หยก


หยกเป็นแร่ธาตุที่มีราคาสูง และนิยมใช้ทำเป็นเครื่องประดับและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กำไร แหวน หรือแม้พระพุทธรูปนั้นก็มีไม่น้อยที่สร้างจากหยก ความที่มันเป็นแร่ที่หายากและราคาแพงนี้เอง จึงมีผู้คิดค้นการทำเลียนแบบขึ้นจากวัสดุต่างๆ ซึ่งด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันนี้ก็ช่วยให้มิจฉาชีพพวกนี้สามารถทำหยกปลอมได้ง่ายขึ้น แต่การจะสังเกตว่าอันไหนเป็นหยกปลอมหรือหยกแท้นั้น ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีทางเอาเสียเลย เพียงแต่ต้องอาศัยไหวพริบและความเคยชินกันสักหน่อยครับ

1. นำหยกมาเคาะกันดู หากเป็นหยกแท้นั้นจะมีเสียงดังกังวานเสนาะหู แต่ถ้าเป็นหยกปลอมนั้นจะออกเสียงทึบๆ ไม่ใสเท่าที่ควร ข้อแนะนำสำหรับวิธีนี้คือ ไม่ควรเคาะแรงจนเกินไป เพราะอาจทำให้เนื้อหยกนั้นแตกหรือบิ่นได้

2. ธรรมชาติของหยกนั้นมักจะมีเนื้อสัมผัสที่เย็น ดังนั้นเมื่อต้องการพิสูจน์ว่าเป็นหยกแท้หรือไม่ ควรนำมาวางไว้ในมือหรือกำไว้สักครู่ หากเนื้อหยกมีสัมผัสที่ไม่เย็น ให้ตีไว้ก่อนว่าเป็นของปลอม แต่วิธีนี้ก็ไม่แม่นยำเท่าไหร่นัก เพราะหยกก็คือหิน ที่สามารถเก็บความเย็นจากอุณหภูมิรอบตัวได้เท่านั้นเอง

3. ให้นำหยกขึ้นส่องดูกับไฟ ซึ่งโดยธรรมชาติเนื้อหยกจะดูใสและสามารถส่องผ่านทะลุโดยแสงไฟได้ แต่ของปลอมส่วนมากนั้นเนื้อจะทึบ ไฟที่ส่องผ่านนั้น ไม่สามารถทะลุได้ แต่ในสมัยนี้มีกรรมวิธีการปลอมแปลงที่เหนือชั้นมากขึ้น หยกปลอมบางชิ้นอาจจะมีลักษณะโปร่งแสง ให้ดูด้วยการใช้กล้องส่องพลอยจะสามารถมองเห็นเนื้อหยกได้ชัดมาก และเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น

4. นำหยกไปขูดกับกระจก ทั้งนี้เนื้อหยกนั้นจะมีลักษณะแข็งมาก ให้ทดลองดูว่านำไปขูดกับกระจกแล้วจะเป็นรอยหรือไม่ ถ้าเป็นแสดงว่าหยกแท้ แต่ถ้าไม่มีรอยหรือเกิดรอยไม่สม่ำเสมอนั้น ให้ตีความว่าเป็นหยกปลอมได้เลย แต่ข้อควรระวัง ไม่ควรขูดแรงจนเกินไป เพราะกระจกจะแตกได้

5. นำเส้นผมมาพันกับหยก แล้วจุดไฟลนที่หยก วิธีนี้ฮิตกันมากครับ เพราะสามารถทำได้ง่ายและร้านขายหยกส่วนใหญ่นั้นยอมให้ทดลองด้วยวิธีนี้ได้ ซึ่งถ้าลนไฟแล้วหยกร้อนขึ้น แต่เส้นผมไม่เป็นอะไร นี่คือหยกแท้ แต่ถ้าเส้นผมเกินไหม้ให้ตีความว่าหยกปลอมได้เลย

ทั้งนี้วิธีการที่จะดูหยกแท้หรือปลอมนั้น ไม่มีวิธีไหนที่ได้ผล 100% เพราะของปลอมในสมัยนี้ปลอมได้เหมือนของจริงมากๆ ครับดังนั้นควรสอบถามหรือหาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่ไว้ใจได้จะดีที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #kmpprep
หมายเลขบันทึก: 615582เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2016 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2016 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท