เรือนจำเอธิโอเปีย


ในอดีตที่การปฏิบัติต่อนักโทษของเรือนจำเอธิโอเปียไม่ได้มุ่งไปที่การฟื้นฟูสมรรถภาพ สู่การฟื้นฟูสมรรถภาพนักโทษในปัจจุบัน...............


การดำเนินงานของเรือนจำเอธิโอเปีย ในช่วงปี ๑๙๗๔ ถึงปี ๑๙๙๑ ข้อมูลโดยสังเขป จากเว็บไซต์ http://www.country-data.com/cgi-bin/query/r-4551.h... พบว่า เรือนจำเอธิโอเปีย แบ่งเรือนจำออกเป็น เรือนจำกลาง และ เรือนจำภูมิภาค ด้านนักโทษแบ่ง นักโทษทั่วไป นักโทษการเมือง ผู้กระทำผิดทางอาญาที่เป็นเด็กและเยาวชน ระบบเรือนจำ ประกอบด้วย เรือนจำทั่วไป เรือนจำฟาร์ม มีการขังเดี่ยว การใช้แรงงานนักโทษ และ การใช้แรงงานนักโทษในอุตสาหกรรมเรือนจำ โดยมีทหารเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุม มีการเฆี่ยนตี และ การทรมานอย่างรุนแรง สำหรับนักโทษที่หลบหนีการทำงาน เป็นเรือนจำที่มีปัญหานักโทษแออัด มีการปฏิบัติต่อนักโทษที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน เช่น ด้านสุขาภิบาล และ การรักษาพยาบาลโดยทั่วไปไม่เพียงพอ ด้านอุตสาหกรรมเรือนจำ มีการทอผ้าแบบดั้งเดิมใช้สำหรับการทำเสื้อผ้าและพรม เป็นอุตสาหกรรมคุกที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนั้นยังมี ช่างไม้ ช่างโลหะ จักสาน และ อุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้านรายได้จากการจำหน่ายสินค้า และ ผลิตภัณฑ์แรงงานนักโทษ นักโทษจะได้รับส่วนแบ่งประมาณร้อยละ ๑๐ ของเงินที่ได้มาจากการขายสินค้า และ เงินรายได้ที่เหลือจะใช้ในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเรือนจำ แม้ว่า การให้นักโทษทำงานในอุตสาหกรรมเรือนจำ ไม่ได้มุ่งไปที่การแก้ไขฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่ก็ทำให้นักโทษบางส่วนได้รับทักษะที่มีประโยชน์จากการทำงาน ดังกล่าว


การดำเนินงานของเรือนจำเอธิโอเปีย ในช่วงปี ๑๙๙๑ ถึงปัจจุบัน ข้อมูลโดยสังเขป จากเว็บไซต์ https://www.unodc.org/easternafrica/en/Stories/rev... พบว่า เรือนจำเอธิโอเปียมีการดำเนินการภายใต้แนวคิดที่สำคัญ คือ แนวคิดในการปฏิบัติต่อนักโทษอย่างมีมนุษยธรรม การแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ การลดการกระทำความผิดซ้ำ และ แนวคิดในการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม โดยในปี ๒๐๑๖ นี้ เรือนจำเอธิโอเปีย ได้มีการให้ความร่วมมือกับ UNODC ในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมความรู้ และ ทักษะ ด้านการควบคุมรักษาความปลอดภัย และ ด้านการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษให้แก่เจ้าหน้าที่เรือนจำเอธิโอเปีย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัตินักโทษให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม


โดยสรุป

เรือนจำเอธิโอเปียผ่านวิวัฒนาการมาจากเรือนจำในระบอบการปกครองของจักรวรรดิ มีการปฏิบัติต่อนักโทษที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานด้านสุขาภิบาล และ การรักษาพยาบาลโดยทั่วไปไม่เพียงพอ ทั้งในเรือนจำกลาง เรือนจำภูมิภาค ในเรือนจำทั่วไป เรือนจำฟาร์ม มีการขังเดี่ยว การใช้แรงงานนักโทษ และ การใช้แรงงานนักโทษในอุตสาหกรรมเรือนจำ ในปัจจุบันเรือนจำเอธิโอเปีย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการต่างประเทศมีเรือนจำอย่างเป็นทางการ ๖ เรือนจำของรัฐบาลกลาง และ ๑๒๐ เรือนจำภูมิภาค ในปี๒๐๑๒ มีประชากรเรือนจำ ประมาณ ๑๑๑,๐๕๐ คน (รวมผู้ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี / นักโทษเด็ดขาด ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.prisonstudies.org/country/ethiopia) มีการนำแนวคิดในการปฏิบัติต่อนักโทษอย่างมีมนุษยธรรม และ แนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน มีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การให้ความร่วมมือกับ UNODC ในพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมความรู้ และ ทักษะ ด้านการควบคุมรักษาความปลอดภัย และ ด้านการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษให้แก่เจ้าหน้าที่เรือนจำเอธิโอเปีย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัตินักโทษให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม เช่น เดียวกับอานารยะประเทศ

................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๙


หมายเลขบันทึก: 617352เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2016 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Thank you for the info. It seems that a similar prison policy has been implemented in Thailand for some 50 years now. (But due to lack of formal assessments and reports, the effectiveness of this policy never comes to public scrutiny.) Do you have Thailand's info for comparison?

BTW I think "เรือนจำเอธิโอเปีย" gives impression that it is a prison called Ethiopia (เรือนจำ ชื่อ เอธิโอเปีย). Perhaps เรือนจำในเอธิโอเปีย (prisons in Ethiopia or Ethiopian prisons) would give meaning of "several prisons" in the country Ethiopia better ;-)

ขอบคุณพี่ Mr Sunthorn SR Rathmanus (sr) มากน่ะครับ สำหรับการ comment ที่ดีและมีประโยชน์ ทั้งในส่วนของนโยบายคุกของประเทศเอธิโอเปีย และ นโยบายคุกของประเทศไทย รวมตลอดถึงชื่อของบทความซึ่งผมจะได้นำไปปรับปรุงในการตั้งชื่อเรื่องต่อไป แน่นอน ครับ ผมย่อมมีข้อมูลของคุกของประเทศไทยสำหรับการเปรียบเทียบ แต่ผมไม่สะดวกที่จะเปรียบเทียบเพราะผมยังเป็นเจ้าหน้าที่คุก.....(และ ผมเคยโดนลงขันจับตายในเรื่องทำนองนี้มาครั้งหนึ่งเมื่อ ๒ ปี ที่แล้วครับ) แต่ขอกล่าวโดยภาพรวมว่านโยบายคุกไทย คือ นโยบายแบบ แดนสนทยาคุก (Twilight zone) น่ะครับ

ขอบคุณอาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตามและให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากน่ะครับ อาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท