หลักธรรมกับการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย


การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย เป็นประเภทของการสังคมสงเคราะห์ระดับจุลภาค ซึ่งเน้นการให้บริการผู้ที่ประสบปัญหาต่างๆเป็นรายบุคคลและครอบคลุมถึงในระดับครอบครัวของผู้ใช้บริการ

โดยนักสังคมสงเคราะห์ จะให้ความช่วยเหลือให้คำปรึกษา วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ปัญหาทางอารมณ์จิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้บริการมีความเข้าใจยอมรับในปัญหาของตนเอง พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกับนักสังคมสงเคราะห์

หลักธรรมกับการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย มีดังนี้ คือ

1. การละเว้นความชั่ว

อกุศลกรรมบถ 10 คือทางอันนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ ความไม่สบายทั้งปวง

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่าคนเราพึงเลี่ยงสิ่งที่จะนำไปสู่หนทางแห่งความชั่ว ความเสื่อมทั้งปวง ซึ่งสามารถจำแนกแยกแยะได้ 3 หมวดใหญ่ และ 10 หมวดย่อย ซึ่งเรียกว่า อกุศลกรรมบถ 10 นั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย

ความชั่วทางกาย 3 ข้อ

1. ปาณาติบาต หมายถึง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การเบียดเบียน ห่มเหง รังเกสัตว์

2. อทินนาทาน หมายถึง การลักทรัพย์ การเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่เต็มใจให้มาเป็นของของตน

3. กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง การประพฤติผิดทางกาม การผิดลูกผิดเมียผู้อื่น

ความชั่วทางวาจา 4 ข้อ

1. มุสาวาท หมายถึง พูดเท็จ พูดโกหกหลอกลวง พูดไม่มีมูลความจริง

2. ปิสุณวาจา หมายถึง พูดส่อเสียด พูดยุยงให้เขาแตกความสามัคคีกัน

3. ผรุสวาจา หมายถึง การพูดคำหยาบ มีวาจาไม่สุภาพ

4. สัมผัปปลาปะ หมายถึง การพูดเพ้อเจ้อ เลื่อนลอย ไม่มีเหตุมีผล

ความชั่วทางใจ 3 ข้อ

1. อภิชฌา หมายถึง ความละโมบหรือความโลภ มุ่งหมายอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตน

2. พยาบาท หมายถึง การคิดร้าย ปองร้ายต่อผู้อื่น มีความมุ่งมั่นที่จะทำลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่น

3. มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง การเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มีบุญคุณ ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ เป็นต้น

2. การบำเพ็ญความดี

การทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้สังคมอยู่อย่างปกติสุข ไม่มีปัญหาสังคม การทำความดีก็คือ กุศลกรรมบถ 10 แบ่งออกเป็น 3 หมวด ดังนี้

กายกรรม 3 ประการ

1. ไม่ฆ่าหรือทำลายชีวิตผู้อื่น

2. ไม่ลักขโมย หรือยึดเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน

3. ไม่ประพฤติผิดในกาม

วจีกรรม 4 ประการ

1. ไม่พูดเท็จ

2. ไม่พูดส่อเสียด

3. ไม่พูดคำหยาบคาย

4. ไม่พูดเพ้อเจ้อ

มโนกรรม 3 ประการ

1. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น

2. ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น

3. เห็นชอบตามคลองธรรม

3. การชำระจิตใจให้สะอาด บริสุทธิ์

มนุษย์คือ ผู้มีจิตใจสูง การจะมีจิตใจที่สูงนั้นต้องมีการฝึกปฏิบัติ โดยมี 2 ทาง คือ

1. สมถภาวนา คือ การอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ

2. วิปัสสนาภาวนา คือ การอบรมจิตให้รู้แจ้งตามความจริง

ในทางพระพุทธศาสนา การที่จะสงเคราะห์บุคคลนั้น ก็ต้องให้มีการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ทำให้ตนเองมีความสุข ทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข การสงเคราะห์บุคคล 3 ด้าน คือ กายภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา ดังนี้

1. ทำให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้

2. ทำให้สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้

3. เมื่อบุคคลพัฒนาตนเองได้แล้ว ย่อมทำให้ประพฤติ ปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา สามารถที่จะพัฒนาตนเองให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายของทางพระพุทธศาสนาได้

หมายเลขบันทึก: 614081เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2016 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2016 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท