วุฒิภาวะทางอารมณ์ของครู


ในขณะนี้หลักสูตรศึกษาศาสตร์ครุศาสตร์มีการฝึกวุฒิภาวะทางอารมณ์ เพื่อการเป็นครูหรือไม่ หากมีได้ฝึกอย่างจริงจังแค่ไหน มีการวัดระดับความมั่นคงของอารมณ์ไหม นอกจากฝึกก่อนเป็นครู ในหลักสูตรผลิตครูแล้ว กระบวนการพัฒนาครูประจำการได้เอาใจใส่เรื่องนี้ แค่ไหน หากเอาใจใส่ดำเนินการพัฒนาครูประจำการเรื่องวุฒิภาวะทางอารมณ์อย่างไร เป็นคำถามเชิง สร้างสรรค์ ที่คนไทยควรเอามาถกเถียงกัน เพื่อกระตุ้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย

วุฒิภาวะทางอารมณ์ของครู

ข่าวเด็กนักเรียนถูกครูปาแก้วตัดเส้นประสาททำให้หน้าเบี้ยวตาปิดไม่สนิท ตาม ข่าวนี้ เป็นข่าว ความขัดแย้งเรียกค่าเสียหาย และมีข่าวอื่นๆ ถกเถียงกันว่าใครพูดจริงไม่จริง ครูปาเด็กหรือปาหน้าต่าง แล้วแก้วมันแฉลบไปโดนเด็ก และข่าวว่าทางผู้รับผิดการศึกษาในพื้นที่ออกมาทำหน้าที่เพราะเป็นข่าวอื้อฉาว ทั้งหมดนั้นเกิดเป็นข่าวเพราะนักเรียนและผู้ปกครองไปร้องออกสื่อ

สังคมไทยสนใจเรื่องนี้ ว่าใครถูกใครผิด เรื่องลงโทษครู และเรื่องการตกลงเรื่องค่าเสียหาย แต่ผมมองต่าง ผมมองว่าเรื่องนี้น่าจะนำไปสู่การถกเถียงเรื่องคุณภาพการศึกษาของประเทศ อันเนื่องมาจาก คุณภาพครู ซึ่งกรณีนี้คือวุฒิภาวะทางอารมณ์ ของครู คนที่ด้อยวุฒิภาวะทางอารมณ์ควรเป็นครูหรือไม่ คนที่เป็นครูมานานสิบปียี่สิบปี ต่อมาพบว่าคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ ควรให้ออกจากอาชีพครูหรือไม่

ผมเดาว่าคนไทยส่วนใหญ่คงจะตอบว่าไม่เป็นไร ให้เป็นครูต่อไปเถิด เพราะครูก็เป็นปุถุชน เหมือนคนทั่วไป ไม่ควรไปตัดอนาคตของเขาเพียงแค่เป็นคนควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ผมเดาเช่นนี้ เพราะเห็นว่าคนไทยเป็นคนเมตตาเห็นอกเห็นใจคนอื่น

แต่ผมอยากชวนให้มองต่างมุม อยากให้มีเมตตาต่ออนาคตของสังคมไทย โดยที่คนเป็นครูนั้น ต้องมีหน้าที่พัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม อย่างกรณีครูคนที่เป็นข่าว ต้องไม่ใช่แค่สอนวิชาพลศึกษา ต้องเอาใจใส่การอบรมบ่มนิสัย ให้ศิษย์เกิดพัฒนาการรอบด้าน รวมทั้งด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ด้วย

คำถามคือ ครูที่ตนเองด้อยวุฒิภาวะทางอารมณ์อย่างรุนแรง ควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ได้ จะทำหน้าที่ฝึกวุฒิภาวะทางอารมณ์แก่ศิษย์ได้หรือไม่ จะเป็นตัวอย่างที่เลวให้ศิษย์เอาอย่างหรือไม่

คำถามเรื่องไล่ครูเจ้าอารมณ์ออกจากการเป็นครู หรือย้ายให้ไปทำหน้าที่อื่น ไม่ต้องสอนเด็ก ยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด ในสายตาของผม

ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ในขณะนี้หลักสูตรศึกษาศาสตร์ครุศาสตร์มีการฝึกวุฒิภาวะทางอารมณ์ เพื่อการเป็นครูหรือไม่ หากมีได้ฝึกอย่างจริงจังแค่ไหน มีการวัดระดับความมั่นคงของอารมณ์ไหม

นอกจากฝึกก่อนเป็นครู ในหลักสูตรผลิตครูแล้ว กระบวนการพัฒนาครูประจำการได้เอาใจใส่เรื่องนี้ แค่ไหน หากเอาใจใส่ดำเนินการพัฒนาครูประจำการเรื่องวุฒิภาวะทางอารมณ์อย่างไร เป็นคำถามเชิง สร้างสรรค์ ที่คนไทยควรเอามาถกเถียงกัน เพื่อกระตุ้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.ย. ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 614074เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2016 06:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2016 06:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Train to control anger can be valuable for both teachers and students. When teachers can recognize anger within themselves, they may also recognize anger among students (who-ever or what-ever anger is directed) and take appropriate step to dissolve anger before it takes over.

This, I believe, is another learning for 21C that we (everyone) should do.

เรียน อาจารย์

ในยุคสังคมเสื่อม... การเริ่มต้นยุคใหม่... ก็อยู่ที่ใครจะมองเห็นสิ่งนั้นก่อน เริ่มมีนายตำรวจกล่าวถึงต้นตอของปัญหา ที่เขาต้องไล่จับโจร ยาเสพติด เป็นต้น ครอบครัว การศึกษา ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึง... เห็นด้วยกับอาจารย์ ในการวัดคุณภาพทางอารมรมณ์ของผู้เป็นครูบาอาจารย์ รวมถึง คุณธรรมจริยธรรม และหลักการนี้ ควรใช้กับผู้บริหารประเทศ ทั้งนักการเมือง และข้าราชการ ในยุคนี้ เราต้องการประสิทธิภาพประสิทธิผล เพื่อบรรลุเป้าหมายการแก้ไขปัญหามากมาย ไม่ใช่ปริมาณที่ไร้คุณภาพ เช่นในอดีต ที่ปัญหามีน้อย มีแต่ความสุขสบาย

ขอแสดงความนับถือ

คุณลิขิต

ด้วยความเคารพ ต่อคำถามอย่างที่สุด

ควรจะมีแบบวัด และการสอนให้นศ.ควบคุมอารมณ์ตนเองอย่างยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท