ทำไมอาชญากรไม่กลัวคุก (Why don't criminals fear prison?)


อาชญากร (Criminal) ของไทยไม่กลัวคุก เพราะถ้าถูกจับได้ ก็จะมีที่อยู่ ที่กิน ฟรี บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ มีสิทธิเรียนต่อฟรีถึงระดับปริญญาโท เรียกว่ารัฐให้การดูแลอาชญากรผู้ทำร้ายสังคม ดีกว่า ประชาชนผู้ประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริต.........................


ทำไมอาชญากรไม่กลัวคุก ข้อมูลจากบทความ เรื่อง Why don't criminals fear prison? โดย Michael Santos เขียนเมื่อ ๒๖ มิถุนายน ๒๐๑๕ เป็นคำตอบที่ได้จากประสบการณ์การทำงานเป็นปรึกษาคุก (Prison Consultant) ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พบสาเหตุที่อาชญากรไม่กลัวคุกอย่างน้อย ๑๐ ประการ โดยสังเขป ดังนี้

๑. โดยปกติคนเราคิดว่าตัวเองไม่ใช่อาชญากร (Non-Criminals) แต่ที่ก่ออาชญากรรมเพียงเพื่อตอบสนองต่ออิทธิพลในสภาพแวดล้อมของพวกเขา

๒.อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแก๊ง (Gang-Related Crimes) ก่ออาชญากรรมเพราะเชื่อว่าพฤติกรรมก่ออาชญากรรมจะเพิ่มเกียรติ หรือ ชื่อเสียง ของพวกเขาในชุมชนของตน

๓. อาชญากร (Criminal) บางส่วนก่ออาชญากรรมเพราะเชื่อว่าการติดคุกเป็นระยะเวลานานจะช่วยยกระดับ และ สถานะของพวกเขา

๔. อาชญากรรมยาเสพติด (Drug Crimes) ก่ออาชญากรรมเพราะเชื่อว่าพวกเขาจะไม่มีโอกาสติดคุก

๕. อาชญากรรมปกขาว (White-Collar Crimes) ก่ออาชญากรรมเพราะเชื่อว่าจะได้รับผลดี และ ประโยชน์ จากการก่ออาชญากรรมมากกว่าผลร้าย

๖. อาชญากร (Criminal) บางส่วนเชื่อว่าการมีส่วนร่วมในการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มสถานะของพวกเขาในชุมชน

๗. อาชญากร (Criminal) บางส่วนมีส่วนร่วมในการก่ออาชญากรรมเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการหาเลี้ยงชีพ

๘. อาชญากร (Criminal) ทำงานจากมุมมองของการเสริมสร้างสถานะ หรือ ชีวิต การใฝ่หาความพึงพอใจในทันที ด้วยความคิดที่ว่าพวกเขาสามารถที่จะหลีกเลี่ยงคุก

๙.อาชญากร (Criminal) ไม่กลัวการติดคุก และ ความกลัวการติดคุกไม่ได้เป็นองค์ประกอบการตัดสินใจก่ออาชญากรรมของ

๑๐. อาชญากร (Criminal) ที่มีส่วนร่วมในการก่ออาชญากรรมเห็นว่าเป็นเหมือนการเล่นการพนัน เพลิดเพลินไปกับการชนะ และ เชื่อว่าพวกเขาสามารถหลีกเลี่ยงการติดคุก

โดยสรุป

ประเด็นปัญหาอาชญากร (Criminal) หรือ ผู้กระทำผิด (Offender)ไม่กลัวคุก ของ Michael Santos เป็นมุมมองที่เน้นหนักไปในด้านสังคมวิทยา ซึ่งเป็นมุมมองที่น่าสนใจสำหรับนักอาชญาวิทยา (Criminologist) และ ผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานคุก หรือ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice System) ความจริงแล้ว ประเด็นปัญหาอาชญากร หรือ ผู้กระทำผิด ไม่กลัวคุก ยังมีความเชื่อมโยงกับมิติอื่นๆ อีก หลายมิติ เช่นมิติของทฤษฎีการลงโทษ (Theory of Punishment) ทั้ง ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน (Retributive theory) ทฤษฎีข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence theory) ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitation theory) โดยเฉพาะถ้าเน้นการปฏิบัติต่ออาชญากรตามทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู มากเกินไป (เช่นกรณีของไทย) ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงในการตัดสินใจก่ออาชญากรรมของอาชญากร และทำให้อาชญากรไม่กลัวคุก เพราะถ้าถูกจับได้ ก็จะมีที่อยู่ ที่กิน ฟรี บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ มีสิทธิเรียนต่อฟรีถึงระดับปริญญาโท เรียกว่ารัฐบาลไทยให้การดูแลอาชญากรผู้ทำร้ายสังคม ดีกว่า ประชาชนผู้ประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริต (ซึ่งรัฐไม่ยอมให้กินข้าวฟรี และ เรียนฟรีถึงระดับปริญญาโทแน่นอน) ปัญหาอาชญากรไม่กลัวคุก ดังกล่าว จึงยังคงเป็นประเด็นคำถามที่ส่งไปถึงนักอาชญาวิทยาของไทยที่สังคมยังต้องรอคำตอบอีกต่อไป

....................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๒๗ กันยายน ๒๕๕๙


อ้างอิง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.quora.com/Why-dont-criminals-fear-prison และ เว็บไซต์ search.mysearch.com/search?&ctype=pictures&imgs=1p&page=11&q=criminals+fear+prison&tpr=10&ots=1474977801009&filter=on&imgDetail=true



หมายเลขบันทึก: 616176เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2016 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

This "...ก็จะมีที่อยู่ ที่กิน ฟรี บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ มีสิทธิเรียนต่อฟรีถึงระดับปริญญาโท เรียกว่ารัฐให้การดูแลอาชญากรผู้ทำร้ายสังคม ดีกว่า ประชาชนผู้ประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริต (ซึ่งรัฐไม่ยอมให้กินข้าวฟรี และ เรียนฟรีถึงระดับปริญญาโทแน่นอน) ..." policy can be exploited.

The cost of freedom and righteousness is high in comparison.

ขอบคุณท่านอาจารย์ Mr Sunthorn SR Rathmanus (Sr)ที่กรุณาติดตาม ให้ความเห็น ในเชิงเปรียบเทียบ ว่า ค่าใช้จ่าย ในการบังคับโทษจำคุก ( เสรีภาพ และ ความชอบธรรม ) ของรัฐบาลอยู่ในระดับสูง และ ปัญหา ดังกล่าว เป็นเรื่องของนโยบายรัฐ และ ต้องแก้ไขจากนโยบายของรัฐ ขอบคุณมากครับอาจารย์

1) I am not teaching or a teacher. Please don't call me อาจารย์ - it is a misrepresentation that I cannot accept.

2) I could see this sort of policies exploited at levels such as: lobbying and bribes at each 'approval' in steps of an appliction to study, wardens, prisoners and their families can be involved. Complex network of contacts and money or benefits may be beyond 'official capacity' or official power to investigate.

I think we should think about this more before we toss it in the government bin.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท