​ชีวิตที่พอเพียง : 2758. จัณฑาล



กลับไปชุมพรคราวนี้ น้องชาย (นพ. วิโรจน์) ให้หนังสือ จัณฑาล ที่แปลมาจาก Untouchables โดย Dr. Narendra Jadhav มาอ่าน อ่านแล้ววางไม่ลง ที่คุณทิมดาบเอามาเล่าใน Gotoknow เมื่อ ๒ ปีที่แล้วเป็นฉบับ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๕๐ เล่มที่ผมได้มาเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๙ ปี ๒๕๕๘ ฉบับภาษาอังกฤษเป็น All Time Best Seller


เป็นหนังสือที่มีวิธีเขียนแบบเรื่องเล่าชีวิตจริง ที่เรานึกไม่ถึงว่าระบบชั้นวรรณะในอินเดียจะไร้เหตุผลถึงขนาดนั้น อ่านแล้วคิดว่าคนไทยโชคดี ที่สังคมไทยไม่ตามอย่างอินเดียถึงขนาดนั้น


แต่ที่ผมได้คติสำหรับนำมาเล่าอยู่ที่หน้า ๒๘๕ ย่อหน้าสุดท้าย “…ท่านทิ้งมรดกที่ไม่อาจประเมินค่าได้ นั่นคือความมุ่งมั่นแน่วแน่และความกล้าหาญ พ่อไม่เพียงแต่เป็นบิดาของเราเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสัญลักษณ์ แห่งปรัชญาและวิถีในการดำรงชีวิต เมื่อใดก็ตามที่เราต้องการความเข้มแข็ง เราแค่มองตัวอย่างจากพ่อเท่านั้น


เรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล่าชีวิตของพ่อและแม่ของ ดร. นเรนทรา จาดฮาฟ เอามาเรียงสลับกันจนอ่านปะติดปะต่อกันได้ดี และได้รสชาติชีวิตและความเชื่อของคนจัณฑาลและศาสนาฮินดู


อ่านแล้วผมตีความว่า ดามู จาดฮาฟ ผู้เป็นพ่อ เป็นนักพัฒนา Grit ให้แก่ลูกๆ โดยที่ตัวเขาเองมี Grit ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ การพัฒนา Grit ส่งผลให้ลูกๆ ทั้ง ๖ คนมีชีวิตที่ดี พ้นสภาพจัณฑาลในทางสังคม ยิ่ง ดร. นเรนทรา กลับเป็นชนชั้นปกครอง


นอกเหนือจากการพัฒนา Grit แล้ว สาระตลอดเรื่องบอกว่า ดามู เป็นนักปลูกฝังคุณธรรมให้แก่ลูกๆ อีกด้วย


วิจารณ์ พานิช

๒๕ ส.ค. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 616172เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2016 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2016 08:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท