ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข

1.ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

ผู้สูงวัยมีโอาสที่จะติดเตียงสูงอยู่แล้ว เนื่องจากวัยที่สูงขึ้นและโรคภัยต่างๆ การแก้ปัญหาการนอนติดเตียงต้องมีนักกายภาพบำบัดมาบำบัดให้สามารถทำกิจกรรมได้ในระดับหนึ่ง จากนั้นก็ค่อยๆพัฒนาศักยภาพการเคลื่อนไหวให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้ไม่เกิดปัญหาแผลกดทับ ปัญหาการกลืนลำบากสามารถแก้ได้โดยการกระตุ้นกลืนที่ฝึกโดยนักกิจกรรมบำบัด อาการปวดหลังจากการหกล้มทำให้ต้องระวังในการทำกิจกรรมหรือท่าในการนอน ควรไปพบแพทย์เนื่องจากอาจมีการร้าวของกระดูกสันหลังหรือการฉีกขาดของหมอนรองกระดูสันหลัง ปัญหาความยากจนก็ต้องแจ้งหน่วยงานเพื่อขอรับเบี้ยผู้สูงอายุและเบี้ยคนพิการเพื่อให้สามารถพอจะยังชีพได้ และการที่ไม่มีคนดูแลเราต้องแจ้งให้อนามัยชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดูแลเรื่องของผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่มีคนดูแล เพื่อให้เขามีคนมาคอยดูแลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆโดยเฉพาะเรื่องความสะอาด

2.วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่สูงวัยเลี้ยงดู

ก่อนอื่นก็ต้องแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้าก่อนคือการพยายามปรับทัศนคติในเรื่องต่างๆ ไปจนถึงการเข้าพบจิตแพทย์ในกรณีที่เป็นหนักมาก หลังจากนั้นก็สร้างเสริมบุคลิกภาพที่ดี ที่จะช่วยในเรื่องโอกาสในการเข้ารับทำงาน รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เนื่องจากการที่อยู่ที่บ้านไม่ได้ทำอะไรก็อาจจะรู้สึกสบายและไม่อยากกลับไปทำงาน เป็นภาระให้กับพ่อแม่

3. วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันประกันพรุ่ง และติดเกม

การแก้ไขอาการย้ำคิดย้ำทำ คือการให้เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว แต่ต้องเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป การผลัดวันประกันพรุ่งก็ต้องแก้ไขจากพฤติกรรมของตัวเขาให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น การเล่นเกมไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป แต่การเล่นมากไปก็ส่งผลที่ไม่ดีต่อตัวเอง จึงควรเล่นแต่พอดี ให้เวลากับการศึกษามากขึ้น โดยสร้างแรงจูงใจในการไปเรียน เพื่อให้เขาอยากไปเรียน เพื่อเป็นอนาคตที่ดีของชาติต่อไป

4.วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

วัยเด็กเป็นวัยที่สามารถปรับแก้ไขสิ่งต่างๆได้ง่ายกว่าวัยที่อายุมากขึ้น การที่เด็กสมาธิสั้นก็ควรให้เด็กทำกิจกรรมที่เพิ่มสมาธิ นิสัยก้าวร้าวและการตีคนแปลกหน้าก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้ความเข้าใจและสอนดีๆ ให้เด็กเข้าใจเหตุผลว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่ดีเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง การไม่ชอบออกจากบ้านก็แก้ไขโดยการทำสร้างแรงจูงใจให้อยากออกจากบ้าน ให้รู้สึกว่าข้างนอกบ้านมีอะไรที่น่าสนใจและไม่ได้น่ากลัว

นางสาวณัชชา เพชร์สินธพชัย PTOT 5823021

อ้างอิง

https://www.praram9.com/talktodoctor_detail.php?id...

https://www.doctor.or.th/article/detail/5967

http://www.thaihealth.or.th/Content/27579-%E0%B9%8...

http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/kmdms/link_km/KM_...

http://health.kapook.com/view3241.html

http://www.manarom.com/article-detail.php?id=11

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาวะ
หมายเลขบันทึก: 616264เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2016 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท