِّدَانِهِ أَوْ يُنَصِّرَانِهِ أَوْ يُمَجِّسَانِهِ، كَمَثَلِ الْبَهِيمَةِ تُنْتَجُ الْبَهِيمَةَ، هَلْ تَرَى فِيهَا جَدْعَاءَ ‏"‏‏.‏

http://sunnah.com/bukhari/23/138

‎حَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ يُوسُفَ، أَخْبَرَنَا مَالِكٌ، عَنِ ابْنِ شِهَابٍ، عَنْ حُمَيْدِ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ، وَمُحَمَّدِ بْنِ النُّعْمَانِ بْنِ بَشِيرٍ، أَنَّهُمَا حَدَّثَاهُ عَنِ النُّعْمَانِ بْنِ بَشِيرٍ، أَنَّ أَبَاهُ، أَتَى بِهِ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ إِنِّي نَحَلْتُ ابْنِي هَذَا غُلاَمًا‏.‏ فَقَالَ ‏"‏ أَكُلَّ وَلَدِكَ نَحَلْتَ مِثْلَهُ ‏"‏‏.‏ قَالَ لاَ‏.‏ قَالَ ‏"‏ فَارْجِعْهُ ‏"‏‏.‏

http://sunnah.com/bukhari/51/20

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท