วิชาภาวะผู้นำ 1/2559 : กระบวนการเรียนรู้บันเทิงเริงปัญญาก่อนเข้าสู่ภาคทฤษฎี (การเขียนโครงการ)


ผมคงไม่วิพากษ์ หรือตัดสินว่าโครงการ หรือกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเป็นเหตุเป็นผลแค่ไหน หรือแต่ละโครงการมีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงแต่ละโครงการสามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้จริง หรือพัฒนาตัวนิสิตและสังคมได้กี่มากน้อย หากแต่ยืนยันว่านี่คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยให้นิสิตได้เรียนรู้เพื่อนำไปสู่ทักษะหลายๆ ประการ หรือที่เราเรียกว่า Soft skills ในศตวรรษที่ 21 อย่างเสร็จสรรพ


เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2559 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธี โพธิ์ทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ ได้จัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาวะผู้นำ ในประเด็น “การเขียนโครงการเพื่อการพัฒนานิสิต” อันหมายถึงการเขียนโครงการ/โครงงานเพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรม (Project-based Learning) บนฐานคิดสำคัญคือ “เรียนรู้คู่บริการ” (Service Learning) ที่ประกอบด้วยการพัฒนาตนเองคู่ไปกับการพัฒนาสังคม ตามครรลองอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังว่า “เป็นผู้ช่วยเหลือสังคมและชุมชน”

และประเด็นของการเรียนรู้ในวันนี้ ก็ปูพรมสู่แก่นสารอันเป็นหัวใจการเรียนรู้ 3 มิติ ประกอบด้วย ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เรียนรู้ผ่านกิจกรรม ชุมชนคือห้องเรียน





ผศ.ดร.ชลธี โพธิ์ทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ




การจัดการเรียนรู้ครั้งนี้ เรียกได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ในแบบ “บันเทิงเริงปัญญา” อย่างไม่ผิดเพี้ยน เป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม หรือเรียนรู้แบบกระบวนการ เพราะผู้สอนมิได้ท่องจำความรู้มาบรรยาย หากแต่ออกแบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมในแบบเป็นทีม เสมอเหมือนการเรียนรู้โดยใช้ “ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” (Student-centered learning) หรือการเรียนรู้ในแบบเชิงรุก (Active Learning)





แบ่งกลุ่มเรียนรู้เพื่อการออกแบบโครงการ

กระบวนการเรียนรู้ในวันนี้เริ่มต้นจากการแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มๆ เฉลี่ยกลุ่มละประมาณ 4-5 คน พร้อมๆ กับการให้โจทย์ไปแบบง่ายๆ กล่าวคือ แต่ละกลุ่มจะออกแบบโครงการบนฐานข้อมูล หรือทรัพยากร 3 อย่าง โดยใช้งบประมาณไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือไม่ก็นำเสนอเพื่อขอรับทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท






ครับ-ยืนยันว่าเป็นการเรียนรู้ในแบบบันเทิงเริงปัญญา เน้นการเรียนรู้แบบเป็นทีม ฝึกให้นิสิตได้วิเคราะห์ปัญหา ค้นหามูลเหตุแห่งปัญหา และวิเคราะห์ถึงแนวทางของการคลี่คลาย หรือแก้ปัญหาร่วมกัน ผ่านกิจกรรม หรือโครงงานอันสร้างสรรค์ ทั้งเพื่อการพัฒนาตนเองคู่ไปกับการพัฒนาสังคม โดยโจทย์ของแต่ละกลุ่ม หรือที่ผมเรียกว่าทรัพยากร 3 อย่าง มีประมาณว่า ---

  • ไม้กวาด ยางรัดผม หลอดไฟ
  • ไม้ ช้าง หวี
  • ตั๊กแตน ยางรถยนต์ มอเตอร์น้ำ
  • ลิง รถ กุญแจ
  • ถุงเท้า มะนาว พัดลม
  • สบู่ ต้นไม้ ค้อน
  • วิทยุ กุญแจ ยีราฟ
  • จักรยาน ยุง มะเขือ
  • บ้าน ข้าวผัด ก๊อกน้ำ
  • ฯลฯ





ผลพวงของการออกแบบโครงการ/กิจกรรม

จากการที่นิสิตในแต่ละกลุ่มได้ร่วมกันขบคิด (โสเหล่) หรือระดมความคิดเพื่อออกแบบโครงการกิจกรรมบนฐานทรัพยากรอันเป็น “โจทย์” 3 ประเด็นข้างต้น ทำให้ผมได้สัมผัสถึงความตื่นตัวของนิสิตที่มีต่อการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา เห็นกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มในแบบพึ่งพิงและพึ่งพากัน เห็นการถกคิดและร่วมถกเถียง จนกระทั่งการนำไปสู่ข้อสรุปในวิถีกลุ่ม หรือประชาธิปไตย เห็นการทำงานแข่งกับเวลา และเพียรพยายามที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกัน ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้ผมมองว่าคือระบบและกลไกของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องตระหนัก เพราะผู้เรียนจะก่อเกิดเป็นทักษะหลายๆ อย่าง รวมถึงการปรับแต่ทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ หรือการใช้ชีวิตอย่างมีจุดหมายไปในตัว

แต่ที่แน่ๆ ผมเห็นและสัมผัสได้ถึงบรรยากาศของการเรียนรู้ในแบบเปี่ยมสุข อบอวลไปด้วยเสียงสรวลเสเฮฮา ยิ่งในห้วงของการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ยิ่งสนุกสนานไปกับบรรยากาศของการร้องทัก ร้องถาม หรือกระทั่งการหยิกหยอกกันและกันของนิสิตที่เป็นไปอย่างคึกคัก และครึกครื้น

สิ่งเหล่านี้คือหลักฐานเชิงประจักษ์อันง่ายงามของการยืนยันว่า ห้องเรียนวันนี้เต็มไปด้วยความสุข และมีชีวิตเป็นที่สุดก็ว่าได้








โดยส่วนตัวแล้ว ผมมองว่านี่คือการฝึกให้นิสิตได้ออกแบบการเรียนรู้ที่ง่ายงามในแบบบันเทิงเริงปัญญา เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนนำเข้าสู่การบรรยายในภาคทฤษฎีอย่างน่าสนใจ และน่าชื่นใจเป็นที่สุด

ผมคงไม่วิพากษ์ หรือตัดสินว่าโครงการ หรือกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเป็นเหตุเป็นผลแค่ไหน หรือแต่ละโครงการมีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงแต่ละโครงการสามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้จริง หรือพัฒนาตัวนิสิตและสังคมได้กี่มากน้อย หากแต่ยืนยันว่านี่คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยให้นิสิตได้เรียนรู้เพื่อนำไปสู่ทักษะหลายๆ ประการ หรือที่เราเรียกว่า Soft skills ในศตวรรษที่ 21 อย่างเสร็จสรรพ


และที่แน่ๆ ผมเห็นความตื่นตัวของการเรียนรู้ในตัวตนของนิสิต เห็นความตื่นตัวของการเรียนรู้อย่างเป็นทีม เห็นความสื่อใสของความคิด หลายๆ โครงการที่นำเสนอ กลายเป็นโจทย์ในแบบบันเทิงเริงปัญญาได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น

  • ศูนย์วิจัยตั๊กแตนและศูนย์วิจัยกังหันน้ำ (ตั๊กแตน ยางรถยนต์ มอเตอร์น้ำ)
  • ผลิตภัณฑ์สมุนไพร (สบู่ ต้นไม้ ค้อน)
  • สวนสัตว์มหาสนุก (ลิง รถ กุญแจ, วิทยุ ยีราฟ กุญแจ)
  • 3 ส.แห่งชีวิต : สว่าง สะอาด สวย (หลอดไฟ ไม้กวาด ยางรัดผม)
  • บ้านแสนสุข (บ้าน ข้าวพัด ก๊อกน้ำ)
  • ชุมชนสีเขียว ชีวิตสีเขียว (จักรยาน ยุง มะเขือ)
  • ฯลฯ







ผมคงไม่สามารถบอกเล่าเชิงลึกถึงรายละเอียดในแต่ละโครงการที่นิสิตคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา แต่ที่แน่ๆ ยืนยันว่าได้ความฮาและได้ความรู้ในแบบ “บันเทิงเริงปัญญา” อย่างไม่ผิดเพี้ยน เห็นมิติการคิดเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างโดดเด่น มีการเชื่อมร้อยเข้าสู่กระบวนการทางธุรกิจอย่างน่าสนใจ หรือกระทั่งการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบการสร้างรายได้พิเศษแก่นิสิตและชุมชน ฯลฯ

สำหรับผมแล้ว นี่คือกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่การเรียนรู้ในภาคทฤษฎีอย่างน่าประทับใจ

ย้ำอีกครั้งว่า ผมเห็นแนวคิดที่ซ่อนไว้หลายอย่างในกระบวนการนี้ นับตั้งแต่การฝึกให้นิสิตได้ค้นหาปัญหา การออกแบบวิธีการของการแก้ปัญหา ฝึกการคิดในแบบจิตนาการและการบูรณาการ ฝึกการทำงานเป็นทีม ฝึกการนำเสนอความคิดและโครงการสร้างสร้างสรรค์ผ่านแผนผังความคิด (ผังมโนทัศน์) และการเล่าเรื่อง หรือการบรรยาย ฯลฯ ซึ่งทั้งปวงนั้นล้วนยึดโยงกับทักษะความเป็นผู้นำอย่างไม่ต้องกังขา

....

ครับ-ค่อยมาติดตามกันต่อไปว่า เมื่อเข้าสู่โหมดภาคทฤษฎีแล้ว นิสิตจะเรียนรู้ได้ดีแค่ไหน จะยังฮาเฮในแบบบันเทิงเริงปัญญาอยู่อีกไหม

ตรงนี้ ค่อยว่ากัน ครับ




หมายเหตุ : ภาพโดย อติรุจ อัคมูล พนัส ปรีวาสนา

หมายเลขบันทึก: 615577เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2016 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2016 01:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

This is grand activity Most importantly, thecomplex can help improverelations between classmates

นิสิตมาจากสาขาอะไรเป็นส่วนใหญ่

ทำได้ดีนะเนี่ยขนาดเขียนเป็นภาษาอังกฤษ

ขอชื่นชมครับ

หนูชอบการเรียนแบบนี้ค่ะเพราะเป็นการเรียนที่ให้นิสิตได้ใช้ความคิดที่ติดตัวมาแล้วสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับเพื่อนๆในกลุ่มได้ละบรรยากาศในห้องเรียนก็สนุกไม่น่าเบื่อค่ะ?

The students have their own leadership within themselves. But they may not know well what is it and how much the useful of it. Once someone guide them even a bit.. finally, they will gonna bring their leadership out! and get woulderful outcomes!!


Keep going ^ ^ b

นิสิตมีความเป็นทีมเวิคมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท