ปูรณกลศ


หม้อเปรียบเป็นดั่งจิตเดิมแท้ แลต้นไม้ที่งอกออกมาจากหม้อเปรียบดั่งโลก หรือ ความคิดอันไม่สิ้นสุด หนอ



มนุษย์สมัยโบราณมีการสร้างสัญลักษณ์ต่างๆ มากมายจากสิ่งที่อยู่รอบตัว เพื่อสื่อความหมายและเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ได้พบเห็น และเมื่ออยู่รวมกันเป็นชุมชน สัญลักษณ์เหล่านี้ก็เป็นตัวแทนของความเชื่อและทัศนคติของคนในชุมชน เพื่อสื่อให้เข้าใจความหมายในทางเดียวกัน อาจจะอยู่ในรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวมีหลากหลายชนิด มักแสดงออกมาในรูปแบบของงานศิลปกรรม ซึ่งแฝงด้วยคติความเชื่ออย่างลึกซึ้ง ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องในศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์

ปูรณกลศกับคติความเชื่อจากอินเดีย

ปูรณกลศ หรือ ปูรณฆฏะ เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาวอินเดียโบราณได้สร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง คำว่า “ปูรณะ” ตามรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตหมายถึง ความสมบูรณ์ มั่งคั่ง และ “กลศ” (กะ-ละ-สะ) แปลว่า หม้อน้ำ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง หม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ มีลักษณะ เป็นหม้อน้ำที่เต็มบริบูรณ์ มีไม้เลื้อยออกมาทั้งสองข้างอันแสดงถึงการกำเนิดของชีวิต หรือการสร้างสรรค์ ในทางศาสนาทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ปูรณกลศถือเป็นภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีราชสูยะ (พระราชพิธีราชาภิเษก) โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ว่า “หม้อกลศ” (Kalasa) “หม้อปูรณฆฏะ” (Puran akhata) และ “หม้อกมัณฑลุ” (Kamandlu) เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวอินเดียเชื่อว่า ปูรณกลศเป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นในคราวที่เกิดการกวนเกษียรสมุทร ของเหล่าเทวดาและยักษ์ ซึ่งมักจะพบสัญลักษณ์รูปปูรณกลศในงานศิลปกรรมเนื่องในศาสนา เช่น ภาพสลักหินที่ประดับในสถูปสาญจีและสถูปภารหุต (ภาพที่ ๑) ที่ถือศาสนสถานสำคัญของอินเดียโบราณ โดยสัญลักษณ์มงคลดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดมาสู่ยังดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัย ทวารวดี




ในมิติของการฝึกตนนั้น

หม้อเปรียบเป็นดั่งจิตเดิมแท้ ต้นไม้เป็นดั่งความคิดทางโลกที่งอกออกมาจากจิตเดิมแท้อย่างไม่สิ้นสุด ล้วนเกิดจากจิตเดิมแท้

หมายเลขบันทึก: 615576เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2016 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2016 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวยมากเลยครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ครับ

พอดีพึ่งเรียนรู้มาจากเพื่อนในวงการพระเครื่องนาดูนเหมือนกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท